ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2566-2567, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2566, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2563-64, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2564, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2563-64, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2564, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
เมนูหลัก
ประวัติบริษัท
ทะเบียน-ใบอนุญาต
แผนที่-ติดต่อสอบถาม
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย2566-67 , ทัวร์อินเดีย2566-2567, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2566, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
ส่วนงานที่เกี่ยวข้อง
BTC บริษัทในเครือ
ศูนย์อินเดีย-ไทย ITT
สมาคมการศึกษาฯ และท่องเที่ยวไทย-อินเดีย
กองทุนบุญกุศลนิธิธรรมหรรษา (ชมรม)
ธรรมหรรษาทีวี TV
ธรรมหรรษาวิทยุ
สารคดีสู่แดนพุทธภูมิ
รายการ TV ช่อง 8
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2563-64, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2564, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
ทัวร์แสวงบุญ
ทัวร์สังเวชนียสถาน
ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล
ทัวร์อินเดีย-เปนาล
โครงการบวชใต้ต้นโพธิ์
ทัวร์แคชเมียร์-หิมาลัย
ทัวร์อินเดียเที่ยวทั่วไป
เนปาล เที่ยวหิมาลัย
พม่า
ศรีลังกา
อินโดนีเซีย
ภูฏาน
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2566-2567, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2566, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
กิจกรรมพิเศษ
สร้างวัดไทยโพธิวิหารอินเดีย
โครงการปฏิบัติธรรมต้นโพธิ์
พิธีสาธยายพระไตรปิฎก
สวดมนต์ข้ามปีที่อินเดีย
คนดังไปอินเดีย
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2563-64, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2564, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
ข้อมูลแดนพุทธภูมิ สังเวชนียสถาน พุทธสถาน
ห้องสมุดพุทธภูมิศึกษา
แผนที่แดนพุทธภูมิ
พุทธคยา
ราชคฤห์-นาลันทา
ปัตนะ
ไวสาลี
เกสริยา
กุสินารา
ลุมพินี
กบิลพัสดุ์
เทวทหะ
สาวัตถี
อโยธยา
สะสาราม
พาราณสี
สารนาถ
โกสัมพี
แคว้นกุรุ (เดลี)
สาญจีสถูป
อชันตา-เอลโลร่า
สังกัสสนคร
แคว้นอวันตี
ทัชมาฮาล-อัคราฟอร์ต
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2563-64, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2564, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
ทัวร์เอเชีย
พม่า
เชียงตุง-เมืองลา
อินโดนีเซีย
เนปาล
ลาว
กัมพูชา
เวียดนาม
มาเลเซีย
สิงคโปร์
จีน
ญีปุ่น
เกาหลี
ภูฏาน
บรูไน
มัลดีฟ
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2563-64, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2564, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
ทัวร์เที่ยวทั่วโลก
ออสเตรเลีย
นิวซีแลนด์
อเมริกา
แคนนาดา
ออสเตรเลีย
อังกฤษ
สวิตเซอร์แลนด์
เยอรมัน
ฝรั่งเศส
อิตาลี
ยุโรปอื่นๆ
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2563-2564, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2564, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatou
ทัวร์ไทยในประเทศ
ทัวร์ปิดทองฝังลูกนิมิต 9 วัด
ทัวร์เขาคิชฌกูฎ-เขาสุกิม
ทัวร์ล่องเรือ
ทัวร์ถวายเทียนพรรษา 9 วัด
ทัวร์ทำบุญไหว้พระ 9 วัด
ทัวร์กินเจ
ทัวร์บั้งไฟพญานาค
ทัวร์เที่ยวเหนือ
ทัวร์เที่ยวอีสาน
ทัวร์เที่ยวใต้
ทัวร์เที่ยวภาคกลาง
ธรรมหรรษาทัวร์
free counters
< 2024 - 03 >
อาพฤ
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
พุทธคยา (Bodhgaya)



       พุทธคยา (Bodhgaya)
พุทธคยา ถือว่าเป็นสถานที่สำคัญที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวพุทธ ทั่วโลก เป็นศูนย์รวมของการจาริกแสวงบุญจากผู้มีจิตศรัทธาทั่วโลก รวมทั้งนักท่องเที่ยวทั่วโลก พุทธคยาเป็นสังเวชนียสถานแห่งที่ ๒ คือสถานที่ตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้า ในอาณาบริเวณพุทธคยาจะมีวัดชาวพุทธเป็นจำ นวน มากร่วมทั้งประเทศไทย พุทธคยาถือว่าเป็น ปฐวีนาภี สะดือของโลก เป็นจุดศูนย์กลางของโลก อัคคัญญสูตรได้กล่าวไว้ว่า มีพรหมจากชั้นอาภัสราพรหมได้ลง มากินง้วนดินในบริเวณแห่งนี้ และเป็นจุดกำ เนิดมนุษย์ เนื่องจากแผ่นดินอินเดียถูกคุกคามจากสงคราม การเสื่อมของพระพุทธ ศาสนา พุทธคยาจึงถูกปล่อยทิ้งร้าง ฮินดูเข้าครอบครองนำมหาโพธิ เจดีย์เป็นเทวสถาน พุทธคยาถูกชาวฮินดูครอบครอง เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. ๒๑๓๓ นักบวชฮินดูชื่อ โคเสนฆมัณฑิคีร์ ได้ตั้งสำ นักเล็ก ๆ ใกล้กับ พระมหาโพธิเจดีย์ ในปัจจุบันผู้นำ ของมหันต์องค์ที่ ๑๕
พ.ศ. ๒๔๑๗ พระเจ้ามินดง กษัตริย์แห่งพม่า ได้ส่งคณะทูต มายังอินเดียเพื่อขอบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารและจัดการบางประการ เพื่อดูแลรักษาพุทธสถานแห่งนี้ เมื่อได้รับความยินยอมจากพวกมหันต์ และรัฐบาลอินเดีย จึงได้เริ่มทำ การบูรณะ ทางรัฐบาลอินเดียได้ส่ง นายพล เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม กับ ด.ร.ราเชนทรลาละ มิตระ เข้าเป็นผู้ดูแลกำ กับการบูรณะ หลังจากนั้นคณะผู้แทนจากพม่าจำ เป็น ต้องเดินทางกลับ ทางรัฐบาลอินเดียจึงรับงานบูรณะ ทั้งหมดมาทำ แทน และเสร็จสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๒๗
จนในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ รัฐบาลอินเดีย โดยการนำ ของ ฯพณฯ เยาวหราล เนห์รู นายกรัฐมนตรีแห่งอินเดีย ได้เฉลิมฉลองพุทธชยัน ตี (วิสาขบูชา) โดยเชิญชวนประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั่วโลก มาสร้างวัดไว้ในดินแดนพุทธภูมิ ประเทศไทยโดยการนำ ของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้ตอบรับและดำ เนินการสร้างวัดชื่อว่า วัดไทย พุทธคยา



       ดงคสิริ
ดงคสิริเป็นสถานที่ ที่พระมหาบุรุษทรงบำ เพ็ญทุกกรกิริยา ห่างจากเจดีย์ พุทธคยาประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นภูเขาลูกใหญ่ มีถ้ำ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางบำ เพ็ญทุกรกิริยา บริเวณบรรยากาศ เงียบสงบบนเชิงเขาได้มีวัดธิเบตมาสร้างไว้ หลักการบำ เพ็ญทุกกรกิริยา คือทรมาน

