ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2566-2567, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2566, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2563-64, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2564, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2563-64, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2564, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
เมนูหลัก
ประวัติบริษัท
ทะเบียน-ใบอนุญาต
แผนที่-ติดต่อสอบถาม
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย2566-67 , ทัวร์อินเดีย2566-2567, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2566, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
ส่วนงานที่เกี่ยวข้อง
BTC บริษัทในเครือ
ศูนย์อินเดีย-ไทย ITT
สมาคมการศึกษาฯ และท่องเที่ยวไทย-อินเดีย
กองทุนบุญกุศลนิธิธรรมหรรษา (ชมรม)
ธรรมหรรษาทีวี TV
ธรรมหรรษาวิทยุ
สารคดีสู่แดนพุทธภูมิ
รายการ TV ช่อง 8
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2563-64, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2564, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
ทัวร์แสวงบุญ
ทัวร์สังเวชนียสถาน
ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล
ทัวร์อินเดีย-เปนาล
โครงการบวชใต้ต้นโพธิ์
ทัวร์แคชเมียร์-หิมาลัย
ทัวร์อินเดียเที่ยวทั่วไป
เนปาล เที่ยวหิมาลัย
พม่า
ศรีลังกา
อินโดนีเซีย
ภูฏาน
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2566-2567, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2566, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
กิจกรรมพิเศษ
สร้างวัดไทยโพธิวิหารอินเดีย
โครงการปฏิบัติธรรมต้นโพธิ์
พิธีสาธยายพระไตรปิฎก
สวดมนต์ข้ามปีที่อินเดีย
คนดังไปอินเดีย
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2563-64, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2564, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
ข้อมูลแดนพุทธภูมิ สังเวชนียสถาน พุทธสถาน
ห้องสมุดพุทธภูมิศึกษา
แผนที่แดนพุทธภูมิ
พุทธคยา
ราชคฤห์-นาลันทา
ปัตนะ
ไวสาลี
เกสริยา
กุสินารา
ลุมพินี
กบิลพัสดุ์
เทวทหะ
สาวัตถี
อโยธยา
สะสาราม
พาราณสี
สารนาถ
โกสัมพี
แคว้นกุรุ (เดลี)
สาญจีสถูป
อชันตา-เอลโลร่า
สังกัสสนคร
แคว้นอวันตี
ทัชมาฮาล-อัคราฟอร์ต
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2563-64, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2564, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
ทัวร์เอเชีย
พม่า
เชียงตุง-เมืองลา
อินโดนีเซีย
เนปาล
ลาว
กัมพูชา
เวียดนาม
มาเลเซีย
สิงคโปร์
จีน
ญีปุ่น
เกาหลี
ภูฏาน
บรูไน
มัลดีฟ
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2563-64, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2564, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
ทัวร์เที่ยวทั่วโลก
ออสเตรเลีย
นิวซีแลนด์
อเมริกา
แคนนาดา
ออสเตรเลีย
อังกฤษ
สวิตเซอร์แลนด์
เยอรมัน
ฝรั่งเศส
อิตาลี
ยุโรปอื่นๆ
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2563-2564, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2564, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatou
ทัวร์ไทยในประเทศ
ทัวร์ปิดทองฝังลูกนิมิต 9 วัด
ทัวร์เขาคิชฌกูฎ-เขาสุกิม
ทัวร์ล่องเรือ
ทัวร์ถวายเทียนพรรษา 9 วัด
ทัวร์ทำบุญไหว้พระ 9 วัด
ทัวร์กินเจ
ทัวร์บั้งไฟพญานาค
ทัวร์เที่ยวเหนือ
ทัวร์เที่ยวอีสาน
ทัวร์เที่ยวใต้
ทัวร์เที่ยวภาคกลาง
ธรรมหรรษาทัวร์
free counters
< 2024 - 03 >
อาพฤ
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
สาวัตถี (savatthi,Sravasti, Shravasti)



       สาวัตถี (Savatthi,Sravasti, Shravasti)
สาวัตถี แคว้นโกศล
ภิกษุชาวแคว้นโกศล
พระวักกลิ พระยโสชะ พระกุณฑธานะ พระปิลินทวัจฉะ พระมหาโกฏฐิตาพระโสภิตะ พระอุปวาณะ พระองคุลิมาล พระสาคตะ พระเสละ พระวังคีสะ พระลกุณฑกภัททิยะ พระกุมารกัสสปะ พระนันทกะ พระสุภูติ และพระกังขาเรวตะ
กลุ่มพระมานพ ๑๖
มี ๑๖ รูป พระอชิตะ พระติสสเมตเตยยะ พระปุณณกะ พระเมตตคู พระโธตกะ พระอุปสีวะ พระนันทะ พระเหมกะ พระโตเทยยะ พระกัปปะ พระเชตุกัณณี พระภัทราวุธ พระอุทยะ พระโปสาละ พระโมฆราช พระปิงคิยะ

เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าจำ พรรษา นานที่สุด คือ ๒๕ พรรษา จำ พรรษาวัดพระเชตวัน ๑๙ พรรษา และวัด บุพพาราม ๙ พรรษา
ในครั้งพุทธกาลกษัตริย์ที่ปกครองคือพระเจ้าปเสนทิโกศล ต่อ มาถูกพระราชโอรสคือวิฑูฑภะ ปฏิวัติยึดอำ นาจปราบดาภิเษกตนเอง ขึ้นเป็นกษัตริย์ มีประชากรประมาณ ๗ โกฏิ เป็นเมืองที่พระพุทธองค์ เสด็จตอนปลายพรรษาที่ ๒ กล่าวถึงพระสูตร มากที่สุด
คำว่า โกศล พระพุทธโฆษาจารย์ ได้กล่าวไว้ว่า ก็คือ กุศล ที่แปลว่า สุขสมบูรณ์ หรือสบายดี มีเรื่องอยู่ว่า เจ้ามหาปนาทไม่ยิ้ม พระราชบิดา ป่าวประกาศ ใครทำ ให้ยิ้มได้ จะมีรางวัลให้ เขาจึงสรรเสริญต่อผู้ที่ทำ ให้ ยิ้มด้วยการทักทายว่าสบายดีหรือ ท่านตอบว่า กุศล กลายเป็นเมือง โกศล ส่วนสาวัตถี อาจจะมาจากชื่อของฤาษี สาวัตถะ หรือ มาจากคำ ว่าสัพพะ กับ อัตถะ แปลว่า บรรดาสิ่งของทั้งปวงที่พึงปรารถนามีอยู่ พร้อมแล้วที่นี่
คัมภีร์วิษณุ ปุราณะ ของพราหมณ์กล่าวว่า สาวัตถี (ศราวาตี) สร้างโดยพระเจ้าศราวาตะ พระโอรสของพระเจ้ายุวนาสวะ แห่งตระกูล สุริยวงศ์ ปกครองราว ๑๐๐๐ ปีก่อนพุทธกาล ในสมัยรามายณะ ได้ กล่าวถึงนครสาวัตถี ว่าเป็นเมืองหลวงแคว้นโกศลเช่นกัน และสาวัตถี ปกครองโดยลาวะ โอรสของพระราม
พ.ศ. ๒๑๘ พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเสด็จมากราบพระเชต วันหลายครั้ง ในราว พ.ศ. ๒๓๖ โปรดให้สร้างสถูป วิหาร กุฏิที่จำ พรรษา และปักเสาหินไว้ ๒ ต้น
พ.ศ. ๕๒๒ พระเจ้าวิกรมาทิตย์ ปกครองนครสาวัตถี พระองค์ นับถือศาสนาพราหมณ์จึงได้ทำ ลายพุทธศาสนาลง โดยสังหารพระสงฆ์ และทำ ลายวัด ไม่นานพระวสุพันธะ ได้โต้วาทะกับพราหมณ์จนสามารถ กลับใจพราหมณ์ให้มานับถือพุทธศาสนาสำ เร็จ
พ.ศ. ๖๒๒ พระเจ้ากนิษกะ ขึ้นครองราชย์สมบัติที่ปุรุษปุระ หรือ เปชวาร์ ในปากีสถานอาณาจักรคลอบคลุมถึงสาวัตถี ทรงนับถือพุทธ ศาสนา โปรดให้บูรณะอารามหลายแห่ง โดยเฉพาะพระเชตวันมหาวิหาร สถูป วิหาร ที่พักจำ พรรษา
พ.ศ. ๘๑๘ (ค.ศ. ๒๗๕) พระเจ้าขีราทกะ ปกครองนครสาวัตถี พระองค์นับถือศาสนาพราหมณ์เช่นกัน แต่ไม่ได้ทำ ลายพุทธศาสนา
พ.ศ. ๙๐๐ พระพุทธเทพ ได้เป็นสังฆปาโมกข์แห่งอารามเชตะวัน
พ.ศ. ๘๒๓ จนถึง พ.ศ. ๑๐๙๓ (๒๘๐-๕๕๐) ราชวงศ์คุปตะ แม้ว่ากษัตริย์ราชวงศ์นี้ส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาฮินดู แต่ก็ยังสนับสนุน พระพุทธศาสนา เช่น พระเจ้าตถาคตราชา พระเจ้าพุทธคุปต์ เป็นต้น
พ.ศ.๙๔๓ (ค.ศ. ๔๐๐) พระฟาเหียน เป็นพระสงฆ์จีนรูปแรกที่ เดินทางมาจนถึงอินเดีย ท่านเดินทางมาถึงอินเดีย ได้เห็นสภาพที่รกร้าง ของเมืองสาวัตถี ท่านกล่าวว่า “ในแคว้นนี้มีผู้อาศัยเพียง ๒๐๐ ครอบครัว เศษ” ท่านยังเล่าอีกว่า “มีความพยายามของพราหมณ์ที่อิจฉาหวังจะ ทำ ลายพระเชตวันหลายครั้ง โดยรอบพระเชตวันยังพบอารามมากถึง ๙๘ แห่ง”
พ.ศ.๑๑๗๕ (ค.ศ.๖๓๒) พระถัมซัมจั๋งเดินทางมาที่สาวัตถี ได้ กล่าวว่า อาณาจักรนี้ปริมณฑล ๖,๐๐๐ ลี้โดยประมาณ ตัวเมืองรกร้าง มีคน อาศัยอยู่ในเมืองเล็กน้อย ยังพบซากกำแพงเมืองปรากฏอยู่ มีสังฆาราม ๑๐๐ แห่ง แต่อยู่ในสภาพรกร้าง มีพระสงฆ์จำ พรรษาเล็กน้อย สังกัดนิ กายสัมมติยะ อันเป็นสาขาย่อยแห่งนิกายเถรวาท
พ.ศ. ๑๓๙๐ สมัยราชวงศ์ปาละ พระเจ้ามหิปาละ กษัตริย์องค์ ที่ ๗ ได้โปรดให้มีการบูรณะพระเชตวัน
พ.ศ. ๑๕๖๓ สุลต่าน มาหมุด แห่งนครฆาชนี อาฟกานิสถาน ได้ยกกำ ลังโจมตีอินเดียทั้งประเทศ
พ.ศ. ๑๖๕๗ (๑๑๑๔) พระเจ้าโควินทจันทร์ พระมหาเหสีคือ พระนางกุมารเทวี (Kumardevi) เป็นพุทธมามกะ ได้สละพระราชทรัพย์ซ่อม แซมพระเชตวันที่ทรุดโทรมหลังการบุกทำ ลายของมาหมุดแห่งฆาชนี
พ.ศ. ๒๔๐๕ (ค.ศ. ๑๘๖๒) เชอร์อเล็กชานเดอร์ คันนิ่งแอม เดินทางมาสำ รวจสาวัตถีได้พบซากพุทธสถานที่สาเหตุ มะเหตุ ต่อมา ได้เริ่มขุดค้นได้พบพุทธรูปทำ จากหินทรายแดง
พ.ศ. ๒๔๒๗ (๑๘๘๔-๕) นายวิลเลี่ยม โฮย ได้เข้าสำ รวจขุด ค้นต่อไปพบโบราณวัตถุจำ นวนมาก ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ กัลกัตตา สมัยอังกฤษปกครองนครสาวัตถีขึ้นกับแคว้นอุธ (Oudh) ปัจจุบัน ในเขตอุตตรประเทศ (Uttar pradesh )

