ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2566-2567, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2566, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2563-64, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2564, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2563-64, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2564, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
เมนูหลัก
ประวัติบริษัท
ทะเบียน-ใบอนุญาต
แผนที่-ติดต่อสอบถาม
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย2566-67 , ทัวร์อินเดีย2566-2567, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2566, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
ส่วนงานที่เกี่ยวข้อง
BTC บริษัทในเครือ
ศูนย์อินเดีย-ไทย ITT
สมาคมการศึกษาฯ และท่องเที่ยวไทย-อินเดีย
กองทุนบุญกุศลนิธิธรรมหรรษา (ชมรม)
ธรรมหรรษาทีวี TV
ธรรมหรรษาวิทยุ
สารคดีสู่แดนพุทธภูมิ
รายการ TV ช่อง 8
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2563-64, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2564, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
ทัวร์แสวงบุญ
ทัวร์สังเวชนียสถาน
ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล
ทัวร์อินเดีย-เปนาล
โครงการบวชใต้ต้นโพธิ์
ทัวร์แคชเมียร์-หิมาลัย
ทัวร์อินเดียเที่ยวทั่วไป
เนปาล เที่ยวหิมาลัย
พม่า
ศรีลังกา
อินโดนีเซีย
ภูฏาน
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2566-2567, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2566, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
กิจกรรมพิเศษ
สร้างวัดไทยโพธิวิหารอินเดีย
โครงการปฏิบัติธรรมต้นโพธิ์
พิธีสาธยายพระไตรปิฎก
สวดมนต์ข้ามปีที่อินเดีย
คนดังไปอินเดีย
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2563-64, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2564, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
ข้อมูลแดนพุทธภูมิ สังเวชนียสถาน พุทธสถาน
ห้องสมุดพุทธภูมิศึกษา
แผนที่แดนพุทธภูมิ
พุทธคยา
ราชคฤห์-นาลันทา
ปัตนะ
ไวสาลี
เกสริยา
กุสินารา
ลุมพินี
กบิลพัสดุ์
เทวทหะ
สาวัตถี
อโยธยา
สะสาราม
พาราณสี
สารนาถ
โกสัมพี
แคว้นกุรุ (เดลี)
สาญจีสถูป
อชันตา-เอลโลร่า
สังกัสสนคร
แคว้นอวันตี
ทัชมาฮาล-อัคราฟอร์ต
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2563-64, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2564, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
ทัวร์เอเชีย
พม่า
เชียงตุง-เมืองลา
อินโดนีเซีย
เนปาล
ลาว
กัมพูชา
เวียดนาม
มาเลเซีย
สิงคโปร์
จีน
ญีปุ่น
เกาหลี
ภูฏาน
บรูไน
มัลดีฟ
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2563-64, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2564, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatour
ทัวร์เที่ยวทั่วโลก
ออสเตรเลีย
นิวซีแลนด์
อเมริกา
แคนนาดา
ออสเตรเลีย
อังกฤษ
สวิตเซอร์แลนด์
เยอรมัน
ฝรั่งเศส
อิตาลี
ยุโรปอื่นๆ
ทัวร์อินเดีย, ธรรมหรรษาทัวร์, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ทัวร์อินเดียเนปาล, ทัวร์แสวงบุญ 4 ตำบล, ทัวร์อินเดีย 2563-2564, ทัวร์อินเดีย29999บาท, ทัวร์อินเดียราคาถูก, ทัวร์อินเดียถูกดีชัวร์, ทัวร์อินเดีย 6-7 วัน, ทัวร์อินเดียเชี่ยวชาญจริง, ทัวร์อินเดียดีมีคุณภาพ, ทัวร์อินเดียโปรโมชั่น, ทัวร์อินเดียมาตรฐาน, ทัวร์อินเดีย 2564, ทัวร์อินเดียครบสูตร, Indiatour, dhammahansatou
ทัวร์ไทยในประเทศ