พุทธประวัติ :
ทรงสัญญากับพระเจ้าพิมพิสาร หลังจากบรรพชา เสด็จพักแรม ณ อนุปิยอัมพวัน แคว้นมัลละ เป็นเวลา ๗ วัน จากนั้นเสด็จไปยังแคว้นมคธ ประทับที่ภูเขาปัณฑวะ พระพุทธเจ้าก่อนยังไม่ได้ตรัสรู้จะเรียกว่า พระมหาบุรุษ พระเจ้าพิมพิสาร ทราบข่าวจึงเสด็จไปยังภูเขาปัณฑวะ ชักชวนพระมหาบุรุษให้มาครอง ราชสมบัติด้วยกัน พระมหาบุรุษทรงปฏิเสธ พระเจ้าพิมพิสารทูล ขอปฏิญญาว่า “ถ้าตรัสรู้แล้ว ขอให้เสด็จมาเทศนาโปรดข้าพระองค์ด้วย” พระมหาบุรุษรับปฏิญญาทุกประการ ทรงศึกษาในสำ นักอาฬารดาบส และอุทกดาบส ทรงศึกษาในสำ นักอาฬารดาบส กาลามโคตร ได้สมาบัติ ๗ และ อุทกดาบส รามบุตร ได้สมาบัติ ๘ (รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔) เมื่อไม่ใช่ หนทางตรัสรู้จึงลาจากอาจารย์

บำเพ็ญทุกกรกิริยา
พอถึงตำ บลอุรุเวลาเสนานิคม บำ เพ็ญทุกกรกิริยาคือการทรมาน ร่างกาย ๓ วาระ
๑. กัดฟันด้วยฟัน เอาลิ้นกดเพดาน จนเหงื่อไหลออกทางรักแร้
๒. กลั้นลมหายใจเข้าออก จนเสียงดังอื้อในหู ทำ ให้ปวดศีรษะ เสียดท้อง ร้อนในพระวรกาย
๓. ฉันทีละน้อย จนอดอาหารในที่สุด พระวรกายซูบผอม กระดูกปรากฏทั่วกาย เมื่อลูบขนหลุดร่วง

       พิณ ๓ สาย
ท้าวสักกเทวราชทราบความดำ ริ จึงดีดพิณให้ฟัง มี ๓ สาย
สายที่ ๑ ตึงเกินไป พอดีดก็ขาด
สายที่ ๒ หย่อน พอดีดไม่เกิดเสียง
สายที่ ๓ ไม่ตึง ไม่หย่อน พอดีดเสียงไพเราะจับใจ
ทรงพิจารณาการบำเพ็ญทุกกรกิริยาเปรียบกับเสียงพิณ

       เกิดอุปมา ๓ ข้อ
ครั้งนั้นอุปมา ๓ ข้อปรากฏแก่พระองค์ คือ ๑. สมณพราหมณ์เหล่าใด มีกายและใจยังไม่หลีกออก จากกาม พอใจ รักใคร่ในกาม ใจยังไม่สงบระงับ แม้จะบำ เพ็ญเพียร จนได้รับทุกขเวทนาอย่างหนัก หรือมิได้รับก็ตาม ก็ไม่อาจจะตรัสรู้ได้ เหมือนไม้สดที่แช่น้ำ ยากที่จะสีให้เกิดไฟได้
๒. สมณพราหมณ์เหล่าใด มีกายหลีกออกจากกาม แต่ยังพอใจ
รักใคร่ในกาม ใจยังไม่สงบระงับ แม้จะบำ เพ็ญเพียรจนได้รับทุกขเวทนา อย่างหนัก หรือมิได้รับก็ตาม ก็ไม่อาจจะตรัสรู้ได้ เหมือนไม้สดที่อยู่ บนบก ยากที่จะสีให้เกิดไฟได้
๓. สมณพราหมณ์เหล่าใด มีกายหลีกออกจากกาม ละความ พอใจ รักใคร่ในกาม ใจสงบระงับ แม้จะบำ เพ็ญเพียรจนได้รับทุกขเวทนา อย่างหนัก หรือมิได้รับก็ตาม ย่อมตรัสรู้ได้ เหมือนไม้แห้งที่อยู่บนบก ย่อมสีให้เกิดไฟได้
เมื่อมิใช่ทางตรัสรู้ จึงละทิ้งการบำ เพ็ญทุกกรกิริยา เพื่อบำ เพ็ญ ทางใจ และกลับเสวยพระกระยาหารใหม่
ปัญจวัคคีย์ ๕ คือ โกณทัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ เฝ้ารับใช้พระมหาบุรุษ หวังจะได้บรรลุธรรมตามพระองค์ พอเห็นพระมหาบุรุษฉันอาหารพากันคิดว่า “พระมหาบุรุษละจากความ เพียรเวียนมาเป็นผู้มักมาก” พากันหนีละทิ้งพระองค์ไปอยู่ป่าอิสิปตน มฤคทายวัน เมืองพาราณสี


       สุชาดาสถูป
สมัยก่อนคนไทยก็จะมาดูเนินดินบ้านนางสุชาดา ต่อมาทางการ ได้ขุดค้นพบสถูปก็เลยทำ การบูรณะให้ดีกว่าเดิม นางสุชาดาคือ ผู้ถวาย ข้าวมธุปายาสแก่พระมหาบุรุษ ก่อนการตรัสรู้ ทานที่นางได้ถวายมีผล อย่างมาก นางเป็นลูกสาวของเศรษฐีในตำ บลอุรุเวลา ได้บนบานที่ ต้นไทรไว้คือ
๑. ขอให้ได้สามีที่ตระกูลเสมอกับตน
๒. ขอให้ลูกคนแรกเป็นชาย
บัดนี้ความปรารถนาของนางสำ เร็จจึงใคร่แก้บนด้วยการถวาย ข้าวมธุปายาส ปัจจุบัน บ้านนางสุชาดาเป็นสถูปก่อด้วยอิฐมีต้นโพธิ์ ผุดขึ้นตรงกลางพระสถูป


พุทธประวัติ :
นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส
ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ นางสุชาดา ธิดา เศรษฐี แห่งอุรุเวลาเสนานิคม จะทำ การบวงสรวง (แก้บน) เทวดาว่า
๑. ขอให้ได้สามีตระกูลเสมอตน
๒. ขอให้บุตรคนแรกเป็นชาย
บัดนี้ความปรารถนาสำ เร็จทุกประการ สั่งให้นางทาสีไปทำ ความ สะอาดบริเวณใต้ต้นไทร ได้เห็นพระมหาบุรุษ สำ คัญว่าเป็นเทวดา จึงรีบ มาแจ้งให้กับนางสุชาดาทราบ นางจึงนำ ถาดข้าวมธุปายาสไปยังต้นไทร จึงน้อมถวาย พระองค์ทรงรับด้วยพระหัตถ์ แล้วทรงปั้นได้ ๔๙ ก้อน เสวยจนหมด ถือถาดทองคำ มุ่งหน้าสู่แม่น้ำ เนรัญชรา