สถานที่ที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงละ ๔ แห่ง
แม้ว่าเมืองสาวัตถีจะไม่ใช่สังเวชนียสถาน แต่เป็นพุทธสถาน ที่สำ คัญที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่ละมี ๔ แห่ง
๑. โพธิบัลลังก์ แสดงที่ตรัสรู้ พุทธยา
๒. สถานที่แสดงปฐมเทศนา ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน
๓. สถานที่เหยียบพระบาทครั้งแรก ประตูสังกัสสะนคร ครั้น ลงจากเทวโลก
๔. ที่วางเท้าเตียง ๔ เท้า พระคันธกุฎี ในพระเชตวันมหาวิหาร วัดพระเชตวันมหาวิหาร

วัดพระเชตวัน เป็นวัดที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย ชื่อวัด เป็นของเจ้าเชต ปัจจุบันมีเนื้อที่ ๘๐ ไร่ ๓๒ เอเคอร์ พ.ศ. ๑๓๙๐ สมัยพระเจ้ามหิปาละ ได้ทำ การบูรณะปฏิสังขรณ์ พ.ศ. ๑๕๖๐ มะหะหมัด ดัชนี นำ กองทัพอิสลาม มาทำ ลาย บริเวณวัดพระเชตวัน

๑. พระคันธกุฎี เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า มีกษัตริย์และ เทวดามาเข้าเฝ้า และได้สร้างที่ประทับใน ๓ ฤดู คือ ๑. ฤดูหนาว ๒. ฤดูร้อน และ ๓. ฤดูฝน

๒. อานันทโพธิ เป็นต้นโพธิ์ที่พระอานนท์ดำ ริที่จะปลูกขึ้น เพื่อเพื่อตรึกระลึกถึงพระพุทธเจ้า อรรถกถากาลิงคชาดก กล่าวไว้ว่า ชาวกรุงสาวัตถี ต่างถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นไปยัง พระเชตวัน วางไว้ที่ประตูพระคันธกุฎี ท่านอนาถปิณฑิกมหาเศรษฐีทราบเหตุนั้นแล้ว จึงไปยังสำ นัก พระอานนท์เถระ เมื่อพระตถาคตเสด็จหลีกจาริกไป มนุษย์ทั้งหลาย ไม่มีสถานที่บูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น ขอท่านจงกราบทูล ความเรื่องนี้แด่พระตถาคต ควรหาที่บูชาสักแห่งหนึ่ง
พระอานนท์เถระทูลถามพระตถาคตว่า เจดีย์มีกี่อย่าง พระศาสดาตรัสตอบว่า พระศาสดาตรัสว่าธาตุเจดีย์ ๑ ปริโภคเจดีย์ ๑ อุทเทสิกเจดีย์ ๑ สำ หรับธาตุเจดีย์ไม่อาจทำ ได้ ต้นมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้า อาศัยเป็นที่ตรัสรู้ เป็นเจดีย์ได้เหมือนกัน. พระอานนท์ขอพระมหาโมคคัลลานเถระ ให้ช่วยนำ เอาลูกโพธิ สุกจากต้นมหาโพธิ พระมหาโมคคัลลานเถระรับคำแล้ว เหาะไปยังโพธิ มณฑลเอาจีวรรับลูกโพธิที่หล่นจากขั้วแต่ยังไม่ถึงพื้นดิน ได้แล้วนำ มา ถวายพระอานนทเถระ
พระอานนท์เถระนำ ลูกโพธิสุกมอบแด่พระเจ้าโกศล พระเจ้า โกศลทรงพระดำ ริว่า ความเป็นพระราชามิได้ดำ รงอยู่ตลอดไป ควรที่จะ ให้อนาถปิณฑิกมหาเศรษฐีปลูกต้นโพธินี้ แล้วได้วางลูกโพธิสุกนั้นไว้ใน มือของมหาเศรษฐี พระอานนท์เถระเข้าไปเฝ้าพระตถาคต กราบทูลขอพระองค์จง ประทับนั่ง ณ โคนต้นโพธิ์ เพื่อเข้าสมาบัติ

๓. วิหารธรรมสภา ในบ้านเราก็คงจะเป็นศาลาการเปรียญ เป็นสถานที่โปรดพุทธบริษัททั้งหลายที่มาชุมนุม และเป็นจุดกำ เนิดคำ สอนในพระสูตร คาถาธรรมบทจำ นวนมาก แม้แต่นางปฏาจารา ผู้เสีย สติก็มาได้สติ ณ วิหารธรรมสภาแห่งนี้

๔. วิหารสังฆสภา เป็นที่ประชุมสงฆ์ สัมมนา ทบทวนหลัก ธรรม พิจารณาการร้องเรียนจากพุทธบริษัท

๕. พระสถูปอรหันต์แปดทิศ จะมีพระเจดีย์หลายองค์ ตั้ง ตระหง่านเรียงรายงดงาม พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาคัดเลือกพระ มหาเถระที่มีคุณวิเศษ ๙ องค์มาประชุม พระองค์นั่งตรงกลาง เพื่องาน ประกาศพระศาสนา
พระอัญญาโกณฑัญญะ (รัตตัญญู) ทิศบูรพา
พระมหากัสสปะ (ธุดงควัตร) ทิศอาคเนย์
พระสารีบุตร (ปัญญา) ทิศทักษิณ
พระอุบาลี (พระวินัย) ทิศหรดี
พระอานนท์ (พุทธอุปัฏฐาก) ทิศปัจฉิม
พระควัมปติ (มีพลัง) ทิศพายัพ
พระมหาโมคคัลลานะ (ฤทธิ์) ทิศอุดร
พระราหุล (การศึกษา) ทิศอีสาน

๖. โภชนศาลา คือ หอฉัน เป็นสถานที่ฉันภัตตาหาร น้ำ ปานะ ตลอดจนต้อนรับพระอาคันตุกะจากทิศทั้ง ๔
๗. คิลานเภสัชศาลา เป็นสถานพยาบาทภิกษุไข้
โย ภิกฺขเว มํ อุปฎฺฐเหยฺย โส คิลานํ อุปฎฺฐเหยฺย
ผู้ใดปรารถนาอุปัฎฐากเราตถาคต ผู้นั้นพึงอุปัฎฐากภิกษุไข้เถิด เรื่องพระอาพาธโรคท้องร่วง พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๒
ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคท้องร่วง นอนจมกองมูตรกองคูถของ ตนอยู่ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคมีท่านพระอานนท์เป็นผู้ติดตามได้เสด็จ เข้าไปทางที่อยู่ของภิกษุรูปนั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุรูปนั้น นอน อาพาธเป็นโรคท้องร่วง เพราะเหตุที่ท่านรูปนี้ มิได้ทำ อุปการะแก่ภิกษุทั้งหลาย ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาลท่านรูปนี้ พระผู้มีพระภาครับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ เธอไป ตักน้ำ มา เราจักสรงน้ำ ภิกษุรูปนี้ ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระพุทธ บัญชาว่า เป็นดังนั้น พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้แล้ว ตักน้ำ มาถวาย พระผู้มี พระภาคทรงรดน้ำ ท่านพระอานนท์ขัดสี พระผู้มีพระภาคทรงยกศีรษะ ท่านพระอานนท์ยกเท้าแล้ววางบนเตียง
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีมารดาไม่มีบิดา ผู้ใดเล่าจะพึงพยาบาลพวก เธอถ้าพวกเธอจักไม่พยาบาลกันเอง ใครเล่าจักพยาบาล ดูกรภิกษุทั้ง หลาย ผู้ใดจะพึงอุปัฏฐากเรา ผู้นั้นพึงพยาบาลภิกษุอาพาธ ถ้ามีอุปัชฌายะ อุปัชฌายะพึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือ จนกว่าจะหาย ถ้ามีอาจารย์ อาจารย์พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ถ้ามีสัทธิวิหาริก สัทธิวิหาริกพึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือ จนกว่าจะหาย ถ้ามีอันเตวาสิก อันเตวาสิกพึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือ จนกว่าจะหาย ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะพึงพยาบาลจน ตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ ภิกษุผู้ร่วมอาจารย์พึงพยาบาลจนตลอด ชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ถ้าไม่มีอุปัชฌายะ อาจารย์ สัทธิวิหาริก อันเตวาสิก ภิกษุผู้ร่วม อุปัชฌายะ หรือภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ สงฆ์ต้องพยาบาล ถ้าไม่พยาบาล ต้องอาบัติทุกกฏ
พระพากุลเถระ ท่านยังเป็นผู้ที่ไม่มีโรคเบียดเบียน ไม่เคยให้ หมอรักษาพยาบาล ไม่เคยฉันแม้แต่ผลสมออันเป็นยาสมุนไพรแม้แต่ เพียงผลเดียว เพราะว่าท่าน ไม่มีโรคใด ๆ เลยนั่นเอง ทั้งนี้เป็นเพราะ ด้วยอานิสงส์แห่งการสร้างเว็จกุฎี (ส้วม) และการถวายยาเป็นทานแก่ พระสงฆ์ เป็นเหตุให้ท่านมีอายุยืนยาว ยกย่องท่านในตำ แหน่งเอตทัคคะในทางผู้ไม่มีโรคาพาธ
๘. กุฏิพระสงฆ์ (กุฏิพระสีวลี, หมู่ภิกษุโกสัมพี ฯลฯ) เป็นสถาน ที่ก่อด้วยอัฏฐิได้การบูรณะอยู่เนื่องๆ

คฤหาสน์อนาถบิณฑิกเศรษฐี
บ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ปัจจุบันเหลือเพียงแต่ซากอิฐที่ก่อไว้ และภายในบ้านยังมีคลังเก็บมหาสมบัติอีกด้วย เป็นเศรษฐีผู้ใจบุญค้ำจุน พระศาสนามาโดยตลอด
บ้านปุโรหิตผู้เป็นบิดาของพระองคุลีมาล
บ้านองคุลีมาล คือจอมโจรผู้กลับใจ มาเป็นบวชจนสำ เร็จเป็น พระอรหันต์ ปัจจุบันสภาพบ้านก่อด้วยอิฐ ด้านล่างสุดมีอุโมงค์ทะลุอีก ฝั่งได้ด้วย

เนินดินยมกสถูป
เนินดินยมกสถูป คงเป็นเนินดินที่พระเจ้าอโศกมหาราชมาสร้าง ไว้ กาลเวลาผ่านไป มีหญ้าขึ้นปรากฏเป็นเนินดินขนาดใหญ่ ในอดีต ณ สถานที่แห่งเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปาฏิหาริย์ เพื่อปราบ เดียรถีย์ (นอกศาสนา) ยมกปาฏิหาริย์ คือการแสดงปาฏิหาริย์เป็นคู่ๆ มีไฟ มีน้ำ เป็นต้น หลังจากนั้นเสด็จขึ้นบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดา เป็นเวลา ๓ เดือน
วัดบุพพาราม
วัดบุพพาราม เป็นวัดที่นางวิสาขาสร้างถวาย

วัดราชิการาม
วัดราชิการาม เป็นวัดที่พระเจ้าปเสนทิโกศลสร้างถวายเพื่อเป็น ที่อยู่ของพระภิกษุณี