ทัวร์ปิดทองฝังลูกนิมิต 9 วัด
ทัวร์เขาคิชฌกูฎ-เขาสุกิม
ทัวร์ล่องเรือ
ทัวร์ถวายเทียนพรรษา 9 วัด
ทัวร์ทำบุญไหว้พระ 9 วัด
ทัวร์กินเจ
ทัวร์บั้งไฟพญานาค
ทัวร์เที่ยวเหนือ
ทัวร์เที่ยวอีสาน
ทัวร์เที่ยวใต้
ทัวร์เที่ยวภาคกลาง
ธรรมหรรษาทัวร์
free counters
< 2024 - 09 >
อาพฤ
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930     
โกสัมพี (kosambi)



       โกสัมพี (kosambi)
โกสัมพี แคว้นวังสะ
กลุ่มพระชาวแคว้นวังสะ
มี ๒ รูป พระพากุละ และพระปิณโฑลภารทวาชะ

เมืองโกสัมพี แคว้นวังสะ ในสมัยครั้งพุทธกาลมีพระเจ้าอุเทน ปกครอง พระราชโอรสของพระเจ้าปรันตปะ นครโกสัมพีเป็น เมืองหลวงแคว้นวังสะ ๑ ใน ๔ แคว้น มหาอำ นาจที่เจริญทางการ พาณิชย์ มีเส้นทางที่ติดต่อเมืองต่างๆ เช่น อุชเชนี เวทิสา สาเกต สาวัตถี กุสินารา ปาวา กบิลพัสดุ์ เวสาลี ราชคฤห์ เป็นต้น ทรงแสดงธรรมเทศนาหลายพระสูตร เช่น โกสัมพิยสูตร สันทกสูตร ชาลิยสูตร เป็นต้น

พระพุทธองค์เสด็จมาหลายครั้ง และมาประทับในพรรษาที่ ๙ สมัยพุทธกาลมีวัดอยู่ ๔ วัด คือ โฆสิตาราม กุกกุฏาราม ปาวาริการาม หรือ ปาวาริกัมพวัน และพัทริการาม

พรรษาที่ ๑๐ สงฆ์วัดโฆสิตาราม ทะเลาะกันพระพุทธองค์ จึงไปจำ พรรษาที่รักขิตวันแห่งป่าปาริไลยะ ออกพรรษาแล้วเสด็จยัง วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี หลังพุทธกาล วัดทั้ง ๔ แห่งยังเจริญรุ่งเรือง และมีพระสงฆ์อยู่จำ พรรษาจำ นวนมาก พ.ศ. ๒๒๘ - ๒๓๔ พระเจ้าอโศกได้เสด็จจาริกธรรมปักเสา อโศกไว้เป็นอนุสรณ์สร้างสถูปสูง ๒๐๐ ฟุต
พ.ศ. ๙๐๐ หลวงจีนฟานเหียนได้เดินทางมาบันทึก เมืองวัด ยังมีผู้คนมีคนอยู่อาศัย “ ทำ การค้าขาย ”
พ.ศ. ๑๓๐๐ หลวงจีนถังซัมจั๋ง มีการบันทึกไว้ในจดหมายเหตุว่า “มหานครแห่งนี้” กว้างยาวรวม ประมาณ ๖๐๐๐ ลี้ (ตาราง ) เมือง หลวง กว้างยาวรวม ๓๐ ตารางลี้ (๑ ลี้ = ๑๐ เส้น ) มีการเกษตร เพาะปลูกอย่างอุดมสมบูรณ์ ผู้คนขยันหมั่นเพียรศึกษา มีความเลื่อมใส ศรัทธาในพระพุทธศาสนา มุ่งหน้าทำ ความดีมีวัดอยู่ประมาณ ๑๐ แห่ง พระเถรวาท ๓๐๐ รูป เทวาลัย ๕๐ แห่ง
พ.ศ. ๑๕๖๘ กองทัพอิสลามจากอัฟกานิสถาน เข้ามาทำ ลาย เมืองโกสัมพีและวัดวาอารามอย่างย่อยยับอัปปาง
พ.ศ. ๒๓๗๔ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ได้เริ่มขุดค้นพบซาก เมืองโบราณและวัดวาอารามทั้งหลาย
ปัจจุบันโกสัมพี เหลือไว้แต่ซากปรักหักพัง กองอิฐหินจาก การพังทลายของปราสาทราชมณเฑียร เหมือนเมืองร้างทั้งหลาย มีหมู่บ้านเล็กๆ ชื่อว่า โกสัมพี อยู่ริมน้ำ ยมุนา มีซากกำ แพงเมือง มีซาก วัดวาอาราม แม้แต่เขตพระราชฐานชาวบ้านยังยึดทำ การเกษตร

เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช
พระเจ้าอโศกมหาราชเสด็จมาโปรดให้สร้างเสาหิน อยู่ในบริเวณ วัดโฆสิตาราม บนยอดได้หักลงมา จนไม่สามารถรู้ว่าเป็นรูปลักษณะใด ปัจจุบันได้นำ มาฝังไว้ในบริเวณเดิม

โฆสิตาราม
โฆสิตาราม เป็นวัดที่ท่านโฆสิตะเศรษฐีสร้างถวายพระพุทธเจ้า และภิกษุสงฆ์ พระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาจำ นวนหลายครั้ง ณ วัด แห่งนี้ พระเจ้าอโศกมหาราชปักหลักเสาหิน เพื่อให้แสดงว่าบริเวณตรง นี้มีความสำ คัญ เพื่อให้อนุชนรุนหลังย้อนระลึกเหตุการณ์ในอดีต

กุกกุฏาราม
กุกกุฏาราม อยู่ไม่ห่างไกลจากวัดโฆสิตาราม กุกกุฏาราม เป็น อารามที่ท่านกุกกุฏ สร้างถวายพระพุทธองค์ ในพรรษาที่ ๙ และได้ รับการบูรณะบ่อยครั้งมาก ปัจจุบันเหลือแต่ซากปรักหักพัง

กำ แพงเมือง

กำ แพงเมืองโกสัมพีสร้างโดยกษัตริย์หลายพระองค์ ก่อนสมัย พระเจ้าอุเทน และในสมัยของพระองค์ได้ทำ การเสริมเพิ่มเติม เพื่อ ความแข็งแกร่ง ปัจจุบันยังปรากฏเด่นชัด แม้จะถูกกาลเวลาทำ ลายไป ก็ตาม

ประวัติพระพากุลเถระ