       ท่าสุปปติฏฐะ
ท่าสุปปติฏฐะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ เนรัญชรา อยู่ตรงข้ามพระเจดีย์- มหาโพธิ เชื่อกันว่าพระมหาบุรุษได้อธิษฐานลอยถาดทอง

พุทธประวัติ :
ถือถาดทองคำ มุ่งหน้าสู่แม่น้ำ เนรัญชรา ทรงอธิษฐานว่า “ถ้าจะ ได้ตรัสรู้ ขอให้ถาดนี้ จงลอยทวนกระแสน้ำ ” ด้วยอำ นาจแห่งโพธิญาณ ถาดทองคำ ได้ลอยทวนกระแสน้ำ ไปไกล ๘๐ ศอก แล้ว จมลงสู่นาคพิภพ ซึ่งเป็นที่อยู่ของกาฬพญานาค ทรงมั่นพระทัยว่าจะได้ตรัสรู้จึงทรงสนาน พระวรกาย พักผ่อนจนถึงเวลาเย็น โสตถิยพราหมณ์ถวายหญ้ากุสะ ในระหว่างทางพระมหาบุรุษทรงรับหญ้ากุสะจากโสตถิยพราหมณ์ ๘ กำ มือ ที่ได้น้อมถวายด้วยความศรัทธา

       กาฬพญานาค
ปัจจุบันมีต้นโพธิ์ใหญ่ และบริเวณใกล้เคียงมีเทวลัยของฮินดู ตั้งอยู่ พระมหาบุรุษทรงลอยถาดและทรงอธิษฐานว่า ถ้าจะได้สำ เร็จ เป็นพระพุทธเจ้า ขอให้ถาดจงลอย ทวนกระแสน้ำขึ้นไปไกลถึง ๘๐ ศอก ไปจนถึงวังน้ำ วนแห่งหนึ่ง ถาดนั้นจึงจมดิ่งหายไปจนถึงพิภพของ กาฬ นาคราช กระทบกับถาดสามใบของพระพุทธเจ้าในอดีตสามพระองค์ เสียงดังกริ๊ก พระพุทธเจ้าในอดีตสามพระองค์นั้นคือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมน์ และพระกัสสปะ พระมหาบุรุษกำ ลังจะเป็นองค์ที่ ๔ กาฬนาคราชหลับมาตั่งแต่สมัยพระพุทธเจ้าในอดีต จะตื่นทุกครั้งที่ ได้ยินเสียงถาด พอได้ยินก็รู้ได้ว่าพระพุทธเจ้าองค์ใหม่เกิด ในโลกแล้ว คราวนี้ก็เหมือนกัน เมื่อได้ยินเสียงถาดของพระมหาบุรุษก็งัวเงียขึ้น แล้วงึมงำ ว่า “เมื่อวานนี้พระชินสีห์ (หมายถึงพระกัสสปพุทธเจ้า) อุบัติ ในโลกพระองค์หนึ่งแล้ว ซ้ำ บังเกิดอีกพระองค์หนึ่งเล่า” ลุกขึ้นมาไหว้ พระพุทธเจ้าเกิดใหม่ แล้วก็หลับต่อไปอีก

       แม่น้ำเนรัญชรา
แม่น้ำ เนรัญชราอยู่ห่างต้นพระศรีมหาโพธิ์ประมาณ ๒๐๐ เมตร เป็นแม่น้ำ สายสำ คัญ เพราะว่าเป็นสถานที่ลอยถาด และสรงสนาน พระวรกายพระมหาบุรุษก่อนตรัสรู้ ปัจจุบันไม่มีน้ำ มีแต่ทราย จะมีน้ำ เฉพาะในช่วงเข้าพรรษาหรือฤดูฝน ต้นน้ำ ไหลมาจากเมืองฮาซาริบัฆ มี ๒ สาย คือ เนรัญชรา และ โมหะนี มาบรรจบกัน เรียกใหม่ว่า ผัลคุ หัวหน้าชฎิลสามพี่น้อง นับถือ ลัทธิบูชาไฟ ได้อาศัยตามคุ้งแม่น้ำ เนรัญชราติดต่อกัน เนลํ ชลํ อสฺสา แปลว่า น้ำ เป็นที่ชื่นใจ, นีลชลายาติ วตฺตพฺเพ เนรญฺ ชรายาติ วตฺติ แปลว่า น้ำ ซึ่งมีสีเขียว ปัจจุบันเรียกว่า นีลาชนา, ลีลาชนา


       ต้นพระศรีมหาโพธิ์
ต้นพระศรีมหาโพธิเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในภัทรกัป นี้จะมีพระพุทธเจ้าถึง ๕ พระองค์ที่ตรัสรู้ ณ สถานที่แห่งนี้ ตรัสรู้ภายใต้ ต้นไม้ที่ต่างสายพันธ์ ต่างลักษณะ ต่างชนิด พอคนเห็นต้นไม้ที่พระองค์ ตรัสรู้จะ เรียกว่า ต้นโพธิ มาจากคำ ว่า โพธิรุกขะ = โพธิ ตรัสรู้, รุกขะ
ต้นไม้ แปลว่า ต้นไม้อันเป็นที่ตรัสรู้
พระพุทธเจ้า พระนามว่า กกุสันธะ ตรัสรู้ภายใต้ต้นสิรีสะ (ต้นซึก)
พระพุทธเจ้า พระนามว่า โกนาคมนะ ตรัสรู้ภายใต้ต้นมะเดื่อ
พระพุทธเจ้า พระนามว่า กัสสปะ ตรัสรู้ภายใต้ต้นนิโครธ (ต้นไทร)
พระพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะ ตรัสรู้ภายใต้ต้นอัสสัตถะหรือ โพธิ์พฤกษ์
พระพุทธเจ้า พระนามว่า พระศรีอาริยเมตไตรย ตรัสรู้ภายใต้ ต้นกากะทิง หรือคนไทยเรียกว่า ต้นทองพลาง

       ความแตกต่างกันแห่งโพธิ
ความแตกต่างกันแห่งโพธิพฤกษ์ คือต้นไม้ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้
พระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร มีโพธิพฤกษ์ ชื่อ กปิตนะ (มะขวิด)
พระผู้มีพระภาคเจ้าโกณฑัญญะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นสาลกัลยาณี (ขานาง)
พระมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ พระโสภิตพุทธเจ้า มีโพธิพฤกษ์ ต้นนาคะ (กากะทิง)
พระอโนมทัสสี มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอัชชุนะ (ต้นกุ่ม)
พระปทุมะ และพระนารทะ มีโพธิพฤกษ์ ชื่อ ต้นมหาโสณะ (ต้นอ้อยช้างใหญ่)
พระปทุมุตตระ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นสาละ (ต้นช้างน้าว)
พระสุเมธะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นนีปะ (ต้นกะทุ่ม)
พระสุชาตะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นเวฬุ (ต้นไผ่)
พระปิยทัสสี มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นกกุธะ (ต้นกุ่ม)
พระอัตถทัสสี มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นจัมปกะ (ต้นจำ ปา)
พระธัมมทัสสี มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นรัตตกุรวกะ (ต้นซ้องแมวแดง)
พระสิทธัตถะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นกณิการะ (กรรณิการ์)
พระติสสะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอสนะ (ต้นประดู่)
พระปุสสะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอามลกะ (มะขามป้อม)
พระวิปัสสี มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นปาฏลี (แคฝอย)
พระสิขี มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นปุณฑรีกะ (มะม่วงป่า)
พระเวสสภู มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นสาละ (สาละ)
พระกกุสันธะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นสรีสะ (ต้นซึก)
พระโกนาคมนะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอุทุมพร (มะเดื่อ)
พระกัสสป มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นนิโครธ (ต้นไทร)
พระโคตมะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอันสสัตถะ (ต้นโพธิใบ)
ในบาลีพุทธวงศ์ ข้อ ๑๖ ว่า ต้นพิมพิชาละ คือ ต้นมะกล่ำ เครือ