วัดพุทธนานาชาติ
วัดไทย และวัดนานาชาติอีกหลายวัด


ประวัติพระสีวลี (ผู้มีลาภมาก)
พระสีวลีเกิดในตระกูลวรรณะกษัตริย์ เป็นโอรสของพระนางสุป ปวาสา เมืองกุณฑโกลิยนคร (เป็นเมืองหนึ่งของกษัตริย์โกลิยวงศ์) เป็น พระญาติฝ่ายพุทธมารดา พอประสูติจากครรภ์แล้ว สามารถทำ งานได้ เลย ในวันนั้นได้นิมนต์พระพุทธเจ้าและพระสาวกมาฉันพระกระยาหาร ในวัง พอวันที่ ๗ พระสารีบุตรชวนบวช และได้รับอนุญาตจาก พระมารดา พอบวชได้แล้วมีลาภสักการะเกิดขึ้นเป็นจำ นวนมาก พระ สารีบุตรสอนให้ท่านกำ หนดส่วนของร่างกายที่เห็นได้งายก่อน ๕ ส่วน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง หลังจากปลงผมจุกที่ 4 ท่านก็ได้บรรลุเป็น พระอรหัตผล อาศัยเหตุที่จิตปรารถนามาดีในอดีตชาติ ถ้าจะนับกัน แล้วท่านใช้ชีวิตฆราวาสเพียงเจ็ดวันเท่านั้น
อดีตชาติพระสีวลี
ในสมัยพระพุทธเจ้าปทุตตระ ได้เกิดเป็นกุลบุตรชาวเมืองหงสวดี ได้ฟังธรรม เห็นพระพุทธเจ้าตั้งพระสาวกไว้ในตำแหน่งผู้มีลาภมาก เกิด ศรัทธาอยากเป็นเช่นนั้นบ้าง แสดงศรัทธาให้ปรากฏได้ถวายมหาทาน ติดต่อกัน ๗ วัน ได้กราบทูลถึงความปรารถนาของตน ได้รับพยากรณ์ ว่า ในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้าจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธ โคดม จักได้บรรลุอรหัตผล พระพุทธเจ้าโคดมจักตั้งท่านไว้ในตำ แหน่ง ด้านมีลาภมาก แล้วเกิดความปีติโสมนัสได้ทำ บุญอื่นสนับสนุนต่อเนื่อง ตลอดชีวิต
จนถึงพระพุทธเจ้าวิปัสสี เกิดเป็นคนบ้านนอก ใกล้เมืองพันธุ มดี ได้ถวายรวงผึ้งชนิดไม่มีตัวและเนยแข็งแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวก ทำ ให้งานบุญครั้งนี้สมบูรณ์ และสิ่งนี้เป็นที่ต้องการ เดิมทีชาวเมืองถาม ชื้อแต่ท่านไม่ขาย หลังจากพระพุทธเจ้าฉันเสร็จแล้ว จึงเข้าไปกราบทูล ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า วันนี้ได้นำ เครื่องสักการะมาถวาย ด้วย ผลบุญนี้ของข้าพระองค์จงเลิศด้วยลาภและยศในอนาคตกาลด้วยเถิด” พระองค์ทรงพยากรณ์อย่างที่พระพุทธเจ้าปทุมุตตระ
ต่อมาได้เกิดเป็นพระราชา เมืองพาราณสี มีความประสงค์ อยากได้เมืองใกล้เคียงเป็นเมืองขึ้น ได้ยกทัพไปล้อมได้ส่งสาส์นไปยัง ผู้ครองเมืองนั้น ระหว่างสงครามกับความสงบ เจ้าเมืองนั้นไม่สนใจให้ ชาวเมืองใช้ชีวิตตามปกติ และออกทางประตูเล็ก เพราะว่าข้าศึกไม่รู้ ปิดล้อมเมืองนานถึง ๗ ปี ๗ เดือน ประชาชนดำ เนินชีวิตตามปกติ เหมือนเช่นเคย ภายในเวลาอีก ๗ วัน ก็สามารถยึดเมืองได้ โดยวิธี การช่วยเหลือจากพระมารดา แนะให้พระโอรสปิดล้อมประตูเล็กด้วย ปรากฏว่า ได้สร้างความเดือดร้อนแก่ชาวเมือง ขาดแคลนอาหาร ชาว เมืองรวมตัวกันทูลขอร้องให้ยอมจำ นน พระองค์ปฏิเสธ เพราะว่าไม่ได้ เป็นต้นเหตุความเดือดร้อน ศัตรูต่างหากที่ทำ ผิดขัตติยมานะ ในที่สุด ชาวทนไม่ไหวรวมคนกันปฏิวัติ จับเจ้าเมืองประหารชีวิต ยอมแพ้ต่อ พระเจ้าพาราณสี
บาปกรรมครั้งนั้นทำ ให้ท่านตกอเวจีมหานรกนานมาก จนถึง พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เศษบาปกรรมที่ยังเหลืออยู่ส่งผลให้ อยู่ใน ท้องแม่นานถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ได้รับทุกขเวทนาอย่างมาก ประวัติองคุลิมาล พระองคุลิมาล เป็นบุตรพราหมณ์ เป็นปุโรหิตของพระเจ้า โกศล เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล
- เกิดฤกษ์โจร
ในวันที่ท่านเกิด อาวุธนานานชนิดทั่วพระนครลุกโพลง ท่านปุโรหิตทำ นายว่า ทารกที่เกิดวันนี้ จักเป็นโจร เที่ยวฆ่า ผู้คน แนะนำ พระราชาให้ฆ่าเสียแต่ตอนนี้ เหตุที่เกิดมาเบียดเบียน พระหฤทัยพระราชา ฉะนั้น จึงตั้งชื่อหิงสกะ ภายหลังจึงเรียก อหิง สกะ
- ศึกษาศิลปะ เมืองตักกศิลา
ศึกษาในสำ นักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เมืองตักกศิลา คือเป็น ศิษย์ที่ทำ งานให้อาจารย์ ปฏิบัติต่อพราหมณ์และภรรยาอาจารย์โดย ความเคารพ ศิษย์อิจฉาริษยาจึงยุยงให้แตกกับอาจารย์
- ฆ่าคน เพื่อคารวะครู
อาจารย์ออกอุบายให้ว่า ให้บูชาครูอาจารย์ ด้วยการนำ เอา นิ้วมือมนุษย์ ๑,๐๐๐ นิ้ว อหิงสกะได้ฆ่าผู้คนจำ นวนมาก ตอนแรก ตัดนิ้วมือห้อยไว้ที่ยอดไม้ ถูกแร้งกากินบ้าง ตอนหลังนำ สะพายไหล่ ทำ เป็นพวง จึงสมัญญาว่า องคุลิมาล
- พระพุทธองค์เสด็จโปรด
พระราชามีรับสั่งให้จับโจรองคุลิมาล นางพราหมณีผู้เป็นแม่จึงรีบ ไปหาลูก ด้วยความรักในบุตร ถ้าพระพุทธองค์ไม่ได้เสด็จโปรด องคุลิมาล จักฆ่ามารดาเป็นแน่ พอเห็นมารดาจึงเอาดาบวิ่งไล่ฆ่า พระองค์ทรง แสดงพระองค์ในระหว่างนั้น พอเห็นพระพุทธเจ้า จึงคิดที่จะปลงชีวิต สมณะ ถือดาบติดตามพระพุทธเจ้าไปข้างหลัง พระองค์ทรงแสดง อิทธาภิสังขาร องคุลิมาลวิ่งจนสุดแรงไม่อาจตามทันพระองค์ โดย พระองค์ยังทรงเดินตามปกติ จึงกล่าวกับพระพุทธเจ้าว่า
องคุลิมาล : “หยุดเถิด หยุดเถิดสมณะ”
พระพุทธองค์ : “เราหยุดแล้ว องคุลิมาล เธอนั่นแหละยังไม่ หยุด” เขาคิดว่าปกติพระสมณศากยบุตร พูดแต่คำ สัตย์จริง “ดูก่อนองคุลิมาล เราวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงเสียแล้ว ส่วน ท่านสิยังไม่สำ รวมในสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น เราจึงชื่อว่าหยุดแล้ว ส่วน ท่านชื่อว่ายังไม่หยุด”
องคุลิมาลเกิดความปีติโสมนัส ทูลขอบวช ภายหลังบวชติดตาม พระพุทธเจ้า จนเสด็จถึงพระนครสาวัตถี
- พระเจ้าปเสนทิโกศลเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พบพระ องคุลิมาล
มหาชนได้มาทูลเรื่องโจรองคุลิมาลแก่พระเจ้าปเสนทิโกศล พระองค์ได้นำ ทหารจำ นวนหนึ่งเพื่อจับโจร ก่อนที่จะไป ได้เข้าเฝ้า พระบรมศาสดา พระพุทธองค์ถามว่า มหาบพิตรขัดเคืองเรื่องอันใด พระเจ้าปเสนทิโกศลประสงค์ที่จะจับโจรองคุลิมาล ที่ไล่เข่นฆ่า ผู้คน
พระพุทธเจ้า ดูก่อน มหาราช ถ้ามหาบพิตรทอดพระเนตร องคุลิมาล ปลงผม บวชเป็นภิกษุ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ประพฤติธรรม พระองค์จะกระทำ อย่างไร พระเจ้าปเสนทิโกศล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันพึง ไหว้ พึงลุกรับ ปูอาสนะต้อนรับด้วยเคารพ อุปถัมภ์บำ รุงปัจจัย มีจีวร อาหาร เป็นต้น แต่องคุลิมาลเป็นโจร ทำ บาป คงจะกลับใจยาก สมัยนั้นองคุลิมาลนั่งอยู่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธ องค์ยกมือขวาขึ้นชี้ บอกพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ดูก่อนมหาบพิตร นั่น องคุลิมาล พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงมีความกลัว ทรงหวาดหวั่นขนลุก ชูชัน พระพุทธองค์ตรัสว่า อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร เมื่อทรง ระงับความกลัวได้แล้ว จึงเสด็จเข้าไปหาท่านองคุลิมาล
ปเสนทิโกศล : บิดาของพระผู้เป็นเจ้ามีโคตรอย่างไร มารดา ของพระผู้เป็นเจ้ามีโคตรอย่างไร
องคุลิมาล : ดูก่อนมหาบพิตร บิดาชื่อ คัคคะ มารดาชื่อ มันตานี
ปเสนทิโกศล : ท่านผู้เจริญ ขอพระผู้เป็นเจ้าคัคคะมันตานี บุตร จงอภิรมย์เถิด ข้าพเจ้าจักทำ ความขวนขวาย เพื่อจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร แก่พระผู้เป็นเจ้าคัคคะมันตา นีบุตร
ท่านองคุลิมาล : ได้ถวายพระพรว่า ไตรจีวรอาตมภาพบริบูรณ์ แล้ว
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ถวาย บังคมกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา ที่พระพุทธเจ้าทรงทรมานบุคคลที่ใครๆ ทรมานไม่ได้ ทรงยังบุคคลที่ ใครๆ ให้สงบไม่ได้ ทรงยังบุคคลที่ใครๆ ให้ดับไม่ได้ ให้ดับได้ เพราะ ว่าหม่อมฉันไม่สามารถจะทรมานผู้ใดได้ แม้ด้วยอาชญา แม้ด้วย ศาสตรา ผู้นั้นพระพุทธองค์ทรงทรมานได้โดยไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้อง ใช้ศาสตรา
- บรรลุพระอรหันต์
พระองคุลิมาล หลีกออกจากหมู่ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความ เพียร ไม่นานก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ครั้นนั้น เวลาเช้า ได้บิณฑบาตในเมืองสาวัตถี ผู้คนนำ ก้อน หิน ท่อนไม้ ขว้างถูกตัวท่าน ศีรษะเลือดออก บาตรแตก ผ้าสังฆาฏิ ฉีกขาด เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสว่า เธอจงอดกลั้นเถิด พราหมณ์ เธอจงอดกลั้นเถิดพราหมณ์ เธอจงเสวยวิบากของกรรม ที่ จะทำ ให้ไหม้ในนรกหลายพันปีนั้น เฉพาะในปัจจุบันเถิดพราหมณ์
- องคุลิมาลคาถา
รุ่งเช้า ท่านเที่ยวบิณฑบาตได้พบหญิงคนหนึ่งมีครรภ์แก่ กลับ ไปหาพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสว่า เธอจงไปหาสตรีนั้น แล้วกล่าว อย่างนี้ “ดูก่อนน้องหญิง ตั้งแต่เวลาที่ฉันเกิดแล้วในอริยชาติ จะแกล้ง ปลงสัตว์จากชีวิตทั้งรู้หามิได้ ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของท่าน” อดีตชาติองคุลิมาล
- มีกำ ลังเท่ากับช้าง ๗ เชือก
ได้เกิดเป็นชาวนา เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าที่กำ ลังหนาว มีจีวร ชุ่ม เพราะฝนตก เกิดความดีใจอย่างมากที่จะได้ทำ ความดี จึงได้ก่อ ไฟถวาย ด้วยผลกรรมนั้นส่งผลให้มีกำ ลังเท่าช้างสาร ๗ เชือก