พระพากุละ เกิดในวรรณะแพศย์ ตระกูลคหบดี ในเมืองโกสัมพี ที่ได้ชื่อว่า “พากุละ” เพราะ ๒ ตระกูลช่วยกันเลี้ยงดู (พา = สอง, กุละ = ตระกูล)
เมื่อท่านคลอดออกจากครรภ์ของมารดาได้ ๕ วัน บิดามารดา รวมทั้งวงศาคณาญาต นำ เด็กที่เกิดใหม่ไปอาบน้ำ ในแม่น้ำ คงคา แล้ว จะทำ ให้เป็นคนไม่มีโรคเบียดเบียนและมีอายุยืนยาว พี่เลี้ยงนางนมทั้ง หลายจึงได้นำ ท่านไปอาบน้ำ ในแม่น้ำ คงคา ขณะที่พี่เลี้ยงกำ ลังอาบน้ำ ให้ท่านอยู่นั้น มีปลาใหญ่ตัวหนึ่งแหวกว่ายมาตามกระแสน้ำ
เมื่อมันเห็นท่านแล้วคิดว่าเป็นก้อนเนื้อ จึงฮุบท่านไปเป็นอาหาร แล้วกลืนลงท้อง อาจเป็นเพราะท่านมีบุญญานุภาพมาก แม้จะถูกอยู่ใน ท้องของปลาก็มิได้รับความทุกข์ร้อนแต่ประการใด เป็นเสมือนว่านอน อยู่ในสถานที่อันสุขสบาย ส่วนปลานั้นก็ไม่สามารถจะย่อยอาหารชิ้น นั้นได้ จึงมีอาการเร่าร้อนทุรนทุราย กระเสือกกระสนแหวกว่ายไปตาม กระแสน้ำ จนถูกชาวประมงจับได้และขาดใจตายในเวลาต่อมา ชาวประมงจึงพร้อมใจกันนำ ออกเร่ขาย ภริยาเศรษฐีเมือง พาราณสีผ่านมาพบ จึงได้ซื้อปลานั้นไว้ จัดการชำแหละท้องปลาแล้วสิ่ง ที่ปรากฏแก่สายตาของทุกคนก็คือ เด็กทารกที่ยังมีชีวิตอยู่ ภริยาเศรษฐี ดีใจสุดประมาณ
ข่าวการที่เศรษฐีในเมืองพาราณสีได้เด็กจากท้องปลา แพร่สะพัด ไปทั่วอย่างรวดเร็วฝ่ายมารดาบิดาที่แท้จริงของเด็กนั้นอยู่ที่เมืองโกสัมพี ได้ทราบข่าวนั้นแล้ว จึงรีบเดินทางมาพบเศรษฐีเมืองพาราณสีทันที ได้ สอบถามเรื่องราวโดยตลอดแล้ว จึงกล่าวว่า “นั่นคือบุตรของเรา” พร้อม กับชี้แจงแสดงหลักฐานเล่าเรื่องราวความเป็นมาโดยละเอียด แล้วเจรจา ขอเด็กนั้นคืน ฝ่ายเศรษฐีเมืองพาราณสี แม้จะทราบความจริงนั้นแล้วก็ ไม่ยอมให้คืน เพราะถือว่าตนก็ได้มาด้วยความชอบธรรม อีกทั้งมีความ รักความผูกพันในตัวเด็ก ซึ่งเปรียบเสมือนลูกที่แท้จริงของตน ทั้งสองฝ่าย ไม่สามารถตกลงกันได้ จึงพากันไปกราบทูลพระเจ้าพาราณสีเพื่อให้ทรงช่วยตัดสินคดี ทรงพิจารณาวินิจฉัยให้ความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย ด้วยการตัดสินให้ ทั้งสองตระกูลมีสิทธิ์ในตัวเด็กทารกนั้นเท่าเทียมกัน ให้ทั้งสองฝ่ายผลัด กันเลี้ยงดู เพราะท่านเจริญเติบโตในตระกูลเศรษฐีทั้งสองตระกูลละ ครึ่งปี ท่านมีชีวิตที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขตามวิถีชีวิตฆราวาส ด้วย ความอุปถัมภ์บำ รุงของตระกูลทั้งสองนั้น จวบจนอายุถึง ๘๐ ปี ุพากุละพร้อมด้วยบริวาร ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าและรับฟังพระธรรม เทศนาเกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงกราบทูลของบรรพชาอุปสมบท ท่านอุตสาห์ ทำ ความเพียรอยู่ ๗ วัน ก็ได้สำ เร็จเป็นพระอรหันต์ และท่านเป็นผู้ปฏิบัติเคร่งครัดในธุดงค์ ข้อ “เนสัชชิกธุดงค์” คือ การสมาทานธุดงค์ด้วยการอยู่ในอิริยาบท ๓ คือ ยืน เดิน และนั่งเท่านั้น ไม่นอน และข้อ “อรัญญิกธุดงค์” คือ การสมาทานธุดงค์ด้วยการอยู่ป่า เป็นวัตร ดังจะเป็นได้ว่า ตั้งแต่ท่านบวชมานั้น ท่านไม่เคยจำ พรรษาใน บ้านเลย นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้ที่ไม่มีโรคเบียดเบียน ไม่เคยฉันแม้แต่ ผลสมออันเป็นยาสมุนไพรแม้แต่เพียงผลเดียว เพราะว่าท่านไม่มีโรคใด ๆ เลยนั่นเอง ทั้งนี้เป็นเพราะด้วย อานิสงส์แห่งการสร้างเว็จกุฎี (ส้วม) แลการถวายยาเป็นทานแก่ พระสงฆ์ เหตุการณ์ที่แสดงว่าท่านเป็นผู้อายุยืนยาวนั้น ได้มีเรื่องกล่าว ไว้ใน กุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตรแห่งคัมภีร์มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ว่า..... ครั้งหนึ่ง เมื่อพระพากุลเถระ พักอาศัยยู่ที่เวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์ ขณะนั้น มีอเจลกะท่านหนึ่ง ชื่อว่า กัสสปะ (อเจลกะ คือ นักบวชประเภทหนึ่งที่ไม่สวมเสื้อผ้า ซึ่งเรียกว่าชีเปลือย) ซึ่งเป็นเพื่อน เก่าของท่าน เมื่อสมัยที่ยังเป็นคฤหัสถ์ ได้มาเยี่ยมเยือนและได้สนทนา ไต่ถามพระเถระว่า