       ทรงตรัสรู้
นำ หญ้ากุสะไปปูลาดทำ ให้เป็นบัลลังก์ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงประทับนั่งบนบัลลังก์ แล้วทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า “ถ้ามิได้ตรัสรู้ จะไม่ลุกขึ้นจากโพธิบัลลังก์ ถึงแม้เนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปก็ตาม” พระยาวัสสวัตดีมารกลัวว่าจะล่วงอำ นาจตน ได้ยกพลเสนามารมาผจญ พระมหาบุรุษทรงระลึกถึงบารมี ๑๐ ทัศ นางวสุนธราแม่พระธรณีมาเป็น สักขีพยาน จนทำ ให้พระยามารพ่ายแพ้ไป พระองค์ทรงบรรลุญาณทั้ง ๓ คือ
ปฐมยาม บรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ทรงมีญาณ ระลึกชาติได้
มัชฌิมยาม บรรลุจุตูปปาตญาณ คือ ญาณรู้การเกิดและตาย ของสัตว์ทั้งหลายได้
ปัจฉิมยาม บรรลุอาสวักขยญาณ คือทำ หลายอาสวกิเลส ให้ หมดสิ้นไป

       สหชาติทั้ง ๗
สหชาติ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นร่วมในวันเวลาเดียวกันกับพระโพธิสัตว์ มี ๗ ประการ คือ
๑. พระนางพิมพาหรือยโสธรา
๒. พระอานนท์
๓. กาฬุทายีอำ มาตย์
๔. นายฉันนะ
๕. ม้ากัณฐกะ
๖. ต้นพระศรีมหาโพธิ์
๗. ขุมทรัพย์ทั้ง ๔ คือ สังขนิธิ เอลนิธิ อุบลนิธิ และปุณฑริกนิธิ


อายุของต้นพระศรีมหาโพธิ์
ต้นที่ ๑ เป็นต้นที่เกิดวันเดียวกันกับเจ้าชายสิทธัตถะ หรือที่ เรียกว่า สหชาติทั้ง ๗ มหิสุนทรี (พระนางติษยรักษิต) เป็นพระมเหสีของ พระเจ้าอโศกมหาราชอีกพระองค์หนึ่ง พระนางโกรธแค้นมากที่พระเจ้า อโศกรักต้นโพธิ์มากกว่านาง นางจึงสั่งให้คนนำ ยาพิษและน้ำ ร้อนมารดที่ โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ จนทำ ให้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ได้เหี่ยวเฉาและแห้ง ตายในที่สุด มีอายุประมาณ ๓๕๒ ปี
ต้นที่ ๒ พอพระเจ้าอโศกกลับมาจากว่าราชการ พระองค์เห็น ต้นพระศรีมหาโพธิเหี่ยวแห้งตายลงพระองค์ถึงกับเข่าอ่อนล้มลงหมด สติพอพระองค์ฟื้นได้สติ รับสั่งให้ล้อมกำ แพงรอบ สั่งทหารให้นำ น้ำ นม โค ๑๐๐ ตัว มารดต้นพระศรีมหาโพธิ และได้ตั้งสัตยาธิษฐานว่า “ถ้า หน่อโพธิ์ไม่แตก งอกออกมาพระองค์จะไม่เสด็จลุกขึ้น” ด้วยแรงสัจจะ อธิษฐาน ทันใดนั้นหน่อโพธิ์ได้งอกมาเป็นหน่อที่สอง มีอายุราวประมาณ ๘๗๑ - ๘๙๑ ปี
ต้นที่ ๓ พ.ศ. ๑๑๐๐ พระเจ้าศศางกา กษัตริย์จากเบงกอล ได้ยกทัพมาที่พุทธคยา เห็นผู้คนไปกราบไหว้ต้นโพธิ์ เกิดความไม่ชอบ ไม่พอใจจึงได้ทำ ลายวัดวาอาราม และต้นพระศรีมหาโพธิ์ถอนรากทิ้ง ใช้ไฟเผาราดด้วยน้ำ อ้อย พระเจ้าปุรณวรมากษัตริย์แห่งมคธทรง เศร้าโศกเสียพระทัยอย่างมากที่เห็นต้นโพธิล้มตาย จึงเอาแบบอย่าง พระเจ้าอโศกมหาราช จากนั้นนำ น้ำ นมจากแม่โค ๑,๐๐๐ ตัว รดต้นโพธิ์ ในไม่ช้าหน่อโพธิ์ ได้แตกหน่อออกมาเป็นต้นที่ ๓ มีอายุราวประมาณ ๑,๒๕๖ - ๑,๒๗๖ ปี
ต้นที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๒๓ เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม พุทธสถาน พุทธกิจ พุทธประวัติ 27 นักโบราณคดีชาวอังกฤษ ได้เดินมาที่พุทธคยา ได้เห็นต้นโพธิแก่ชรา มาก ได้มีชาวบ้านตัดกิ่งก้านมาทำ เป็นฟืน ต่อมาพายุพัดล้มลง ได้เห็น หน่อโพธิ์ ๒ หน่อ (สูง ๖ นิ้วและ ๔ นิ้ว ได้นำ หน่อสูง ๖ นิ้วมาปลูกลงที่ ต้นเดิม ปัจจุบันมีอายุ ๑๓๖ ปี (๒๕๕๘)