ประวัติพระอุบาลี (เลิศทางด้านทรงจำ พระวินัย)
พระอุบาลี เกิดในวรรณหีนชาติ (วรรณะชั้นต่ำ ) เป็นช่างกัลบก (ตัดผม) ประจำ พระองค์เจ้าชายศากยะ ออกบวชพร้อมเจ้าศากยะ คือ พระภัททิยะ พระอนุรุทธะ พระอานนท์ พระภคุ พระกิมพิละ แต่อุบาลีบวชก่อนเพื่อเจ้าศากยะได้ไหว้ เพื่อลดการถือตัว หลังจากบวชแล้วได้ทูลลาขอเจริญกรรมฐานตามลำ พัง พระพุทธเจ้าตรัสว่า “อุบาลี ถ้าเธออยู่ตามลำ พังจักเจริญด้านเดียวคือ วิปัสสนาธุระ แต่ถ้าอยู่กับตถาคต เธอจักได้สองอย่างคือ วิปัสสนาธุระ และคันถธุระ ได้ศึกษาพุทธพจน์”
พระศาสดามหาวีระ ลัทธิศาสนาเซน ได้สิ้นชีวิตลง ทำ ให้เกิด ความแตกแยกในหมู่คณะของลูกศิษย์ ทางฝ่ายของพระภิกษุจึงได้มี ปรึกษาพระอุบาลีให้ช่วยหาทางหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานเพื่อให้มิ ปัญหาเรื่องของพระวินัยบัญญัติ จะเห็นได้ว่าพระวินัยมีการลำ ดับจัด เป็นหมวดหมู่ ทำ ให้ง่ายต่อการจดจำ และเข้าใจ ท่านยังได้อบรมสั่ง สอนศิษย์ให้รับภาระสืบทอดพระวินัย การสังคายนาครั้งที่ ๓ ถ้าย้อน ไล่ตามลำ ดับมีการสืบทอดจากอุปัชฌาย์คือเริ่มตั้งแต่พระอุบาลี ถือได้ ว่าท่านมีบทบาทสำ คัญในการรักษาพระพุทธศาสนา ผลงานของท่านคือ
๑. การวินิจฉัยอธิกรณ์ (ตัดสินคดี) พระภารุกัจฉกะ, พระอัชชุกะ, ภิกษุณีตั้งครรภ์
๒. ปฐมสังคายนา ทำ หน้าที่วิสัชนาพระวินัย
ตัดสินคดีภิกษุณีท้อง ลูกสาวเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ หลังแต่งงาน แล้วเข้ามาบวชโดยไม่ทราบว่าตนตั้งครรภ์ วันเวลาผ่านครรภ์ได้โตขึ้น เป็นที่รังเกียจสงสัยของพุทธบริษัททั้งหลาย นางได้นำ เรื่องแจ้งแก่พระ เทวทัต เพื่อให้ตัดสินอธิกรณ์ แต่พระเทวทัตให้เธอสละสมณเพศสึก ออก และขับออกจากสำ นัก นางเสียใจอย่างมาก พอได้สติ เรามิได้ บวชอุทิศให้ต่อพระเทวทัต แต่อุทิศให้พระบรมศาสดา จึงมุ่งหน้าเพื่อ เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงทราบความจริงอยู่แล้ว จึงรับสั่ง ให้พระอุบาลีตัดสินความเรื่องนี้ ท่านพระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นประธาน มีนางวิสาขา และอนาถปิณฑิกะเศรษฐี ร่วมกันพิจารณา มีการตรวจ ดูมือ เท้า และลักษณะของครรภ์นับวันนับเดือนสอบประวัติย้อนหลัง พระอุบาลีเถระ ประกาศตัดสินท่ามกลางพุทธบริษัททั้ง ๔ ว่าภิกษุณี รูปนี้ยังมีศีลบริสุทธิ์อยู่ นางตั้งครรภ์ตั้งแต่ก่อนบวช พระพุทธองค์ได้ ตรัสอนุโมทนาสาธุการแก่เถระว่า “ชำ ระความได้ถูกต้องยุติธรรม”
อดีตชาติของพระอุบาลี
ในสมัยพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ท่านเกิดเป็นพราหมณ์ชื่อ สุชา ตะ มีทรัพย์ถึง ๘๐ โกฏิ ในเมืองหงสวดี อดีตชาติเคยอยู่ร่วมกับพระปุณณ มันตานีบุตร เป็นฤาษีชื่อ สุนันทะ ทั้งสองได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ได้เห็นพระสาวกรูปหนึ่ง อยู่ในตำ แหน่งเอตทัคคะทรงจำ พระวินัย เกิด ศรัทธาปรารถนาจะเป็นเช่นนั้นบ้าง พราหมณ์สุชาตะแสดงศรัทธา ให้ปรากฏ ด้วยการสร้างโสภณารามถวายพระพุทธเจ้าและพระสาวก กราบทูลให้ทราบถึงความปรารถนาของตน ได้รับพยากรณ์ว่า ในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า จักบวชในเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าโคดม ตั้งไว้ในตำ แหน่งเอตทัคคะด้วยทรงจำ พระวินัย มีชื่อว่า อุบาลี
ได้ฟังเกิดความปีติโสมนัสอย่างยิ่ง ได้ทำ บุญอื่นๆ สนับสนุน ต่อเนื่องตลอดชีวิต ได้เวียนว่ายในภพภูมิต่างๆ มีอยู่ชาติได้เกิดเป็น พระราชโอรสพระเจ้าจักรพรรดิอัญชนะ พระนามว่าจันทนะ เป็นคน กระด้างถือตัวว่าสูงส่งด้วยอิสริยยศ วันได้เสด็จประพาสอุทยานได้ พบพระธุดงค์รูปหนึ่ง (พระเทวละ, พระปัจเจกพระพุทธเจ้า) เดินผ่าน ขบวน ทรงพิโรธ จึงทรงไสช้างขับไล่พระเทวละ ด้วยเมตตานุภาพของ พระเทวละทำ ให้ช้างไม่สามารถขยับเขยื้อนได้ นิ่งอยู่เหมือนถูกตรึง เห็น ดังนั้นเจ้าชายจันทนะโกรธมาก จึงบริภาษด้วยถ้อยคำ หยาบคายก่อนจะ เสด็จต่อไป การประทุษร้ายพระที่มีศีลบริสุทธิ์ถือว่าเป็นบาปกรรมหนัก วันเวลาผ่านไปเจ้าชายรู้สึกไม่สบายพระทัย จึงนำ เรื่องที่เกิดขึ้นเล่าให้ พระราชบิดาฟัง พระราชบิดาตรัสให้รีบไปขมาท่าน พระเทวละได้ยก โทษให้ โดยได้กล่าวปลอบพระหทัยเจ้าชายจันทนะความว่า
“ไฟย่อมไม่ลุกไหม้ในน้ำ เมล็ดพืชย่อมไม่งอกในหิน หนอน ย่อมไม่เกิดในตัวยา เช่นเดียวกับความโกรธ ย่อมไม่เกิดในพระพุทธเจ้า ทั้งหลายเป็นเหมือนผืนแผ่นดิน นั่นคือใครๆ จะทำ ให้หวั่นไหวไม่ได้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายล้วนฝึกตนมาดี มีความกล้าและอดทน จึงไม่ตก อยู่ในอำ นาจความโกรธ”
ด้วยอำนาจเศษของบาปกรรมนั้นส่งผลให้เกิดในตระกูลชั้นต่ำ การสั่งสมบุญมาดี และความอุสาหะทำ ให้ท่านได้บรรลุในมรรคผล

ประวัติพระวังคีสเถระ
พระวังคีสะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ นครสาวัตถี ศึกษาจบ ไตรเพท จึงให้เรียนมนต์พิเศษอีกอย่างหนึ่งชื่อว่า “ฉวสีสมนต์” ซึ่งเป็น มนต์เครื่องพิสูจน์ศีรษะซากศพมนุษย์แม้จะตายไปแล้ว โดยใช้นิ้วเคาะ หรือดีดที่หัวของศพ หรือกะโหลก ก็จะรู้ว่าตายแล้วไปเกิดเป็นอะไร เกิด ที่ไหน ท่านมีความเชี่ยวชาญในมนต์นี้มาก จึงได้อาศัยมนต์นี้เป็นเครื่อง เลี้ยงชีวิต
ต่อมาเขาได้ตั้งเป็นคณะมีผู้ร่วมงานและตระเวนทั่วไปตามเมือง ต่างๆ ด้วยวิธีการอย่างนี้ประชาชนได้นำ หัวกะโหลกของญาติที่ตายไป แล้วมาให้พิสูจน์กันมากมาย ชาวคณะของวังคีสะได้รับสิ่งตอบแทนมาก ขึ้น ได้เห็นประชาชนถือดอกไม้และเครื่องสักการะไปยังวัดพระเชต วัน จะไปฟังเทศน์ที่วัดพระเชตวัน “ท่านทั้งหลาย มาหาวังคีสะดีกว่า เพราะท่านสามารถรู้ว่าคนที่ ตายไปแล้ว ไปเกิดเป็นอะไร ไปเกิดที่ไหน” พวกคณะของวังคีสะชักชวน “ในโลกนี้ ไม่มีผู้ใดจะรู้เท่าเทียมพระพุทธเจ้าของพวกเราได้ หรอก” พุทธบริษัทแย้งขึ้น การโต้ตอบกลายเป็นการโต้เถียงเริ่มรุนแรง ขึ้น ไม่เป็นที่ยุติ กลุ่มของวังคีสะ จึงตามไปที่พระเชตะวันมหาวิหารเพื่อ พิสูจน์ความสามารถว่าใครจะเหนือกว่ากัน พระพุทธองค์ทรงทราบวัตถุประสงค์ของกลุ่มวังคีสะได้ดี จึง รับสั่งให้นำ กะโหลกคนตายมา ๕ กะโหลก คือ
๑. กะโหลกคนที่ตายไปเกิดในนรก
๒. กะโหลกคนที่ตายไปเกิดในสวรรค์
๓. กะโหลกคนที่ตายไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
๔. กะโหลกคนที่ตายไปเกิดเป็นมนุษย์
๕. กะโหลกของพระอรหันต์
เมื่อได้กะโหลกศีรษะมาครบแล้ว ได้มอบให้วังคีสะตรวจสอบดู ว่าเจ้าของกะโหลกเหล่านั้นไปเกิดที่ไหน วังคีสะ เคาะกะโหลกเหล่านั้น มาตามลำ ดับ และทราบสถานที่ไปเกิดถูกต้องทั้ง ๔ กะโหลก แต่พอมา ถึงกะโหลกสุดท้าย ซึ่งเป็นกะโหลกของพระอรหันต์ไม่สามารถจะทราบ ได้ ไม่มีเสียงตอบจากเจ้าของกะโหลกว่าไปเกิดที่ไหน จึงนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง พระพุทธองค์จึงตรัสถามว่า:-
“วังคีสะ เธอไม่รู้หรือ ?”
“ข้าพระพุทธเจ้า ไม่รู้ พระเจ้าข้า”
“วังคีสะ ตถาคตรู้”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงทราบด้วยมนต์อะไร พระเจ้าข้า”
“ด้วยกำ ลังมนต์ของตถาคตเอง”
ลำ ดับนั้น วังคีสะ ได้กราบทูลขอเรียนมนต์นั้นจากพระบรม ศาสดา ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงรับจะสอนมนต์นั้นให้ แต่มีข้อแม้ว่าผู้เรียน จะต้องบวช จึงจะสอนให้ วังคีสะ คิดว่า ถ้าเรียนมนต์นี้จบก็จะไม่มีผู้ เทียมได้เลย จะเป็นประโยชน์แก่อาชีพของตนเป็นอย่างยิ่ง จึงบอกให้ พราหมณ์ร่วมคณะเหล่านั้นรอยู่สัก ๒-๓ วัน เมื่อบวชเรียนมนต์จบแล้ว ก็จะสึกออกไปร่วมคณะกันต่อไป
เมื่อวังคีสะบวชแล้ว พระบรมศาสดาประทานพระกรรมฐาน มีอาการ ๓๒ เป็นอารมณ์ รับสั่งให้สาธยายท่องบริกรรม พร้อมทั้ง พิจารณาไปด้วยฝ่ายพราหมณ์ที่คอยอยู่ก็มาถามเป็นระยะๆ ว่าเรียน มนต์จบหรือยัง วังคีสะ ก็ตอบว่ากำ ลังเรียนอยู่ โดยเวลาล่วงไปไม่นาน นัก ท่านก็ได้บรรลุพระอรหัตผล เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา พวกพราหมณ์เหล่านั้นเห็นว่าท่านไม่หวนกลับสึกออกมาประกอบอาชีพ ฆราวาสเช่นเดิมอีกแล้ว จึงได้แยกย้ายกันไปตามอัธยาศัยของตน ๆ
พระบรมศาสดาทรงยกย่องท่านในตำ แหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศ กว่าภิกษุทั้งหลาย ในทางผู้มีปฏิภาณ คือ ความสามารถในการผูกบทกวี คาถา ท่านดำ รงอายุสังขาร สมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน

ประวัติพระสาคตเถระ
พระสาคตะ เกิดในวรรณะพราหมณ์ เมืองสาวัตถี เมื่อเจริญ เติบโตขึ้นมาได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดา แล้วเกิดศรัทธา เลื่อมใส กราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท จนได้บรรลุสมาบัติ ๘ ฝึกฝนจน มีความชำ นาญในองค์ฌานนั้น คือการเข้าเตโชสมาบัติแสดงฤทธิ์ช่วย ชาวบ้าน
สมัยหนึ่ง พระบรมศาสดา เสด็จจาริกไปตามคามนิคมและชนบท ต่าง ๆ พระสาคตะได้ตามเสด็จไปด้วย พระพุทธองค์เสด็จถึงท่าเรืออัมพะ ซึ่งอยู่ที่หมู่บ้านภัททวติกะ ใกล้พระนครโกสัมพี แคว้นเจตี ในบริเวณ ใกล้ ๆ ท่าเรือนั้น มีอาศรมฤาษีชฏิลตั้งอยู่ และชฏิลนั้นนับถือบูชาพญา นาคชื่อว่าอัมพติฏฐกะ ซึ่งเป็นสัตว์มีพิษและมีฤทธิ์อำ นาจมากกว่า พญานาคทั่วไป สามารถบันดาลให้ดินฟ้าอากาศเป็นไปตามต้องการได้ ทำ ให้ชาวบ้านเดือดร้อนเพราะฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล อันเป็นผลมา จากการบันดาลของพญานาคนั้น
พระสาคตเถระ ทราบความเดือดร้อนของชาวบ้าน เกิดความ สงสารจึงได้ช่วยเหลือ นั่งขัดสมาธิอธิษฐานจิตในที่ไม่ไกลจากพญานาค ทั้งพระเถระและพญานาคได้แสดงอิทธิฤทธิ์เข้าต่อสู้กันหลายประการ จนในที่สุดพญานาคก็สิ้นฤทธิ์ และในที่สุดก็เลิกละการกลั่นแกล้งให้ ประชาชนเดือดร้อน ฝนตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านทำ ไร่ทำ นาได้ดี มี ความสุขกายสุขใจ และไม่ลืมที่จะระลึกถึงคุณของพระเถระที่ให้การช่วย เหลือข่าวสารการที่พระสาคตเถระปราบพญานาค ได้ร่ำ ลือกันไปทั่วทั้ง เมือง
เมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ ภัททวติกาคามเสด็จไปยังพระ นครโกสัมพีและพระสาคตเถระ พระสาคตเถระ ชาวประชาพากันคิด ว่า จะถวายสิ่งของที่พระเถระชอบที่สุดและหายากที่สุดในขณะที่เที่ยว ปรึกษากันอยู่ว่าจะถวายสิ่งใดดีนั้นพระฉัพพัคคีย์ ได้แนะนำแก่ชาวเมือง ว่า “สิ่งที่พระภิกษุชอบที่สุดและหายากที่สุดก็คือ สุราอ่อน ๆ ที่มีสีแดง เหมือนเท้านกพิราบ”
เช้าวันรุ่งขึ้น พระสาคตเถระเข้าไปบิณฑบาตในเมืองโกสัมพี ชาวเมืองทั้งหลายต่างพากันถวายสุราให้ท่านดื่ม ขณะนั้นยังไม่มีพุทธ บัญญัติห้ามภิกษุดื่มสุรา พระเถระจึงดื่มสุราที่ชาวเมืองถวายแห่งละนิด ละหน่อย เพื่อเป็นการรักษาศรัทธาของชายเมือง ปรากฏว่ากว่าที่ พระ เถระจะเดินบิณฑบาตตลอดหมู่บ้านก็ทำ เอาท่านมึนเมาจนหมดสติล้มลง ที่ประตูเมือง พระบรมศาสดาเสด็จมาพบท่านนอนสลบหมดสติอยู่อย่าง นั้น จึงรับสั่งให้ภิกษุช่วยกันนำ ท่านกลับที่พัก เมื่อท่านบรรเทาความเมา กลับได้สติแล้วพระพุทธองค์ทรงติเตียนในการกระทำ ของท่าน และทรง บัญญัติพระวินัยห้ามภิกษุดื่มสุราตั้งแต่บัดนั้น ด้วยพระดำ รัสว่า “สุราเมรยปาเน ปาจิตฺติยํ แปลว่า (ภิกษุ) เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะดื่มสุราและเมรัย”
ครั้นรุ่งขึ้น พระเถระมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ตามปกติแล้ว รู้สึก สลดใจต่อการกระทำ ของตน กราบทูลขอให้พระพุทธองค์ทรงงดโทษให้ แล้ว กราบทูลลาปลีกตัวจากหมู่คณะแสวงหาที่สงบสงัด บำ เพ็ญวิปัสสนา กรรมฐาน ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตผล
สมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ และใน ขณะนั้น พระสาคตเถระได้ทำ หน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐาก ได้มีชาวแคว้น อังคะจำ นวนมาก เดินทางมาเพื่อเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ท่านได้แสดง อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ดำ ดินลงไปแล้วโผล่ขึ้นที่ตรงพระพักตร์ของพระผู้มี พระภาค
พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระฌาณว่า ชาวแคว้นอังคะเหล่า นั้นยังไม่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างทั่วถึงและมั่นคง จึงรับสั่งให้ พระสาคตเถระแสดงปาฏิหาริย์ ต่อไปอีก ด้วยการแสดงการยืน เดิน นั่ง และนอนบนอากาศ ซึ่งพระเถระก็ได้แสดงอย่างชำ นิชำ นาญ และจบลง ด้วยการทำ ให้เกิดควันไฟออกจากกายของท่าน
ชาวแคว้นอังคะ ทั้งหลายต่างก็อัศจรรย์ในในความสามารถของ พระเถระ คิดตรงกันว่า “ขนาดพระเถระผู้เป็นสาวก ยังมีความสามารถ ถึงเพียงนี้ แล้วพระบรมศาสดาผู้เป็นบรมครู จะมีความสามารถถึงเพียง ไหน” แล้วพากันกราบถวายบังคมด้วยความเคารพอย่างยิ่ง พระพุทธ องค์ ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอนุปุพพิกาถา และอริยสัจ ๔ ให้ทุกคน ณ ที่นั้น ดำ รงอยู่ในโสดาปัตติผลโดยทั่วกัน
พระบรมศาสดา จึงทรงประกาศยกย่องพระสาคตเถระ ใน ตำ แหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ชำ นาญเตโช สมาบัติ ท่านดำ รงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาสมควรแก่กาลเวลา แล้ว และอยู่จวบจนสิ้นอายุขัย ก็ดับขันธปรินิพพาน