“ท่านพากุละ ท่านบวชมาได้กี่ปีแล้ว”
“กัสสปะ อาตมาบวชมาได้ ๘๐ ปีแล้ว”
“ท่านพากุละ ตลอดระยะเวลา ๘๐ ปี ที่ท่านบวชมานั้น ท่านมี ความเกี่ยวข้องกับโลกิยธรรมกี่ครั้ง”
“ท่านกัสสปะ อันที่จริงท่านควรถามอาตมาว่า ตลอดระยะเวลา ๘๐ ปีนั้น กามสัญญาคือ ความใฝ่ใจในทางกามารมณ์เกิดขึ้นแก่ท่านกี่ หนแล้ว กัสสปะ ตั้งแต่อาตมาบวชมาได้ ๘๐ ปีแล้วนี้ อาตมามีความรู้สึก ว่า กามสัญญาที่ว่านั้นไม่เกิดขึ้นแก่อาตมาเลย”
อเจลกกัสสปะ ได้ฟังคำ ของพระเถระแล้วกล่าวว่า “เรื่องนี้ น่า อัศจรรย์ จริง ๆ” และได้สนทนาไต่ถามในข้อธรรมต่าง ๆ จากพระเถระ จนหมดสิ้นข้อสงสัยแล้ว ในที่สุดก็เกิดศรัทธา ขอบวชในพระพุทธศาสนา และได้สำ เร็จเป็นพระอรหันต์อีกรูปหนึ่งด้วยความที่ท่าน เป็นผู้ไม่มีโรค ภัยเบียดเบียนเป็นเหตุให้ท่านมีอายุยืนยาวดังกล่าวมานี้
พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำ แหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทาง ผู้ไม่มีโรคาพาธท่านพระพากุลเถคะ ดำ รง อายุสังขารสมควรแก่กาลแล้ว ในวันที่ท่านจะนิพพานนั้น ท่านนั่งอยู่ในท่ามกลางประชุมสงฆ์ ได้อธิษฐานว่า “ขออย่าให้สรีระของข้าพเจ้าเป็นภาระแก่หมู่ภิกษุสงฆ์ เลย” ดังนี้แล้วท่านก็เข้าเตโชกสิณ ปรินิพพานในท่ามกลางหมู่สงฆ์นั้น พลันเปลวเพลิงก็เกิดขึ้นเผาสรีระของท่านจนเหลือแต่อัฐิธาตุ ซึ่งมีสีและ สัณฐานดังดอกมะลิตูม

พระปินโฑลภารทวาชเถระ (เอตทัคคะในทางผู้บันลือสีหนาท)
พระปิณโฑลภารทวาชะ เป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาล ตระกูล ภารทวาชะ ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าอุเทน เดิมชื่อว่า “ภารทวาชมาณพ” ศึกษาจบไตรเพท
ภารทวาชมาณพ ได้ตั้งสำ นักเป็นอาจารย์ใหญ่สอนไตรเพท มี ศิษย์เป็นจำ นวนมาก ไม่รู้ประมาณในการบริโภค จึงถูกศิษย์พากันทอด ทิ้ง มีความเป็นอยู่ลำ บาก ต่อมาได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่เมืองราชคฤห์ ตั้ง สำ นักสั่งสอนไตรเพทอีก
ปิณโฑลภารทวาชะ คิดที่จะอาศัยพระพุทธศาสนาเลี้ยงชีวิต อีก ทั้งได้มีโอกาสฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดาแล้ว ก็เกิดศรัทธา เลื่อมใส จึงกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท เมื่อได้บวชเป็นพระภิกษุใน พระธรรมวินัย แล้วอุตสาห์บำ เพ็ญเพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐานไม่ช้าก็ บรรลุพระอรหัตผลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๓ คือ สตินทรีย์ สมาธินท รีย์ ปัญญินทรีย์ และยังเป็นผู้ที่สามารถแสดงฤทธิ์ได้เทียบเท่าพระมหา โมคคัลลานเถระ
โดยปกติ ท่านปิณโฑลภารทวาชเถระ มักจะบันลือสีหนาท ด้วยวาจาอันองอาจว่า “ยสฺส มคฺเค วา ผเล วา กงฺขา อตฺถิ โส มํ ปุจฺฉ ตุ แปลว่า ผู้ใด มีความสงสัยในมรรคหรือในผล ผู้นั้น ก็จงถามเราเถิด” แม้แต่ในที่เฉพาะพระพักตร์พระบรมศาสดา ท่านก็บันลือสีหนาทเช่น นั้น ด้วยเหตุนี้ พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายพากันกล่าวขวัญถึงท่านว่าเป็นผู้มี ความองอาจประกาศความเป็นพระอรหันต์ของตนในที่เฉพาะพระพักตร์ พระบรมศาสดาและยังได้กระทำ อิทธิปาฏิหาริยิ์ เหาะขึ้นไปเอาบาตรไม้ จันทน์แดง จนทำ ให้เศรษฐีพร้อมด้วยบุตรและภรรยาพากันประกาศตน เป็นพุทธมามกะ คือ ประกาศตนเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา พระภิกษุ สงฆ์เหล่านั้นพากันกล่าวสรรเสริญเกียรติคุณของพระปิณโฑลภารทวาช