       สัตตมหาสถาน
เสวยวิมุตติสุข คือ สุขอันเกิดจากการหลุดพ้นจากอาสวะ กิเลส เป็นเวลา ๔๙ วัน สถานที่ละ ๗ วัน ๗ สัปดาห์ เรียกว่า สัตตมหาสถาน มีดังต่อไปนี้คือ
สัปดาห์ที่ ๑ ต้นพระศรีมหาโพธิ ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมและปฏิโลม ไปตามลำ ดับและทวนกลับ
สัปดาห์ที่ ๒ อนิมิสสเจดีย์อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ พระศรีมหาโพธิ ประทับยืนทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ ไม่กระ พริบตา เป็นเวลา ๗ วัน
สัปดาห์ที่ ๓ รัตนจงกรมเจดีย์ อยู่ระหว่างต้นพระศรีมหาโพธิ และอนิมิสสเจดีย์ เดินจงกรมเป็นเวลา ๗ วัน
สัปดาห์ที่ ๔ รัตนฆรเจดีย์ อยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นเรือนแก้วที่เทวดาเนรมิตสร้างไว้ พิจารณาอภิธรรมปิฎกเป็น เวลา ๗ วัน
สัปดาห์ที่ ๕ อชปาลนิโครธ (ต้นไทรเป็นที่พักของคนเลี้ยงแพะ) อยู่ทางทิศตะวันออก หุหุกชาติ ชอบตวาดผู้อื่นด้วยคำ ว่า หึหึ มาทูลถาม พระองค์ถึงธรรมที่ทำ ให้บุคคลเป็นพราหมณ์ ตรัสตอบว่า พราหมณ์ ผู้ใด มีบาปธรรมลอยเสียแล้ว ปราศจากกิเลสเครื่องย้อมจิตให้ติดแน่น ควรกล่าวได้ว่าตนเป็นพราหมณ์โดยธรรม
สัปดาห์ที่ ๖ มุจลินท์ (ต้นจิก) อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ฝนตกพรำ ตลอด พญานาคได้มาขดขนดกาย รอบพระพุทธเจ้าได้ ๗ รอบ แผ่พังพานเหนือเศียร เพื่อปกป้องลมและฝนมิให้ต้องกายพระองค์ พอฝนหยุด ยืนประนมมือเบื้องพระพักตร์ พระองค์ทรงเปล่งอุทานว่า ความสงัดเป็นความสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้ว เป็นต้น
สัปดาห์ที่ ๗ ราชายตนะ (ต้นเกตุ) อยู่ทางทิศใต้ มีพ่อค้า ๒ คน ชื่อ ตปุสสะ และภัลลิกะ เดินทางมา ได้นำ ข้าวสัตตุก้อน สัตตุผง น้อมถวาย หลังจากสนทนาทั้งสองได้ขอถึงพระพุทธ พระธรรมเป็น สรณะที่พึ่งทางใจ และกราบลากลับ พระองค์ได้มอบพระเกสาให้ ๘ เส้น


       พระแท่นวัชรอาสน์
พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างขึ้นเพื่อบูชาสถานที่บำ เพ็ญเพียร ของพระมหาบุรุษ ยาว ๗ ฟุต ๖ นิ้ว กว้าง ๑๐ นิ้ว หนา ๕ นิ้วครึ่ง สลัก เป็นรูปเพชรด้านข้างมีพระยาหงส์ และดอกมณฑารพสลับกัน พ.ศ. ๒๔๒๓ เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ได้ทำ การขุดค้น พบจมอยู่ใต้กองอิฐหนา ๒๐ ฟุต (ประมาณ ๗ เมตร)

       พระมหาเจดีย์พุทธคยา
พระมหาเจดีย์พุทธคยา มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมแหลม ทรงกรวยสูง ๑๗๐ ฟุต รอบฐาน ๗๕ ฟุต มีสองชั้น ส่วนชั้นล่างประดิษฐาน พระพุทธเมตตา ส่วนชั้นบนเป็นพุทธปฏิมา พระปางประทานพร ประมาณ พ.ศ. ๒๒๘ พระเจ้าอโศกทรงสร้างเป็นวิหารมีขนาด ไม่ใหญ่ ต่อมา พ.ศ. ๖๗๔ พระเจ้าหุวิชกะ ทรงสร้างเพิ่มเติมมีขนาด ใหญ่กว่าเดิม เป็นศิลปะที่งดงามยิ่ง หลวงจีนถังซัมจั๋ง ได้กล่าวไว้ว่า สมัยที่เดินมามีพระสงฆ์ เป็นเถรวาท อยู่อาศัยจำ นวนมาก และเรียกสถานที่นี้เรียกว่า มหาโพธิวิหาร ปัจจุบันคนอินเดียเรียกว่า Main Temple คงเป็นวัดศูนย์กลาง ของสาธุชนทั่วโลก


       พระพุทธเมตตา
พระพุทธเมตตา เป็นพุทธปฏิมาปางมารวิชัย ทำ จากหินแกรนิต สีดำแกะสลัก ปิดทองเหลืองอร่าม สร้างในสมัยปาละ อายุราว ๑,๔๐๐ ปี ในช่วงที่พระเจ้าศศางกามาทำ ลายต้นโพธิ์ ได้เห็นพระพุทธเมตตา ตอนแรกก็คิดจะทำ ลาย แต่พอเห็นพระพักตร์เอิบอิ่ม สง่างดงาม ไม่กล้าที่จะทำ ลาย และได้ยกทัพกลับ ระหว่างทางได้ฉุกคิด ถ้าไม่ทำ ลายพระพุทธรูปที่ประดิษฐานในวิหารโพธิ์ ชาวพุทธต้อง กลับมาฟื้นฟูสถานที่แห่งนี้อีก จึงมีรับสั่งให้ทหารคนหนึ่งทำ ลาย นายทหารท่านนี้ เมื่อมาเห็นพระพักตร์พระพุทธเมตตาก็ทำ ลายไม่ลง พลางคิดว่า ถ้าตนทำ ลายแล้วชีวิตคงจะตกนรกหมกไหม้เป็นแน่ จึงได้ปรึกษาประชุมกับชาวพุทธในบริเวณนี้ ได้ทำ กำ แพงกั้นไว้ กลับไปรายงานว่าได้ทำ ลายพระพุทธเมตตาเรียบร้อยแล้ว พระเจ้าศศางกะ ได้ยินได้ฟังเกิดความเดือดเนื้อร้อนใจ ทรงประชวร อย่างหนัก มีเนื้อหลุดมาจากกายเป็นชิ้นและสิ้นใจตายอย่างอนาถ ภายใน ๗ วัน นายทหารคนนี้รีบมาที่พุทธคยาทำ ลายกำ แพงกั้น ปรากฏ ว่าเกิดอัศจรรย์คือ น้ำ มันจุดบูชายังลุกไหม้เหมือนเดิมไม่ดับ

       อุรุเวลาเสนานิคม
ในอดีตสมัยเมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้น กุลบุตรหมื่นคน บวชเป็นดาบสอยู่ที่ประเทศนั้น (หมายถึงอุรุเวลา) วันหนึ่งได้ประชุมกัน ทำ กติกาวัตรไว้ ธรรมดากายกรรม วจีกรรมเป็นของปรากฏแก่ผู้อื่นได้ ฝ่ายมโนกรรมมหาปรากฏไม่ เพราะฉะนั้นผู้ใดตรึกกามวิตกหรือ พยาบาทวิตกหรือวิหิงสาวิตก คนอื่นที่โจทก์ย์นั้นย่อมไม่มี ผู้นั้นต้อง โจทย์ตนด้วยตนเองแล้ว เอาห่อแห่งใบไม้ขนทรายมาเกลี่ยในที่นี้ ด้วย ตั้งใจว่า นี่พึงเป็นทัณฑกรรม จำ เดิมแต่นั้นมาผู้ใดตรึกวิตกเช่นนั้น ผู้นั้นย่อมใช้ห่อแห่งใบไม้ ขนทรายมาเกลี่ยในที่นั้น ด้วยประการอย่างนี้ กองทรายในที่นั้นจึง ใหญ่ขึ้นโดยลำ ดับภายหลังมาประชุมกัน จึงได้แวดล้อมกองทรายในที่ นั้นทำ ให้เป็นเจดียสถาน ตั้งแต่นั้นมาชื่อแห่งนั้นจึงชื่อว่า อุรุเวลา ในสมันตปาสาทิกา อธิบายศัพท์ อุรุเวลา ไว้ว่า บทว่า อุรุเวลายํ ได้แก่ ที่แดนใหญ่ อธิบายว่า ที่กองใหญ่ หรืออีกประการหนึ่ง ทราย เรียกว่า อุรุ, เขตคั่น เรียกว่า เวลา แลพึงเห็นความในบทนี้อย่างนี้ว่า ทรายที่เขาขนมา เพราะเหตุที่ล่วงเขตคัน ชื่อว่า อุรุเวลา ลักษณะภูมิประเทศของอุรุเวลาเสนานิคม ในสมัยพุทธกาลนั้น เป็นป่าที่ร่มรื่นน่าอยู่อาศัยมีแม่น้ำ ใสไหลเย็น