ประวัติพระพาหิยเถระ
พระพาหิยะ เกิดในวรรณแพศย์ ตระกูลกุฎุมพี แคว้นพาหิยะ คงจะเรียกชื่อท่านตามชื่อแคว้น ประกอบอาชีพค้าขายตามบรรพบุรุษ เนื่องจากมีถิ่นฐานอยู่แถบชายฝั่งทะเล จึงอาศัยเรือเดินทะเล บรรทุกสุวรรณภูมิ อันตั้งอยู่ในแคว้นกัมโพชะ อินเดียตอนเหนือ ท่า จอดเรือรับส่งขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือสุปปารกะ ในอปรันตชนบท เรือแตก แต่รอดตาย เข้ามาถึงฝั่งที่ท่าสุปปารกะได้ แต่พาหิยะก็มาถึงท่าเพียงตัว เท่านั้น เสื้อผ้าที่สวมใส่หลุดหายไปในทะเล เหลือแต่ร่างกายที่เปลือย เปล่า ณ บริเวณท่าเรือสุปปาระกะนั้น มีพ่อค้าประชาชนหนาแน่น เพราะ เป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าและการค้าขาย
พาหิยะ ร่างกายเปลือยเปล่า ไม่มีสิ่งใดปิดบังร่างกายเลย จึงใช้ เปลือกไม้บ้างใบไม้บ้าง ทำ เป็นเครื่องปิดบังแทนเครื่องนุ่งห่ม เที่ยวขอ อาหารจากชาวบ้าน
ในยุคสมัยนั้นคำ ว่า “พระอรหันต์” เป็นคำ ที่ประชาชนกล่าวขาน พอได้เห็นพาหิยะผู้นุ่งเปลือกไม้ มีร่างกายผ่ายผอม ต่างก็พากันเข้าใจว่า พระอรหันต์ ดังนั้นจึงพากันให้อาหารบริโภคอย่างอุดมสมบูรณ์ พร้อม ทั้งเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ทำ ให้พาหิยะมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น แต่ พาหิยะปฏิเสธไม่ยอมรับเสื้อผ้ามาสวมใส่ “พาหิยทารุจิริยะ” ซึ่งแปลว่า พาหิยะผู้มีเปลือกไม้เป็นเครื่องนุ่งห่ม และท่านได้ดำ เนินชีวิตโดยทำ นอง นี้เรื่องมาเป็นเวลานาน
วันหนึ่ง ได้มีพระพรหม ผู้เคยเป็นสหายเก่าที่เคยปฏิบัติธรรมร่วม กันในอดีตชาติกับพาหิยะ และได้บรรลุธรรมถึงชั้นอนาคามิผล เมื่อตาย แล้วได้ไปเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาส ได้ติดตามดูพฤติกรรมของพาหิยะ จึงลงมาเตือนให้สติว่า “พาหิยะ ท่านไม่ใช่พระอรหันต์ บัดนี้ พระอรหันต์ ที่แท้จริงเกิดขึ้นแล้วในโลก ขณะนี้ พระองค์ประทับอยู่ ณ พระเชตะวัน มหาวิหาร เมืองสาวัตถีแคว้นโกศล”
พระพาหิยะ ได้ฟังคำ เตือนของพระพรหมผู้เป็นสหายเก่า แล้วเกิดความสลดใจในการกระทำ ของตนเอง รู้สึกสำ นึกผิดเลิกละ การกระทำ นั้น และเกิดความปิติยินดีที่ทราบว่า พระพุทธเจ้าเกิดขึ้น แล้วในโลก จึงรีบออกเดินทางจากท่าเรือสุปปารกะ มุ่งสู่เมืองสาวัตถี ซึ่งมีระยะทางถึง ๑๒๐ โยชน์ (๑๙๒ กม.) ท่านเดินทางทั้งวันทั้งคืน อย่างรีบร้อน เพื่อเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาให้เร็วที่สุด เพราะไม่รู้แน่ ว่าความตายจะมาถึงเมื่อใด ท่านเดินทางมาถึงเมืองสาวัตถี ในเวลา พุทธสถาน พุทธกิจ พุทธประวัติ 177 รุ่งเช้าแล้วรีบ ตรงไปยังพระเชตวันมหาวิหาร เมื่อได้ทราบว่า ขณะ นี้พระบรมศาสดา เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมือง จึงรีบติดตามไป ในเมืองและได้พบพระผู้มีพระภาคกำ ลังเสด็จบิณฑบาตอยู่ ด้วย ความปีติยินดีอย่างที่สุดได้เข้าไปกราบแทบพระบาทแล้ว กราบทูล ขอให้ทรงแสดงธรรมให้ฟัง พระพุทธองค์ตรัสห้าวว่า “พาหิยะ เวลานี้ มิใช่เวลาแสดงธรรม”
พาหิยะ ได้พยายามกราบทูลอ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง พระบรม ศาสดา จึงทรงแสดงพระธรรมเทศให้ฟัง โดยตรัสสอนให้สำ รวมอินทรีย์ คือ เมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินเสียงก็สักแต่ว่าได้ยิน ได้กลิ่นก็สักแต่ ว่าได้กลิ่น ลิ้มรสก็สักแต่ว่าลิ้มรส และสัมผัสสักแต่ว่าสัมผัสเท่านั้น อย่า ยินดียินร้ายในสิ่งเหล่านั้น และหมั่นสำ เหนียกศึกษาในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อยู่เป็นนิตย์ พาหิยะ ส่งกระแสจิตไปตามกระแสพระธรรม เทศนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผลในทันที
ท่านได้กราบทูลขออุปสมบท แต่พระพุทธองค์ทรงทราบด้วย พระญาณว่า ในอดีตชาติท่านพาหิยะ ไม่เคยทำ บุญสงเคราะห์พระภิกษุ สามเณรด้วยบาตรและจีวรเลย เมื่อบวชแล้วบาตรและจีวรที่จะเกิดด้วย บุญฤทธิ์ ก็จะไม่มีจึงรับสั่งให้ท่านไปหาบาตรและจีวรมาให้ครบก่อน และในขณะที่ท่านกำ ลังแสวงหาบาตรและจีวรอยู่นั้นได้ถูกอมนุษย์ผู้ เคยเป็นศัตรูกันมากแต่อดีตชาติ เข้าสิงร่างแม่โคลูกอ่อนวิ่งเข้าขวิดท่าน ตาย จึงถือว่าท่านนิพพานตั้งแต่ยังไม่ได้บวชพระพุทธองค์ เสด็จกลับ จากบิณฑบาต ทอดพระเนตรเห็นศพของท่านนอนอยู่ริมทางจึงรับสั่ง ให้ภิกษุที่ติดตามเสด็จมา จัดการฌาปนกิจให้ท่าน และทรงยกย่องท่าน ในตำ แหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ขิปปาภิญญา คือ ตรัสรู้เร็วพลัน


ประวัติพราหมณ์พาวรี ๑๖
มาณพ ๑๖ คน เป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ออกบวช ประพฤติพรต มีอาศรมอยู่ริมแม่น้ำ โคธาวารี สอนไตรเพทแก่หมู่ศิษย์ ข่าวการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทำ ให้พราหมณ์พาวรีใคร่รู้ในความสงสัย จึงตั้งคำ ถามให้มาณพผู้เป็นศิษย์ ๑๖ คน ผูกปัญหาให้คนละหมวด เพื่อ ทูลถามปัญหากับพุทธเจ้า
พระบรมศาสดาตรัสตอบปัญหาแต่ละคน อาทิเช่น
๑๕. โมฆราชมาณพ ถามปัญหา ๑ ข้อ
ม. โลกนี้ก็ดีโลกอื่นก็ดี พรหมโลกกับทั้งเทวโลกก็ดีย่อมไม่ทราบ ความเห็นของพระองค์ เหตุฉะนี้ จึงมีปัญหามาถึงพระองค์ ข้าพเจ้า จะพิจารณาเห็นอย่างไร มุจจุราชจึงจะไม่แลเห็น คือจักไม่ตามทัน พ. ท่านจงเป็นคนมีสติ ถอนความตามเห็นว่า ตัวของเราเสีย ทุกเมื่อเถิด ท่านจะข้ามล่วงมัจจุชราชเสียได้ ด้วยอุบายอย่างนี้ ท่าน พิจารณาอย่างนี้แล มัจจุราชจึงแลไม่เห็น ฯ
หลังจากที่พยากรณ์แก่มาณพทั้งหมดแล้ว เว้นปิงคิยมาณพ ส่งใจ ไปตามเทศนา จิตหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน มานพทั้ง ๑๖ คน ทูลขออุปสมบท ส่วนปิงคิยมาณพ ท่านมัวแต่คิดถึงอาจารย์ เป็นห่วงอาจารย์ มีความฟุ้ซ่าน ภายหลังได้ฟังธรรมอีก จึงบรรลุอรหัตผล และองค์ที่ได้รับเอตทัคคะ คือพระบรมศาสดายกย่อง มีเพียง ๑ องค์ คือ พระโมฆราช เป็นเลิศกว่าภิกษุอื่นในทางจีวรเศร้าหมอง

ประวัติพระวักกลิเถระ
พระวักกลิ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในเมืองสาวัตถุ ได้ศึกษา ศิลปะวิทยา จบไตรเพท ตามความนิยมของลัทธิพราหมณ์
สมัยหนึ่ง เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จสู่พระนครสาวัตถีพร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์วักกลิมาณพนั้น เป็นผู้มีอุปนิสัยหนักไปในทางราคจริตรักสวย รักงาม พอได้เห็นพระรูปโฉมอันสง่างาม ผิวพรรณผ่องใส พระอิริยาบถ จึงเกิดศรัทธาเลื่อมใสและรักใคร่ไม่รู้จักเบื่อหน่าย เกิดความคิดว่า “ถ้า เราบวชก็จะได้ตามดูพระวรกายของพระพุทธองค์ ได้อย่างใกล้ชิดและ ตลอดเวลา” เมื่อคิดดังนี้แล้ว จึงเข้าไปกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท ก็มิได้ใส่ใจในการที่จะศึกษาพระธรรมวินัย ทุกวันเวลามีแต่มัวเมาเฝ้าดู พระรูปโฉมของพระพุทธองค์มิได้ ละเว้น พระพุทธองค์เองก็มิได้รับสั่ง ว่ากล่าวแต่ประการใด
พระองค์ตรัสเตือนให้พระวักกลิ เลิกละการเที่ยวติดตามดู ร่างกายอันจะเน่าเปื่อยนั้นเสีย และทรงชี้ทางให้ท่านกลับมาใส่ใจบำ เพ็ญ สมณธรรมด้วยพระดำ รัสว่า “ดูก่อนพระวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม” พระวักกลิ แม้ว่าพระพุทธองค์จะตรัสเตือนอย่างนั้นแล้ว ท่าน ก็ยังปฏิบัติเช่นเดิม พระผู้มีพระภาคจึงมีพระดำ ริว่า “ภิกษุนี้ ถ้าไม่ได้รับความสลดใจเสียบ้าง ก็จะไม่ได้บรรลุมรรคผล อะไรเลย” เมื่อใกล้จะถึงวันเข้าพรรษา พระองค์ได้เสด็จไปสู่พระนคร ราชคฤห์โดยมีพระวักกลิ ยังคงติดตามดูพระองค์อยู่ตลอดเวลา จึงตรัส เรียกให้พระวักกลิ เข้ามาเฝ้า และตรัสประณามขับไล่เธอออกไปเสียจาก สำ นักของพระองค์ด้วยพระดำ รัสว่า:- “อเปหิ วกฺกลิ : ดูก่อนวักกลิ เธอจงออกไปจากสำ นักของเรา” พระวักกลิ เมื่อได้ฟังพระดำ รัสนั้นแล้ว คิดว่าพระบรมศาสดาคงจะไม่ เมตตาทักทายปราศรัยกับเราอีกแล้ว เราก็คงจะไม่ได้เห็นพระวรกาย รูปโฉม จึงออกจากพระเวฬุวันมหาวิหาร หมายใจว่าจะไปกระโดดภูเขา คิชฌกุฏ เพื่อฆ่าตัวตาย
พระองค์ปรากฏให้เธอเห็นพร้อมทั้งตรัสเรียกชื่อว่า “วักกลิ” แล้ว ตรัสปลอบใจด้วยธรรมกถา พระวักกลิ ก็เกิดปีติปราโมทย์รื่นเริงบันเทิง ใจ จึงรีบมาเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาโดยทางอากาศพิจารณาพระโอวาท ที่ตรัสสอน ข่มปีติลงได้แล้ว ก็ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมทั้งปฏิสัมภิทา บนอากาศนั้น
ด้วยความที่ท่านเป็นผู้มีศรัทธาอย่างแรงกล้า อาศัยศรัทธาเป็น สื่อนำ จนสามารถได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ พระบรมศาสดาจึงทรง ยกย่องท่านในตำ แหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ศรัทธาวิมุตติ คือ ผู้หลุดพ้นจากกิเลสด้วยศรัทธา