เถระ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธองค์ทรงถือเอาคุณ ความดีของพระเถระนี้ตรัสสรรเสริญว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านภารทวาชะได้ประกาศความเป็นพระ อรหันต์ ของตนเช่นนั้นก็พราะท่านอบรมอินทรีย์ ๓ ประการ คือ สตินท รีย์ สมาธินทรีย์ และปัญญินทรีย์ ไว้มาก ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงประกาศ ยกย่อง พระปิณโฑลภารทวาชะ ในตำ แหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่า ภิกษุทั้งหลายในฝ่าย ผู้บันลือสีหนาท ท่านพระปิณโฑลภารทวาชเถระ ดำ รงอายุสังขารโดยสมควรแก่ กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน

โฆสกเศรษฐี
โฆสกเศรษฐีเป็นมหาเศรษฐีแห่งกรุงโกสัมพี แคว้นวังสะ มหา เศรษฐีผู้นี้มีชีวิตพลิกผันมาหลายชาติ
โกตุหลิกทิ้งลูก
โกตุหลิกอยู่ในแคว้นอัลลกัปปะ มีภรรยาชื่อ กาลี เมื่อภรรยา คลอดลูกก็พอดีที่แคว้นอัลลกัปปะเกิดทุพภิกขภัย ข้าวปลาอาหารหา ยาก จึงเดินทางอพยพไปสู่กรุงโกสัมพี ผลัดกันอุ้มลูกน้อย คราวหนึ่งโก ตุหลิกอุ้มลูกเดินตามหลังปล่อยให้นางกาลีเดินล่วงหน้าไปไกล เมื่อได้ โอกาสจึงแอบวางลูกทิ้งไว้ใต้พุ่มไม้แห่งหนึ่ง นางกาลีหันกลับมาไม่เห็น ลูกก็ร้องไห้คร่ำ ครวญ ให้โกตุหลิกเดินย้อนกลับไปรับลูก โกตุหลิกจำ ใจ ย้อนไปรับลูกเดินทางกันต่อไป ในที่สุดทารกน้อยก็ตายในระหว่างทาง เกิดเป็นสุนัข
โกตุหลิกกับภรรยาเดินทางต่อไปจนถึงเรือนนายโคบาลคนหนึ่ง ทั้งสองแวะเข้าไปขออาหาร นายโคบาลจึงแบ่งข้าวปายาสให้สองสามี ภรรยากิน โกตุหลิกจึงกินข้าวปายาสจำ นวนมากให้สมกับที่อดอยากมา ถึง ๗-๘ วัน กินไปก็มองดูนางสุนัขของนายโคบาลไป คิดว่าสุนัขตัวนี้มี บุญ ได้กินอาหารแบบนี้ทุกวันจนอ้วนพี บริโภคมากเกินไป ข้าวปายาส จึงไม่ย่อย คืนนั้นโกตุหลิกจึงทำ กาละ และด้วยอกุศลจิตก่อนตายที่อิจฉา ความเป็นอยู่ของสุนัข โกตุหลิกจึงไปเกิดในท้องนางสุนัขตัวนั้น ส่วนนาง กาลีเมื่อสามีตายหมดที่พึ่งแล้ว จึงอยู่ทำ งานในเรือนของนายโคบาล จากสุนัขเป็นโฆสกเทพบุตร
โกตุหลิกเกิดเป็นสุนัข วันหนึ่ง นายโคบาลทูลพระปัจเจกพุทธ เจ้าว่าหากวันใดไม่สามารถมานิมนต์พระปัจเจก พุทธเจ้าได้ด้วยตนเองก็ จะส่งสุนัขตัวนี้มา กาลเวลาผ่านไป วันหนึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้ามาบอก นายโคบาลว่าจะย้ายไปอยู่ที่อื่น สุนัขนั้นอาลัยรักพระปัจเจกพุทธเจ้า มาก ยืนเห่าส่ง พอพระปัจเจกพุทธเจ้าลับไปจากสายตา สุนัขนั้น ก็ดวงใจแตกดับ ไปเกิดเป็นเทพบุตรในเทวโลก มีนางอัปสรแวดล้อม ๑,๐๐๐ นาง เป็นเทพบุตรผู้มีเสียงดังมากเพราะอานิสงส์การเห่าไล่สัตว์ ร้ายให้พระปัจเจก พุทธเจ้า นามว่า โฆสกเทพบุตร เกิดใหม่ในโกสัมพี โฆสก เทพบุตรเสวยสมบัติอยู่ในเทวโลกไม่นาน มัวแต่เพลิน พุทธสถาน พุทธกิจ พุทธประวัติ 239 บริโภคกามคุณจนลืมเสพอาหารทิพย์ จึงจุติไปเกิดเป็นบุตรหญิงงาม เมืองในกรุงโกสัมพี แต่จะเลี้ยงไว้เฉพาะบุตรสาวเพื่อสืบทอดอาชีพ เมื่อ คลอดบุตรเป็นชายนางจึงนำ ทารกน้อยใส่กระด้งไปทิ้งในกองหยากเยื่อ ด้วยอานิสงส์เคยดูแลไล่สัตว์ร้ายให้พระปัจเจกพุทธเจ้ามาก่อน ทารก น้อยในกองหยากเยื่อจึงรอดพ้นอันตรายจากสัตว์ร้ายจนมีหญิงคนหนึ่ง มาพบ เข้าและนำ ทารกกลับไปเรือน
วันนั้น เศรษฐีชาวเมืองโกสัมพีคนหนึ่งเข้าไปในราชสำ นัก ได้ยิน ปุโรหิตบอกว่าเด็กที่เกิดวันนี้เป็นผู้มีบุญมาก อนาคตจะได้เป็นมหา เศรษฐีของเมือง เศรษฐีจึงให้หญิงคนใช้อีกคนชื่อ กาลี ไปตามหาทารกชายที่เกิด วันนี้ให้พบ พบแล้วให้ใช้ทรัพย์พันหนึ่งแลกทารกนั้นกลับมา เศรษฐี เลี้ยงดูทารกนั้นไว้ คิดว่าถ้าลูกของตนเป็นลูกสาว ก็จะ ให้แต่งงานกับเด็กคนนี้ที่จะได้เป็นมหาเศรษฐี แต่ถ้าเป็นชาย เศรษฐีก็ จะฆ่าเด็กนี้ทิ้งเสียเพื่อให้ลูกชายตนเองครองตำ แหน่งมหาเศรษฐีแทน ถูกทิ้งถูกฆ่าซ้ำ แล้วซ้ำ อีก ต่อมาภรรยาเศรษฐีคลอดบุตรเป็นชาย เศรษฐีจึงคิดจะฆ่าทารก ที่เลี้ยงไว้