       อาศรมชฎิล
โปรดชฎิล ๓ พี่น้อง
ชฎิล ๓ พี่น้อง เกิดในตระกูลกัสสปะโคตร เป็นลัทธิบูชาไฟ พี่ชาย คนใหญ่คนโตชื่ออุรุเวลกัสสปะ มีบริวาร ๕๐๐ คน น้องชายคนรองชื่อ นทีกัสสปะ มีบริวาร ๓๐๐ คน น้องชายคนเล็กชื่อคยากัสสปะ มีบริวาร ๒๐๐ คน อาศัยตามคุ้งแม่น้ำ ติดต่อตามลำ ดับ
๑. อุรุเวลกัสสปะ ตั้งอาศรมอยู่ที่พนาสัณฑ์ ตำ บลอุรุเวลา
๒. นทีกัสสปะ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ เนรัญชรา
๓. คยากัสสปะ ตั้งอยู่ที่คุ้งใต้แห่งแม่น้ำ เนรัญชรา ตำ บลคยา- สีสะประเทศ
พระบรมศาสดาได้ขอพักที่โรงไฟ ได้กำ จัดฤทธิ์เดชพระยานาค ให้สิ้นไป ชฎิลอุรุเวลกัสสปดำ ริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแท้ ถึงกับกับ (กำจัดฤทธิ์เดชพระยานาค, ให้ไฟลุกขึ้นได้, ให้พวกชฎิลดับไฟได้, เนรมิตกองไฟได้มากมาย, บันดาลไม่ให้น้ำ ไหลได้) แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา พระองค์ตรัสถึงความไม่มีแก่นสารของลัทธิ อุรุเวลกัสสปะและ บริวารพร้อม กันลอยเครื่องบริขารไปตามแม่น้ำ ส่วนน้องชายทั้งสองได้ เห็นบริขารที่ลอยตามน้ำ รีบเข้ามาหาเห็นพี่ถือเพศเป็นภิกษุ เห็นเป็นการ ประพฤติพรหมจรรย์จึงขออุปสมบท พระองค์ทรงประทานให้ พระพุทธองค์เสด็จไปยังตำ บลคยาสีสะใกล้แม่น้ำ คยาตรัสเรียก ภิกษุมาพร้อมกัน ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร คือพระสูตรที่ว่า ด้วย ของร้อน คือ
๑. อายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นของร้อน
๒. อายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธัมมารมณ์ เป็นของร้อน
๓. วิญญาณ ผัสสะ และเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอายตนะภายใน กับอายตนะภายนอกกระทบกันเป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ และร้อนเพราะการเกิด แก่เจ็บ ตาย ความเศร้าโศก คร่ำ ครวญ ความทุกข์ ความเสียใจ และความขัดเคืองใจ จบพระธรรมเทศนาได้สำ เร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด ๑,๐๐๓ รูป

       เขาพรหมโยนี (คยาสีสะประเทศ)
เขาพรหมโยนี (คยาสีสประเทศ) สถานที่แสดงอาทิตตปริยาย สูตรโปรดชฎิล ๓ พี่น้อง และเป็นที่ตั้งสำ นักของพระเทวทัตเมื่อครั้งแยก ตัวออกจากพระพุทธเจ้า ที่ได้ชื่อว่า พรหมโยนี เพราะมีก้อนหินทับกันดูเหมือน โยนี ของพระพรหม ปัจจุบันเป็นศาสนสถานสำ คัญของชาวฮินดู ซึ่งอยู่ใกล้ กับตัวเมืองคยา เดิมเรียกว่า คยาสีสะ หรือเรียก คชาสีสะ แปลว่า หัวช้าง ลักษณะเขาคล้ายกับหัวช้าง สมณะจีนเฮี่ยงจัง ได้บันทึกไว้ว่า ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ ภูเขานี้ ท่านได้เห็นสถูปที่เขาได้สร้างอุทิศให้แก่พระกัสสปสามพี่น้อง




       วัดพุทธนานาชาติ
จากการที่รัฐบาลอินเดียได้เชิญชวนประเทศชาวพุทธมาสร้าง ยังแดนพุทธภูมิ ทำ ให้ปรากฏมีวัดนานาชาติทั่วอาณาบริเวณพุทธคยา แต่ละประเทศได้แสดงศิลปะการก่อสร้างเอกลักษณ์ของตนเองได้อย่าง งดงามตระการตา วัดนานาชาติได้แก่ วัดญี่ปุ่น วัดธิเบต วัดภูฏาน ไทย ลาว พม่า กัมพูชา ศรีลังกา จีน ฯลฯ

       พุทธคยามหาสังฆาราม
เมือง...บำ เพ็ญทุกรกิริยา เมือง...ตำ รามธุปายาส
เมือง...ลอยถาดอธิษฐาน เมือง...ศาสดาจารย์ตรัสรู้
เมือง..บรมครูชนะมาร เมือง...อธิษฐานแล้วสำ เร็จ
เมือง...๗ สถานอันศักดิ์สิทธิ์ เมือง...สถิตพุทธเมตตา
เมือง...ภาวนาใต้โพธิ์ศรี เมือง...มหาเจดีย์สูงเสียดฟ้า
เมือง...ลอยชฎาสามฤาษี เมือง...พรหมโยนีน่าศึกษา
เมือง...เนรัญชรานทีทราย เมือง...น้อมใจ - กายแนบพระธรรม
เมือง...เวรกรรมยํ้าชาดก เมือง...สวรรค์บนบก – นรกบนดิน ฯ