ประวัติอนาถบิณฑิกเศรษฐี
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เกิดในตระกูลเศรษฐี เมืองสาวัตถี เดิม ชื่อสุทัตตะ ได้ชื่ออย่างนั้น เพราะว่าท่านเป็นผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา
- บรรลุเป็นพระโสดาบัน
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี มีน้องเขยอยู่ที่เมืองราชคฤห์ชื่อว่า ราชคหกเศรษฐี ต่างฝ่ายต่างได้น้องของกันและกันเป็นภรรยา ได้เดิน ทางไปยังเมืองราชคฤห์ เพื่อนำ สินค้ามาขาย ในวันนั้น ราชคหกะ ไม่ได้ต้อนรับ เพราะมัวยุ่งกับการตระเตรียมภัตตาหาร พอได้สนทนา กันบอกกับท่านอนาถบิณฑิกะว่า วันพรุ่งนี้จะนิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อม ด้วยภิกษุสงฆ์มาฉันที่บ้านของตน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี พอได้ยินคำ ว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้น รู้สึก ประหลาดใจ เกิดความปีติอย่างแรงกล้า อยากจะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เดียวนั้นเลย แต่ราชคหกเศรษฐี ห้ามไว้เป็นเวลาที่ยังไม่เหมาะสม รุ่ง เช้ารีบไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าก่อนคนอื่น ได้ฟังอนุปุพพิกถาและอริยสัจ สี่ บรรลุเป็นพระโสดาบัน
- สร้างวัดพระเชตวันถวาย
หลังจากที่ถวายภัตตาหารเสร็จเรียบร้อย ท่านอนาถบิณฑิก- เศรษฐี ได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดชาวเมืองสาวัตถี พร้อมที่จะสร้างวิหารถวาย เศรษฐีมุ่งหน้ามาก่อนเพื่อติดต่อขอชื้อที่ดิน กับเจ้าชายเชตราช โดยให้เศรษฐีนำ เงินมาปูลาดให้เต็มบริเวณพื้นที่จึง จะยอมขายให้ เศรษฐีใช้เงิน ๒๗ โกฏิ เป็นค่าที่ดิน และอีก ๒๗ โกฏิ เป็นค่าก่อสร้าง รวมทั้งหมด ๕๔ โกฏิ เจ้าเชตยังร่วมบุญเป็นเจ้า ภาพบริเวณพื้นที่ซุ้มประตู ขอร้องให้จารึกนามอารามแห่งนี้ว่า เชต วัน หลังจากนั้นได้ทำ การฉลองพระเชตวันมหาวิหาร
- เป็นเศรษฐีที่จนและรวยที่สุด
ได้นิมนต์พระภิกษุ ๒๐๐ รูป ฉันภัตตาหารที่บ้านเป็นประจำ และให้ทานแก่คนยากจน จนทรัพย์สินเริ่มลดลง ภัตตาหารที่ถวาย คุณภาพปริมาณลดลงด้วย เทวดาตนหนึ่งมีมิจฉาทิฏฐิ สิงสถิตที่ซุ้มประตู เวลาที่พระสงฆ์ เดินรอดซุ้ม ตนไม่สามารถอยู่ได้ต้องหนีห่าง จึงปรากฏกายต่อหน้า ท่านเศรษฐี ห้ามมิให้เศรษฐีทำ บุญทำ ทานอีกต่อไป เศรษฐีถามต่อไปว่า ท่านเป็นใคร ข้าพเจ้าเป็นเทวดา อยู่ที่ซุ้มประตูเรือนของท่าน ดูก่อนเทวดาอันธพาล เราไม่ต้องการเห็น ไม่ต้องการฟังคำ พูดของ ท่าน ขอท่านจงออกไปจากซุ้มประตูเรือนของเรา อย่ามาให้ข้าพเจ้า เห็นอีกเป็นอันขาด กลายเป็นเทวดาที่ไม่มีที่อยู่ ขอให้เทวดาที่มีศักดิ์สูงกว่าตนให้ ช่วยเหลือ ก็ไม่ได้เป็นผลสำ เร็จ เพียงแต่บอกอุบายให้ว่า ทรัพย์เก่า ของเศรษฐี จำ นวน ๘๐ โกฏิ ฝังไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ ถูกน้ำ เซาะตลิ่งพัง จมหายไปในสายน้ำ ให้ท่านนำ กลับคืนมามอบเศรษฐี ท่านเศรษฐีจะ ยกโทษให้ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีที่จนอยู่ในขณะเดียวกลับกลายเป็น เศรษฐีที่ร่ำ รวยมากขึ้นกว่าเดิม
- ต้นแบบทำ บุญอุทิศให้คนตาย
หลานท่านเศรษฐีเล่นตุ๊กตาทำ จากแป้งหล่นลงจนแตก หลาน เสียใจร้องไห้ ท่านปลอบโยนหลานโดยการจะทำ บุญอุทิศให้ตุ๊กตา ข่าว การทำ บุญอุทิศดังไปทั่ว ผู้คนถือปฏิบัติตามกันมา เมื่อญาติตายก็จะ อุทิศบุญกุศลไปให้ เป็นแบบอย่างจนถึงทุกวันนี้
- มอบหน้าที่ให้ลูกสาว
พระภิกษุจะเข้ามารับอาหารบิณฑบาตเป็นประจำ ที่บ้านอนาถ บิณฑิกเศรษฐีและนางวิสาขา บุคคลอื่นจะเลี้ยงพระก็จะต้องขอคำ แนะจากท่านทั้งสอง ทำ ให้ท่านไม่ค่อยมีเวลามาดูแลพระที่บ้านของ ตน นางวิสาขาได้มอบภารกิจแก่หลานสาว ส่วนอนาถบิณฑิกะได้ มอบหน้าที่แก่ลูกสาวคือ มหาสุภัททา ลูกสาวคนโต ได้ฟังธรรมบรรลุเป็นพระโสดาบัน ต่อมาได้แต่งงานไปอยู่กับสกุลสามี เศรษฐีมอบหมายลูกสาวคนที่สอง คือ จุลสุภัททา ช่วยดูแลอยู่ระยะหนึ่ง ได้ฟังธรรมบรรลุเป็น พระโสดาบัน ต่อมาได้แต่งงานไปอยู่กับสกุลสามี เศรษฐีจึงมอบให้คน เล็กชื่อว่า สุมนาเทวี และได้ฟังธรรม บรรลุเป็นพระสกทาคามี วันหนึ่ง สุมนาเทวี ได้มีอาการป่วยหนัก เศรษฐีเข้ามายี่ยม ถามถึง อาการ แต่ลูกสาวกลับเรียกบิดาว่าเป็นน้องชาย หลังจากนั้นถึงแก่กรรม
- กราบทูลพระศาสดา
ท่านเศรษฐีร้องไห้เสียใจเป็นอย่างมาก และได้เข้าเฝ้าพระศาสดา พระองค์ตรัสปลอบท่านเศรษฐี และได้ทูลถามถ้อยคำ นางสุมนาที่เรียก ตนว่าน้อง ดูก่อนมหาเศรษฐี ธิดาท่านไม่ได้เพ้อหรือหลงสติ นางใหญ่ กว่าท่านโดยมรรคและผล ท่านเป็นเพียงพระโสดาบัน แต่นางบรรลุ เป็นพระสกทาคามี เศรษฐีได้ฟังพระพุทธดำ รัสแล้ว หายจากความเศร้าโศกเสียใจ รับความปีติอิ่มใจ ท่านเศรษฐีเป็นผู้มีศรัทธามั่งคงไม่หวั่นไหว ฝักใฝ่ ในการทำ บุญให้ทาน พระพุทธองค์ทรงยกย่องท่านเลิศกว่าอุบาสกทั้ง หลาย ในฝ่ายผู้เป็นทายก