เศรษฐี สั่งให้นางกาลีนำ ทารกไปวางขวางกลางประตูคอกโค หวัง จะให้แม่โคเหยียบให้ตายตอนนายโคบาลปล่อยโคออกจากคอก แต่โค นายฝูงออกมายืนคร่อมทารกไว้ไม่ให้ทารกถูกแม่โคตัวอื่นเหยียบ เศรษฐีสั่งให้นางกาลีนำ ทารกไปวางขวางทางขบวนเกวียน ๕๐๐ เล่มที่พ่อค้าขับไปค้าขายแต่เช้ามืด แต่โคนำ ขบวนกลับหยุดขวางทางไว้ ไม่ยอมลากเกวียนไปต่อ เศรษฐี สั่งให้นางกาลีนำ ทารกไปทิ้งที่ป่าช้าผีดิบ หวังจะให้ทารก ถูกสุนัขป่าหรืออมนุษย์ฆ่าให้ตาย ครั้งนั้นนายอชบาลต้อนฝูงแพะหลาย แสนตัวผ่านมา แม่แพะตัวหนึ่งหยุดให้นมทารก เศรษฐี สั่งให้นางกาลีนำ ทารกไปทิ้งที่เหวทิ้งโจร แต่ทารกก็ ปลอดภัยเพราะตกลงบนพุ่มไม้ไผ่ หัวหน้าช่างจักสานมาตัดไม้ไผ่พบเข้า จึงพากลับไปเลี้ยง ทุกครั้งที่แผนการผิดพลาดแล้ว เศรษฐีจึงให้นางกาลีไปขอไถ่ตัว กลับมาอีกด้วยทรัพย์พันหนึ่ง เศรษฐีพยายามฆ่าเด็กหลายครั้งแต่ไม่ตาย จึงจำ ต้องเลี้ยงไว้จน เติบใหญ่ มีชื่อว่า โฆสกะ ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว วันหนึ่งเศรษฐีแอบไปว่าจ้างช่างหม้อคนหนึ่งบอกว่าจะส่งบุตร ชาติชั่วมาให้ฆ่า ให้ช่างหม้อจัดการหั่นให้เป็นท่อน แล้วใส่เตาเผาให้หมด อย่าให้เหลือซาก วันรุ่งขึ้น เศรษฐีสั่งให้โฆสกะไปเรือนช่างหม้อ บอกช่างหม้อว่า ให้เร่งทำ งานที่เศรษฐีสั่งไว้ให้เสร็จเร็วๆ โฆสกะก็ไปเพราะไม่รู้ ระหว่าง ทางพบลูกชายเศรษฐีกำ ลังเล่นพนันอยู่กับเพื่อนๆ แต่ลูกชายเศรษฐีแพ้ พนันไปแล้วหลายครั้งจึงขอร้องให้โฆสกะช่วยเล่นแทน ส่วนตัวเขาอาสา ไปหาช่างหม้อแทน บุตรชายของตนถูกฆ่าและเผาแล้วไม่มีเหลือ โฆสกะแต่งงาน
เศรษฐี แค้นโฆสกะมากยิ่งขึ้นครุ่นคิดหาวิธีจะฆ่าโฆสกะให้ได้ จึง ออกอุบายให้โฆสกะไปส่งจดหมายให้คนเก็บส่วยในชนบท โฆสกะบอก ว่าตนยังไม่ได้กินข้าวเลย เศรษฐีบอกว่าระหว่างทางในชนบทมีเรือนของ คามิกเศรษฐีซึ่งเป็นเพื่อนกัน ให้โฆสกะแวะกินข้าวที่เรือนนั้น โฆสกะไม่รู้ หนังสือจึงเอาจดหมายผูกชายผ้าเดินทางไป นางทาสีคนนั้นเป็นทาสีของ ธิดาเศรษฐี เมื่อนางจัดเตรียมที่ นอนให้โฆสกะเรียบร้อยแล้วจึงไปรับใช้ธิดาเศรษฐีตามปกติ ธิดาเศรษฐี ถามว่าทำ ไมวันนี้นางทาสีจึงมาช้านัก นางทาสีบอกว่านายหญิงให้ไปจัด ที่นอนให้แขกคนหนึ่งเป็นชายหนุ่มรูปหล่อชื่อ โฆสกะ
พอธิดาเศรษฐีได้ยินชื่อ โฆสกะ นางก็บังเกิดความรักเพราะเหตุ เคยอยู่ร่วมกันในกาลก่อน ธิดาเศรษฐีแอบไปดูโฆสกะที่นอนหลับอยู่ และหยิบหนังสือที่ชายผ้าเปิดอ่าน ในหนังสือนั้นบอกให้นายส่วยฆ่าโฆ สกะทันทีที่ไปถึง ธิดาคามิกเศรษฐีพอรู้ว่าโฆสกะถูกหลอกไปฆ่าจึงคิด วิธีช่วยเหลือ จัดการแปลงสารด้วยข้อความใหม่ เมื่อแปลงสารเสร็จแล้ว ธิดาเศรษฐีก็พับจดหมายคืนที่เดิม
วันรุ่งขึ้น โฆสกะเดินทางต่อจนถึงเรือนของนายส่วย เมื่อได้อ่าน จดหมายแล้ว นายส่วยจึงจัดงานอาวาหมงคลให้โฆสกะกับธิดาคามิก เศรษฐี แล้วส่งข่าวให้เศรษฐีโกสัมพีทราบว่างานที่สั่งให้ทำ สำ เร็จแล้ว เศรษฐีล้มป่วยเพราะความแค้น เศรษฐี อ่านจดหมายนายส่วยจบก็เสียใจและแค้นใจ เศรษฐีจึง ล้มป่วยลง เศรษฐี ตั้งใจว่าจะไม่ยอมยกสมบัติของตัวเองให้โฆสกะอย่าง เด็ดขาด จึงส่งคนรับใช้ให้ไปตามโฆสกะมาหา แต่ภรรยาโฆสกะคอยดัก ไว้ไม่ให้พบ จน ถึงคนรับใช้คนที่สามมาบอกว่าเศรษฐีอาการเพียบหนักใกล้ ตายแล้ว ภรรยาโฆสกะจึงบอกให้สามีเตรียมบรรณาการจากบ้านส่วย ๑๐๐ บ้าน ใส่เกวียนไปเยี่ยมเศรษฐี เมื่อไปถึงเรือนเศรษฐี ภรรยาบอกให้โฆสกะไปยืนทางปลายเท้า ส่วนนางยืนทางด้านศีรษะ เศรษฐีเห็นโฆสกะมาแล้วจึงเรียกเสมียนมา เศรษฐีจะประกาศว่า
“ฉันไม่ให้ทรัพย์แก่โฆสกะ”
แต่ด้วยอาการไข้หนักเศรษฐีกลับพูดผิดว่า “ฉันให้..”