ที่มา.. หนังสือคู่มือพระธรรมวิทยากร


       ประวัติศาสตร์พุทธคยา

ท่านพุทธโฆษาจารย์ ได้เล่าว่า ท่านเป็นศิษย์ของพระเรวตะแห่งพุทธค ยามหาสังฆารามได้เดินทางไปแปลพระคัมภีร์พระไตรปิฎกจากภาษาสิงหล กลับ มาเป็นภาษามคธที่เกาะลังกา พุทธคยาเป็นเขตอิทธิพลของพวกฮินดูคยาเกษตรใช้เป็นที่บูชาถวายบิณฑ์ ๑ ใน ๑๖ แห่ง เมืองพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ที่นี่จึงเรียกพุทธคยา ปัจจุบัน เป็นสถานที่อันยิ่งใหญ่มีนักแสวงบุญจากทั่วโลกมาไหว้พระสวด มนต์ตลอดทั้งปี หลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้วจึงได้เสวยวิมุติสุขอยู่ ๗ สัปดาห์ แล้ว เสด็จไปเมืองพาราณสี เมื่อมีสาวกมากขึ้นพระพุทธองค์จึงได้ส่งพระสาวกไป ประกาศพระศาสนา ครั้นนั้นพระพุทธองค์ได้เสด็จกลับมาเพื่อโปรดชฎิลสามพี่น้อง พร้อมบริวารจนสำ เร็จเป็นพระอรหันต์ จากนั้นพระองค์ก็บำ เพ็ญพุทธกิจยังแคว้น ต่าง ๆ จนเข้าสู่การปรินิพพาน -พ.ศ. ๒๒๘ – ๒๔๐ พระเจ้าอโศกได้เสด็จมาสักการะ ณ สถานที่ตรัสรู้ ได้สร้างพระสถูปขนาดย่อม ๆ เพื่อบูชา และ ปักเสาศิลาไว้เป็นเครื่องหมายสร้าง พระแทนวัชรอาสนี้ รั้วทำ ด้วยหินล้อมรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์ ฯลฯ
- พ.ศ. ๖๗๔ – ๖๙๔ พระเจ้าหุวิชกะ ทรงสร้างเสริมให้เป็นศิลปะต้นแบบ เป็นสถูปใหญ่ หลวงจีนถังซัมจั๋ง เรียกว่า “ มหาโพธิ์วิหาร ” เป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมแหลม ทรงกรวย ห่างจากต้นโพธิ์ ๒ เมตรมีพระแท่น วัชรอาสน์คั่นกลาง ขนาดสูง ๑๗๐ ฟุต วัดรอบฐานขนาด ๘๕ ฟุตเศษมี ๒ ชั้น มี เจดีย์บริวารอีก ๔ องค์ ทรงเดียวกันอยู่บนฐานชั้นที่ ๒ สูง ๔๕ ฟุต ส่วน ชั้นล่าง นั้นประดิษฐานพระพุทธเมตตา “ ปางมารวิชัย ” สร้างจากหินแกรนิตสีดำ สมัย ของราชวงศ์ปาละอายุประมาณ ๑๔๐๐ ปีเศษ ชั้นบนประดิษฐานพระพุทธปฏิมา ปาง “ปางประทานพร ” สร้างในสมัยเดียวกัน
-พ.ศ. ๙๔๕ – ๙๕๐ หลวงจีนฟานเหียนเดินทางมาสักการะสถานที่ตรัสรู้ และได้พรรณาถึงความงดงามของพระมหาเจดีย์พุทธคยา เห็นพระสงฆ์เถาวาทและ พุทธศาสนิกชนมาสักการะกันอย่างมิขาดสาย
- พ.ศ.๑๑๔๕ กษัตริย์รัฐเบงกอลนามสสางกา ได้ประกาศอิสระจากมคธ ยกทัพมาทำ ลายพุทธสถานอย่างย่อยยับ
-พ.ศ.๑๑๔๕ กษัตริย์ปูรณวรมาตีทัพเบงกอลแตกแล้วทำ การบูรณะ ซ่อมแซม
-พ.ศ. ๑๔๙๑ อมรเทวพราหมณ์ ปุโรหิตของพระเจ้าวิกรมาทิตย์แห่งเมือง มัลวาบอกไว้ในหนังสืออมรโฆษว่าออกแบบวิหารโพธิ์ใหม่ให้เป็นอย่างที่เห็นใน ปัจจุบัน
-พ.ศ. ๑๕๗๘ พม่าส่งคณะช่าง นำ โดย ธรรมราชครูเพื่อบูรณะแต่เกิดข้อ พิพาทกันกับอินเดีย พม่าเลยต้องหยุดการซ่อมแซม
-พ.ศ. ๑๖๒๒ พม่าส่งช่างชุดที่ ๒ มาฟื้นฟูบูรณะใช้เวลา ๗ ปีเสร็จเมื่อ ๑๘ ตุลาคม ๑๖๒๙ พุทธคยามีชีวิตกลับมาอีกครั้งหนึ่ง -พ.ศ. ๑๗๔๓ พระธัมมรักขิต รับทุนจากพระเจ้าอโศกมัลละแห่งแคว้นสิ วะสิกะอินเดีย มาปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมให้ดียิ่งขึ้น
-พ.ศ. ๑๗๖๐ อิสลามกองทัพเติร์กยึดครองมคธรัฐทำ ลายล้างพุทธสถาน ทั้งหมด พร้อมยกพุทธคยานี้ให้อยู่ในการดูและของฮินดูนิกายมหันต์ โดยอ้าง เมื่อ พ.ศ. ๑๗๒๗ จักรพรรดิ โมกุลนามมูฮัมหมัดซาห์ ได้มอบพุทธคยาทั้งหมดเป็น สมบัติของมหันต์องค์ที่สี่ชื่อว่า “ ลาลคีรี ” จากนั้นพุทธคยาก็ถูกทอดทิ้งหลายร้อย ปีไม่มีการบูรณะมีชาวพุทธมาสักการะเพียงเล็กน้อย
-พ.ศ. ๒๑๓๓ พุทธคยามหาสังฆาราม ถูกมุสลิมคุกคามถูกพวกพราหมณ์ รังแกในที่สุดหลุดจากมือชาวพุทธอย่างเด็ดขาดตกอยู่ในความคุ้มครองของนักบวช มหันต์นิกายทัสนามิ สันยาสีที่ชื่อโคสายฆมันดีร์คีรี
-พ.ศ. ๒๑๓๕ อังกฤษยึดครองอินเดีย
-พ.ศ. ๒๓๕๔ พระเจ้าแผ่นดินพม่าเสด็จมาเห็นได้ส่งทูตมาเจรจาขอบูรณะ ตามบันทึกดร. บุคานัน แฮมินตัน บอกว่าพุทธคยาอยู่ในสภาพย่อยยับไม่ได้รับการ ดูแล
-พ.ศ. ๒๔๑๗ พระเจ้ามินดงเจรจาผ่านรัฐบาลอินเดียซึ่งเป็นของอังกฤษ แล้ว อังกฤษส่งคนมาช่วย ๒ นายเพื่อกำ กับคือ “ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม กับ ดร. ราเชนทร ลาลมิตระ ”
- พ.ศ. ๒๔๑๙ พม่าเกิดสงครามกับอังกฤษงานบูรณะจึงต้องหยุด
- พ.ศ. ๒๔๒๓ เซอร์อเล็กซานเดอร์ , ดร.ราเชนทร , เซอร์อีแดนแต่งตั้ง
ให้นาย เจ ดี เบคลาร์ ทำ การปฏิสังขรณ์ เสร็จ ในปีพ.ศ. ๒๔๒๗ ( ๔ ปี ) -พ.ศ. ๒๔๓๓ ท่านเซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์ ฝรั่งอังกฤษชาวพุทธได้เขียน หนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า “ The Light of Asia ”
-พ.ศ. ๒๔๓๔ อนาคาริกะ ธัมมปาละ ชาวศรีลังกามากราบพุทธคยาเกิด ศรัทธาปรารถนา เรียกร้องสิทธิของความเป็นเจ้าของพุทธคยา ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ ได้ประชุมชาวพุทธสากลที่พุทธคยามีพม่า, ลังกา , จีน, ญี่ปุ่น แล้วญี่ปุ่น พุทธสถาน พุทธกิจ พุทธประวัติ 35 ได้ประกาศว่าจะหาเงินมาซื้อพุทธคยาคืน อังกฤษระแวงญี่ปุ่นเพราะเพิ่งรบชนะ รัสเซียจึงไม่ยอมให้ครอบครอง จึงเกิดขบวนกอบกู้พุทธคยา (แม็กมึน, เอ็ดวิน ฯ, วิลเลี่ยม พ.อ. โอลคอตต์ ) ออกปราศัยที่ พม่า – อังกฤษ – สิงคโปร์ – ไทย – ลังกา หาผู้สนับสนุน
-พ.ศ. ๒๔๓๖ อนาคาริกะ ธัมมปาล กลับมาพุทธคยาพร้อมกับโอลคอตต์ และ MR. เอดซ์ นักเทววิทยา ได้เห็นพระ ๔ รูป ถูกพวกมหันต์ทุบตีเกือบตายซํ้า ร้ายเขายังกีดกันมิให้พวกธรรมยาตราเข้าสักการะพุทธคยา
-พ.ศ. ๒๔๓๘ ชาวพุทธขอนำ พระพุทธรูปอายุ ๗๐๐ ปี เข้าไปประดิษฐาน แต่พวกมหันต์ก็ไม่เห็นด้วยอ้างว่า “ พระพุทธเจ้าเป็นเพียงอวตารปางที่ ๙ ของพระ นารายณ์”
-พ.ศ. ๒๔๔๕ มีความเคลื่อนไหวทั่วโลก โดย เอดวินอาร์โนล , ดร. ริด เดวิด, ศ. แม็กมึลเลอร์ ชาวพุทธเริ่มมีพลัง พวกมหันต์เพิ่มความรังเกียจชาวพุทธ มากขึ้น
-พ.ศ. ๒๔๖๗ ชาวพุทธพม่า , ลังกา , เนปาล , ร้องเรียนรัฐบาล พรรคคองเกรสส์ตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นพิจารณา โดยมี ดร. ราเชนทร์ ประสาท (ประธานาธิบดีเป็นประธาน ) ตั้งกรรมกาชาวพุทธ ๕ คน คือ ฮินดู ๕ คน ดูแล พุทธคยา โดยออกกฎหมายบังคับ ความเห็นของ “ มหาตมคานธี ” คือ วิหารพุทธคยานี้ควรเป็นสมบัติของ ชาวพุทธโดยชอบธรรมการนำ สัตว์ไปฆ่าทำ พลีกรรมในวิหารมหาโพธิ์ ไม่สมควร เพราะล่วงละเมิดต่อสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธศาสนา เป็นการประทุษร้ายต่อ จิตใจของชาวพุทธทั่วไป ความเห็นของ ระพินทรนาถฐากูร คือ ที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตต รสัมมาสัมโพธิญาณนี้จะตกอยู่ในความดูแลของศาสนาอื่นไม่ได้ เพราะศาสนาอื่น ไม่เกี่ยวข้องอะไรและไม่มีเยื่อใยอะไรต่อพระพุทธศาสนา
- พ.ศ. ๒๔๙๐ อินเดียเป็นเอกราชจากอังกฤษ มหาโพธิ์สมาคมรบเร้า สิทธิพุทธคยา ใน พ.ศ. ๒๔๙๑ ดร. ศรีกฤษณะ ซิงห์ นายกรัฐมนตรีพิหาร ได้เสนอ ให้ร่างรัฐบัญญัติวิหารพุทธคยา
-พ.ศ. ๒๔๙๒ เดือนพฤษภาคม จัดตั้งคณะกรรมการดูแล ๙ คน มีผู้ว่า จังหวัดคยาเป็นประธาน กรรมการ ๘ คน และ ชาวพุทธ ๔ คน ฮินดู ๔ คน
-พ.ศ. ๒๔๙๖ นายกรัฐมนตรีพม่ามาเยือน พวกมหันต์บอกว่าได้ยกพุทธ คยาให้ชาวพุทธ
-พ.ศ. ๒๕๓๐ ภิกษุไซไซ ชาวญี่ปุ่นนำชาวพุทธจากนาคปูร์ + รัฐมหารชตะ เรียกร้องให้นำ ศพมหันต์ที่ฝังไว้ และ ปัญจปาณฑปพร้อมศิวลิงค์ที่กลางวิหารออก ไปที่อื่น
-พ.ศ. ๒๔๙๙ บูรณะเล็กน้อยเพื่อฉลองพุทธคยาชยันตีพุทธศาสนาอายุ ๒๕๐๐ ปี
-พ.ศ. ๒๕๑๒ พระสุเมธาธิบดี ได้นำ พุทธบริษัทชาวไทยประดับไฟ แสงจันทร์
-พ.ศ. ๒๕๑๙ พุทธบริษัทชาวไทย สร้างกำ แพงแก้ว ๘๐ ช่อง ซุ้มประตู แบบอโศก ๒ ซุ้ม เสร็จในปี ๒๕๒๐
-พ.ศ. ๒๕๓๑ ชาวพุทธเนปาลปูหินอ่อน