ประวัตินางวิสาขา (ผู้เป็นทายิกา)
นางวิสาขา เกิดในตระกูลเศรษฐี เมืองภัททิยะ แคว้นอังคะ บิดาชื่อธนญชัย มารดาชื่อสุมนาเทวี และปู่ชื่อเมณฑกเศรษฐี เด็กหญิงวิสาขาได้บรรลุพระโสดาบันตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ ส่วน ปู่เมณฑกเศรษฐีบรรลุพระโสดาบันเช่นกัน เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จ สู่เมืองภัททิยะ รับอาหารบิณฑบาตที่บ้านเมณฑกเศรษฐีเป็นระยะเวลา ๑๕ วัน
สืบเนื่องมาจากที่พระเจ้าปเสนทิโกศล ต้องการเศรษฐีจากเมือง ราชคฤห์ให้ประจำ อยู่ที่เมืองสาวัตถี ที่กล้าขอคงเป็นเพราะว่า ภคินี หรือ น้องสาวของพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นพระมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร พระองค์จึงยกตระกูลธนญชัยเศรษฐี ธนญชัยเศรษฐีได้ขนย้ายทรัพย์ บริวาร และสัตว์เลี้ยง ระหว่าง ทางก่อนถึงเมืองสาวัตถี ๗ โยชน์ เห็นว่าเป็นทำ เลดี จึงขออนุญาต ก่อตั้งหมู่บ้านชื่อว่า สาเกต
- หญิงเบญจกัลยาณี
ในเมืองสาวัตถีมีตระหนึ่งหนึ่งชื่อว่า มิคารเศรษฐี ต้องการให้ ลูกชายชื่อ ปุณณวัฒนกุมาร ได้แต่งงานเพื่อสืบวงศ์ตระกูล จึงออก อุบายเลี่ยงพ่อแม่ว่า ถ้ามีหญิง ๕ อย่าง จึงจะยอมแต่งงาน เบญจกัลยาณี ความงามของสตรี ๕ ประการ ๑. ผมงาม (เกสกลฺยาณํ) ผมยาวถึงสะเอว ปลายงอนขึ้น
๒. เนื้องาม (มงฺสกลฺยาณํ) ริมฝีปากแดงเหมือนผลตำ ลึงสุก
๓. กระดูกงาม (อฏฐิกลฺยาณ) ฟันสีขาวเหมือนสังข์ เรียบเสมอกัน
๔. ผิวงาม (ฉวิกลฺยาณํ) ถ้าดำ เหมือนดอกบัวเขียว ถ้าขาว เหมือนดอกกรรณิการ์
๕. วัยงาม (วยกลฺยาณํ) แม้คลอดลูก ๑๐ ครั้ง ก็ดูเหมือนกับ กำ เนิดบุตรเพียงครั้งเดียว
ทางบิดามารดาได้เชิญพราหมณ์ผู้เชียวชาญด้านอิตถีลักษณะ ให้ออกแสวงหาตามเมืองต่างๆ
- ชน ๔ พวก วิ่งไม่งาม
ขณะที่นางและหญิงบริวารกำ ลังเล่นน้ำ ที่ท่าน้ำ พอฝนตกหญิง บริวารรีบวิ่งหลบฝน ส่วนนางวิสาขาไม่วิ่งคงเดินตามปกติ พราหมณ์ เห็นลักษณะถูกต้องตามตำ รา ต้องการจะเห็นลักษณะฟันของนางได้ ถามว่า ทำ ไมเธอไม่วิ่งหนีหลบฝน นางวิสาขาตอบว่า ชน ๔ พวก เมื่อวิ่งจะดูไม่งาม ๑. พระราชา ทรงประดับด้วยเครื่องอาภรณ์
๒. บรรพชิต ผู้ครองผ้ากาสาวพัสตร์
๓. สตรี หญิงทั้งหลายวิ่งไม่งามอยู่แล้ว อาจจะอุบัติเหตุ จนเสียโฉม หรือพิการ
๔. ช้างมงคล เพราะตัวช้างด้วยประดับเครื่องอาภรณ์
พราหมณ์ได้เห็นการแสดงปัญญาของนาง และเป็นหญิง เบญจกัลยาณี จึงไปที่บ้านนางทำ การสู่ขอต่อพ่อแม่ จึงสวมพวงมาลัย ทองให้นาง กำ หนดการหมั้นหมายและกำ หนดวิวาหมงคล ธนญชัยเศรษฐีได้ทำ เครื่องประดับชื่อ มหาลดาประสาธน์ ชุด ยาวตั้งแต่หัวจนถึงปลายเท้า ประกอบด้วยเงินทองและรัตนมีค่า ๙ โกฏิกหาปณะ ค่าช่าง ๑ แสน ธนญชัยเศรษฐีมอบทรัพย์สิน บริวาร สัตว์เลี้ยง และกุฎุมพีประจำ ตัว ๘ คน
- ธนญชัยเศรษฐีให้โอวาทลูกสาว
๑. ไฟในอย่านำ ออก เรื่องไม่ดีของพ่อผัวแม่ผัวหรือสามี ไม่ควร นำ ไปพูดให้คนภายนอกฟัง
๒. ไฟนอกอย่านำ เข้า เมื่อมีคนตำ หนิพ่อผัวแม่ผัวและสามี อย่านำ มาพูดให้คนในบ้านฟัง
๓. ควรให้แก่คนที่ให้เท่านั้น คือคนที่ยืมแล้วนำ มาคืนให้
๔. ไม่ควรให้แก่คนที่ไม่ให้ คือคนที่ยืมแล้วไม่นำ มาส่งคืนให้
๕. ควรให้ทั้งแก่คนที่ให้และไม่ให้ เมื่อญาติมิตรผู้ยากจนขอ ความช่วยเหลือ ให้ไปแล้วไม่นำ มาคืน ก็ควรที่จะให้
๖. พึงนั่งให้เป็นสุข ไม่นั่งในที่กีดขวางพ่อผัวแม่ผัวและสามี
๗. พึงนอนให้เป็นสุข ไม่ควรนอกก่อนพ่อผัวแม่ผัวและสามี
๘. พึงบริโภคให้เป็นสุข ควรจัดให้พ่อผัวแม่ผัวและสามีบริโภค ก่อน ตนบริโภคภายหลัง
๙. พึงบำ เรอไฟ ให้สำ นึกอยู่เสมอว่า พ่อผัวแม่ผัวและสามี เปรียบเสมือนกองไฟหรือพญานาคที่ต้องบำ รุงดูแล
๑๐. พึงนอบน้อมเทวดาภายใน ให้สำ นึกอยู่เสมอว่า พ่อผัว แม่ผัวและสามี เปรียบเหมือนเทวดา
- นางวิสาขาตำ หนิพ่อผัว บริโภคของเก่า
มิคารเศรษฐีมีความศรัทธานักบวชอเจลก (ชีเปลือย) ได้เชิญ นักบวชเหล่านั้นมารับอาหารที่บ้าน ให้คนตามนางมาไหว้พระอรหันต์ นางวิสาขาดีใจรีบไป พอเห็นชีเปลือย กล่าวว่า ผู้ไม่มีความละลาย เหล่านี้ จะเป็นพระอรหันต์ไม่ได้ พร้อมติเตียนมิคารเศรษฐี มีอยู่วันหนึ่ง มิคารเศรษฐีกำ ลังรับประทานอาหาร มีพระเถระ บิณฑบาตได้หยุดหน้าบ้าน นางวิสาขารู้ว่ามิคารเศรษฐีไม่มีศรัทธา จึง กล่าวกับพระเถระว่า นิมนต์พระคุณเจ้าไปข้างหน้าก่อนเถิด ท่านเศรษฐี กำ ลังบริโภคของเก่าอยู่ เศรษฐีได้ยินโกรธเคืองมาก ขับไล่นางวิสาขา ออกจากบ้าน นางเชิญกุฎุมพีมาตัดสิน นางก็แก้ด้วยคำ ว่า การบริโภค ของเก่าอยู่ มิใช่บริโภคของบูดเน่า แต่หมายถึงการบริโภคบุญเก่าอยู่ เศรษฐีได้ฟังหายโกรธ อนุญาตให้นางนิมนต์พระบรมศาสดาพร้อมภิกษุ สงฆ์มาฉันภัตตาหารที่บ้านได้
- พ่อผัวยกย่องให้เป็นมารดา
วันหนึ่ง นางได้อาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมภิกษุสงฆ์มาฉัน ภัตตาหารที่บ้าน ให้คนเชิญมิคารเศรษฐีมาถวาย แต่เศรษฐีไม่กล้ามา ออกสู่ที่เฉพาะพระพักตร์พระศาสดา หลังจากฉันเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรม จบเทศนา มิคารเศรษฐีหลบอยู่หลังม่านได้ฟังธรรมบรรลุ เป็นพระโสดาบัน
ออกจากหลังม่านตรงไปหานางวิสาขา ประกาศตั้งแต่บัดนี้ เธอคือมารดาของฉัน นางวิสาขาจึงได้นามใหม่ว่า มิคารมารดา หรือ วิสาขามิคารมารดา
- คุณสมบัติประจำ ตัวนางวิสาขา
๑. ลักษณะของผู้มีวัยงาม มีความงาม มีอายุมาก ๑๒๐ ปี มี ลูกชายหญิง ๒๐ คน ลูกของนางมีลูกอีกคนละ ๒๐ คน นางวิสาขา มีเหลน ๘,๐๐๐ คน ดังนั้นจำ นวน ๘,๔๒๐ คน มีต้นกำ เนิดจาก นางวิสาขา เวลาที่นั่งอยู่ในกลุ่มของลูก หลาน เหลน จะไม่รู้ว่านางวิสาขา คนไหน จะรู้ก็ต่อเมื่อตอนที่นางลุกขึ้นเดิน
๒. มีกำ ลังเท่ากับช้าง ๕ ช้าง ครั้งหนึ่ง พระราชาจะทดลอง กำ ลังของนาง ให้ปล่อยช้างวิ่งชนนาง นางวิสาขาจะจับผลักช้าง กลัว จะเป็นบาป นางจึงใช้มือเพียงสองนิ้วจับงวงช้างแล้วเหวี่ยงไป ช้างได้ ล้มกลิ้ง แต่ไม่เป็นอันตราย
- นางวิสาขาร้องไห้อาลัยหลาน
หลานสาวชื่อว่าสุทัตตีได้ถึงแก่กรรม นางวิสาขาเสียใจร้องไห้ เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ดูก่อนวิสาขา ในเมืองนี้ เธอต้องการบุตรหลาน กี่คน?
นางวิสาขา ทั้งหมดเมืองนี้
พระศาสดา เมืองสาวัตถีมีคนตายวันละเท่าไหร่
นางวิสาขา ๑ คนบ้าง ๒ คนบ้าง ๑๐ คนบ้าง
พระศาสดา ถ้าคนเหล่านั้นเป็นบุตรหลานจริง หน้าของ เธอคงเปียกชุ่มด้วยน้ำ ตา ไม่มีวันแห้งเหือด มีสิ่งที่รัก ๑๐๐ อย่าง ก็ ทุกข์ถึง ๑๐๐ ดังนั้นผู้ปรารถนาความสุขให้กับตนเอง ก็ไม่ควรทำ สัตว์ หรือสังขารให้เป็นที่รัก หลังจากได้ฟังพุทธดำ รัสแล้ว นางได้คลายจากความเศร้าโศก
- นางวิสาขาสร้างวัด
นางวิสาขาจะเข้าไปที่วัดเป็นประจำ คือ เช้า - เย็น วันหนึ่งจาก ที่ฟังธรรมเสร็จแล้ว หญิงสาวผู้ติดตามได้ลืมเครื่องประดับมหาลดาป สาธน์ นางก็ให้กลับไปเอา แต่ถ้าพระอานนท์ถูกต้องสัมผัสแล้ว มอบ ถวายท่านไปเลย แต่นางกลับคิดว่า เครื่องประดับนี้ไม่มีประโยชน์แก่ เถระ นางจึงขอรับคืนนำ ออกขาย ในราคาเดิม แต่ไม่มีผู้ใดมีกำ ลังชื้อ นางจึงชื้อเอาไว้เอง นำ เงินชื้อที่ดินสร้างวัด พระศาสดา รับสั่งให้ พระโมคัลลานะ เป็นผู้อำ นวยการดูแลการก่อสร้าง มีปราสาท ๒ ชั้น ห้องพักชั้น ๕๐๐ ห้อง ใช้เวลา ๙ เดือนจึงเสร็จเรียบร้อย ได้ชื่อว่า วิหารบุพพาราม
- ต้นแบบถวายผ้าอาบฝน
นางวิสาขาให้สาวใช้ไปนิมนต์พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ วัน นั้นฝนตก มารายงานแก่นางวิสาขาทราบว่า ที่วัดไม่มีพระเลย มีแต่ชี เปลือยแก้ผ้าอาบน้ำ กันอยู่ นางวิสาขาได้ฟัง นางเป็นผู้มีปัญญาศรัทธาเลื่อมใสอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าอนุญาตผ้าเพียง ๓ ผืน คือ จีวร สังฆาฏิ สบง เวลา พระภิกษุจะอาบน้ำ จึงไม่ผ้าสำ หรับพลัดอาบน้ำ พระบรมศาสดาเสด็จมาบ้านนางวิสาขา หลังจากเสร็จภัตตากิจ นางวิสาขากราบทูลขอพร เพื่อถวายผ้าน้ำ ฝนแก่พระภิกษุสงฆ์ พระพุทธองค์ประทานอนุญาตตามที่ขอนั้น - พระภิกษุคิดว่านางเป็นบ้า นางวิสาขามีความปรารถนาหลายประการ คือ ๑. สร้างปราสาทถวายเป็นวิหารทาน
๒. ถวายเตียง ตั่ง ฟูก หมอน และเสนาสนภัณฑ์
๓. ถวายสลากภัต
๔. ถวายผ้ากาสิกพัสตร์ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย
๕. ถวายเนยใส เนยข้น น้ำ มัน น้ำ ผึ้ง น้ำ อ้อย
ความปรารถนาเหล่านั้นสำ เร็จทุกประการ นางมีความเอิบอิ่มใจ จึงเดินเวียนรอบปราสาทอันเป็นวิหารพร้อมทั้งเปล่งอุทานดังกล่าว พระภิกษุทั้งหลาย ได้เห็นกิริยาอาการของนางวิสาขา ต่างรู้สึก ประหลาดใจ และพากันกราบทูลถามพระศาสดา พระองค์ตรัสว่า ธิดาของเรามิได้เสียจริต เพราะมีความปีติยินดี ที่ความปรารถนาสำ เร็จทุกประการ นางจึงเดินเปล่งอุทาน ด้วยเหตุที่นางวิสาขาได้อุปถัมภ์บำ รุงพระภิกษุสงฆ์ และได้ ถวายจตุปัจจัยเป็นจำ นวนมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกย่องนางใน ตำ แหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่ายผู้เป็นทายิกา

เมืองสาวัตถี
มหานครแห่งคนดี
เมือง…เศรษฐีลือนาม เมือง…หญิงงามลือชื่อ
เมือง…มหาวิหารลํ่าลือ เมือง…เลื่องลือโพธิ์อานนท์
เมือง…เดียรถีย์เสียท่า เมือง…๒๕ จำ กาลฝน
เมือง…ปราบโหราจารย์พาลชน เมือง…แสดงมงคล ๓๘ ประการ
เมือง…กฐินถูกยอยก เมือง…แสดงยมกปาฏิหาริย์
เมือง…จอมโจรองคุลีมาล เมือง…ตำ นานพระสีวลี
เมือง…ธรณีสูบคนบาป เมือง…กำ ราบคนหมองศรี
เมือง…มากหมู่พระกุฎี เมือง… สร้างบารมี ศีล ทาน ภาวนาฯ

ที่มา...คู่มือพระธรรมวิทยากร
บริษัทธรรมหรรษาทัวร์ แอนด์ แทรเวล จำกัด dhammahansatour 71/4 แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 (ตั้งใกล้กับสถานที่สำคัญ คือ ห้างเซ็นทรัลปิ่นเกล้า และ กระทรวงวัฒนธรรม) โทร 02-8845683-6, มือถือ/ไลน์ไอดี : 0819944790, 0614026277, 0994396677 แฟกซ์: 02-8845682 อีเมล: dhammahansa@yahoo.com เว็บไซต์ : www.dhammahansa.com
GR สอบถาม BTC บางกอกไทยเซ็นเตอร์ ไอ-อินเดียไทย วัดไทยโพธิวิหาร GR สอบถามไอ-อินเดีย กรมการท่องเที่ยว ดร.เบิร์ต ธรรมหรรษา ศูนย์อินเดีย-ไทย ธรรมหรรษาทีวี ธรรมหรรษาทัวร์ GR สอบถาม DHT
Dhammahansa Tours & Travel Co., Ltd.
71/4 Borommaratchachonnani Road,
Bangkoknoi, Bangkok, 10700 Thailand.
TEL:(+66) 02-8845683-6, FAX: 02-8845682
Mobile/Line ID : 0819944790, 0614026277, 0994396677
E-mail: dhammahansa@hotmail.com E-mail: dhammahansa@yahoo.com
www.youtube.com/dhammahansa, www.dhammahansa.com, www.dhttv.com
บริษัท ธรรมหรรษาทัวร์ แอนด์ แทรเวล จำกัด
71/4 ถนนบรมราชชนนี แขวงอรุณอมรินทร์
เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 (ข้างเซ็นทรัลปิ่นเกล้า)
โทร : 02-8845683-6, แฟกซ์ : 02-8845682
มือถือ/ไลน์ไอดี : 0819944790, 0614026277, 0994396677
อีเมล: dhammahansa@yahoo.com, เว็บไซต์ : www.dhammahansa.com, www.dhttv.com
Copyright © 2011 All Rights Reserved