ภรรยา โฆสกะที่รอท่าอยู่พอได้ยินเศรษฐีพูดเพียงเท่านี้ นางเกรง ว่าเศรษฐีจะพูดคำ อื่นอีกจึงแสร้งทำ เป็นเศร้าโศก โถมศีรษะลงกลิ้งเกลือก บนอกเศรษฐี แสดงอาการร้องไห้คร่ำ ครวญจนเศรษฐีไม่อาจพูดได้อีก แล้วเศรษฐีก็ขาดใจตาย
เป็นโฆสกะเศรษฐี
เมื่อพระเจ้าอุเทนแห่งกรุงโกสัมพีทรงทราบว่าเศรษฐีถึงแก่ อนิจกรรมแล้ว จึงรับสั่งให้โฆสกะไปเข้าเฝ้า พระราชทานตำแหน่งเศรษฐี ให้สืบต่อจากบิดา โฆสกเศรษฐีเข้าเรือนมา เห็นภรรยาหัวเราะจึงถามว่าหัวเราะ อะไร ภรรยาไม่ยอมบอก สมบัติทั้งหลายนี้ท่านได้มาเพราะดิฉัน แล้ว ภรรยาก็เล่าเรื่อง ราวให้สามีฟัง โฆสกเศรษฐีไม่เชื่อ ภรรยาจึงให้นางกาลี มายืนยันอีกคน ฟังแล้วโฆสกเศรษฐีจึงคิดว่า เราทำ กรรมหนักไว้หนอจึง ได้ผลเช่นนี้ ต่อไปเราจะไม่เป็นผู้ประมาทอีก คิดดังนั้นแล้ว เศรษฐีจึงให้ตั้งโรงทาน สละทรัพย์วันละพันเพื่อ สงเคราะห์คนเดินทางไกลและคนกำ พร้า มอบหมายให้ นายมิตตะ เป็น ผู้ดูแลโรงทาน อีกทั้งยังถวายภัตแด่พระดาบส ๕๐๐ รูป ในป่าหิมพานต์ ใกล้กรุงโกสัมพีเป็นประจำ สามาวดี นางสามาวดี เป็นธิดาของเศรษฐีนามว่าภัททวดีย์ แห่งเมืองภัท ทวดีย์ เดิมชื่อว่า “สามา” และบิดาของนางเป็นสหายที่ไม่เคยเห็นหน้า กันกับโฆสกเศรษฐี แห่งเมืองโกสัมพี
เศรษฐีตกยาก
ครั้นต่อมา เกิดโรคอหิวาต์ระบาดในเมืองภัททวดีย์ เศรษฐีภัท ทวดีย์ ต้องพาภรรยาและลูกสาวอพยพหนีโรคร้ายไปยังเมืองโกสัมพี เพื่อขอพักอาศัยกับโฆสกเศรษฐีผู้เป็นสหาย เศรษฐีกับภรรยาบริโภค อาหารเกินพอดี ไฟธาตุไม่สามารถจะย่อยได้จึงถึงแก่ความตายทั้งสอง คน เหลือแต่นางสามา เป็นกำ พร้าพ่อแม่อยู่แต่ผู้เดียว
ได้นามว่าสามาวดี
เมื่อนางสามาเข้ามาอยู่ในบ้านของท่านเศรษฐีแล้ว เห็นความ ไม่เรียบร้อยดังกล่าว จึงคิดหาทางแก้ไข นางจึงให้คนทำ รั้วมีประตูทาง เข้าและประตูทางออกให้ทุกคนเรียงแถวตามลำ ดับเข้ารับแจกทาน ทุก อย่างก็เรียบร้อยไม่มีเสียงเซ็งแซ่เหมือนแต่ก่อนโฆสกเศรษฐีพอใจเป็น อย่างยิ่งกล่าวยกย่องชมเชยในความฉลาดของนาง หลังจากนั้น นางจึง ได้ชื่อว่า “สามาวดี” (วดี = รั้ว) และต่อจากนั้นไม่นาน นางก็ได้รับการ อภิเษกเป็นอัครมเหสี ของพระเจ้าอุเทน แห่งเมืองโกสัมพีนั้น นางสามาวดีบรรลุโสดาปัตติผล
ในบรรดาหญิงบริวารของนางสามาวดี ๕๐๐ คนนั้น หญิงคน หนึ่งชื่อนางขุชชุตตรา รับหน้าที่จัดซื้อดอกไม้มาให้นางสามาวดีทุกวัน ต่อมาวันหนึ่ง ขณะที่นางไปซื้อดอกไม้ตามปกตินั้น ได้มีโอกาสฟังพระ ธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดาในบ้านของนายสุมนมาลาการผู้ขาย ดอกไม้ จนได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน เมื่อนำ ดอกไปให้นางสามาวดีแล้ว ได้แสดงธรรมที่ตนฟังมานั้นแก่นางสามาวดี พร้อมทั้งหญิงบริวาร จนได้ บรรลุเป็นพระโสดาบันด้วยกันทั้งหมด