ที่มา... คู่มือพระธรรมวิทยากร
บริษัทธรรมหรรษาทัวร์ แอนด์ แทรเวล จำกัด dhammahansatour 71/4 แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 (ตั้งใกล้กับสถานที่สำคัญ คือ ห้างเซ็นทรัลปิ่นเกล้า และ กระทรวงวัฒนธรรม) โทร 02-8845683-6, มือถือ/ไลน์ไอดี : 0819944790, 0614026277, 0994396677 แฟกซ์: 02-8845682 อีเมล: dhammahansa@yahoo.com เว็บไซต์ : www.dhammahansa.com
GR สอบถาม BTC บางกอกไทยเซ็นเตอร์ ไอ-อินเดียไทย วัดไทยโพธิวิหาร GR สอบถามไอ-อินเดีย กรมการท่องเที่ยว ดร.เบิร์ต ธรรมหรรษา ศูนย์อินเดีย-ไทย ธรรมหรรษาทีวี ธรรมหรรษาทัวร์ GR สอบถาม DHT
Dhammahansa Tours & Travel Co., Ltd.
71/4 Borommaratchachonnani Road,
Bangkoknoi, Bangkok, 10700 Thailand.
TEL:(+66) 02-8845683-6, FAX: 02-8845682
Mobile/Line ID : 0819944790, 0614026277, 0994396677
E-mail: dhammahansa@hotmail.com E-mail: dhammahansa@yahoo.com
www.youtube.com/dhammahansa, www.dhammahansa.com, www.dhttv.com
บริษัท ธรรมหรรษาทัวร์ แอนด์ แทรเวล จำกัด
71/4 ถนนบรมราชชนนี แขวงอรุณอมรินทร์
เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 (ข้างเซ็นทรัลปิ่นเกล้า)
โทร : 02-8845683-6, แฟกซ์ : 02-8845682
มือถือ/ไลน์ไอดี : 0819944790, 0614026277, 0994396677
อีเมล: dhammahansa@yahoo.com, เว็บไซต์ : www.dhammahansa.com, www.dhttv.com
Copyright © 2011 All Rights Reserved