ครั้นกาลต่อมา พระเจ้าอุเทนได้พระนางวาสุลทัตตา พระราช ธิดาของพระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนี มาอภิเษกเป็นมเหสีองค์ ที่สอง และได้นางมาคันทิยา สาวงามแห่งแคว้นกุรุ มาอภิเษกเป็นมเหสี องค์ที่สาม

พระนางวาสุลทัตตา
พระนางวาสุลทัตตา พระราชธิดาของพระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่ง กรุงอุชเชนี
วันหนึ่งพระเจ้าจัณฑปัชโชต ทรงเห็นว่าสมบัติของพระเจ้าอุ เทนแห่งกรุงโกสัมพีนั้นมีมากมาย จึงคิดจะจับพระเจ้าอุเทน อำ มาตย์ ได้กราบทูลว่า หากจะจับท้าวเธอให้ได้ ก็ต้องใช่เล่ห์กลเข้าช่วย เพราะ ท้าวเธอหลงใหลในเรื่องช้าง ทรงร่ายมนต์แล้วดีดพิณหัสดีกัณฑ์อยู่ จะ ให้ช้างหนีไปก็ได้ จะจับเอาก็ได้ พระองค์โปรดใช้ช่างสร้างช้างยนต์เป็น ช้างเผือก แล้วให้คนซ่อนอยู่ภายในท้องช้างนั้นเพื่อบังคับช้างยนต์ จาก นั้นก็นำ กำ ลังซุ่มอยู่ข้างทาง เมื่อพระเจ้าอุเทนหลงเข้ามา ก็จะจับตัวได้ เป็นแน่แท้
พระเจ้าจัณฑปัชโชต กระทำ ตามความคิดของเหล่าอำ มาตย์ จึงจับพระเจ้าอุเทนได้พระเจ้าจัณฑปัชโชต รับสั่งให้นำ พระเจ้าอุเทนมา ควบคุมไว้ในพระราชวังด้วยประสงค์จะเรียนมนต์ ตรัสถามพระเจ้าอุเทน ว่า “ทราบว่าท่านมีมนต์ชื่อหัสดีกัณฑ์ สำ หรับเรียกช้างท่านจักสอนมนต์ บทนั้นให้แก่เราหรือไม่ “ พระเจ้าอุเทนตอบว่า “ได้หากพระองค์จะไหว้ข้าพเจ้าก่อน “
พระเจ้าจัณฑปัชโชตตอบว่า “เราไม่สามารถกระทำ ได้ “
พระเจ้าอุเทนจึงกล่าวว่า “ถ้าเป็นเช่นนั้นข้าพเจ้าก็มิอาจสอน มนต์นี้แก่ท่านได้”
พระเจ้าจัณฑปัชโชตดำ ริว่า เราอยากได้มนต์บทนี้แต่ก็มิอาจให้ ผู้อื่นรู้มนต์บทนี้ได้ เราจักให้ธิดาของเราเรียนจากพระเจ้าอุเทน แล้วเรา จึงจักรับมนต์บทนี้จากธิดาเรา
พระเจ้าจัณฑปัชโชตจึงตรัสกับพระเจ้าอุเทนว่า “ในพระราชวังมี หญิงค่อมคนหนึ่งซึ่งอยากเรียนมนต์บทนี้ แต่มิอาจให้ผู้อื่นเห็นร่างกาย ของนางได้ ท่านจงยืนอยู่ภายนอกม่านแล้วบอกมนต์แก่หญิงผู้นั่งอยู่หลัง ม่านนั้น” พระเจ้าอุเทนตรัสตอบว่า “แม้นางจะเป็นคนพิการก็ตามหาก นางไหว้ข้าพเจ้าได้ก็จะให้มนต์นี้ “ พระเจ้าจัณฑปัชโชตจึงเสด็จไปหาพระราชธิดา ตรัสบอกพระราช ธิดาว่า “บัดนี้มีชายโรคเรื้อนผู้หนึ่งรู้มนต์หัสดีกัณฑ์อันหาค่ามิได้ แต่พ่อมิ อาจให้ผู้อื่นรู้มนต์นั้น เจ้าจงไปนั่งหลังม่านไหว้แสดงความเคารพชายนั้น แล้วขอเรียนมนต์ชายนั้นจักบอกมนต์แก่เจ้า” พระราชธิดาทรงรับเป็นผู้ ไปเรียนมนต์บทนี้ให้กับพระบิดา เนื่องจากพระเจ้าจัณฑปัชโชตเกรงคนทั้งสองจักทำ สันถวะกัน และกัน จึงบอกแก่พระเจ้าอุเทนว่าให้สอนมนต์นี้แก่หญิงต่อมซึ่งอยู่หลัง ม่าน และตรัสกับพระราชธิดาว่าให้เรียนมนต์จากชายผู้เป็นโรคเรื้อน แต่วันแล้ววันเล่าพระราชธิดาก็มิอาจจำ มนต์หัสดีกัณฑ์นั้นได้ จนในวันหนึ่งพระเจ้าอุเทนกริ้วจัด ตรัสว่า “อีหญิงค่อมจงว่าไปอย่างนี้ “พระราชธิดาได้ยินก็กริ้วตรัสตอบไปว่า “อ้ายขี้เรื้อน” แล้วทรงยกมุมผ้า ม่านที่กั้นบังไว้ขึ้นทันที พระเจ้าอุเทนจึงได้ทอดพระเนตรเห็นหญิงงาม แทนที่จะเป็นหญิงค่อมทรงถามว่า “นางเป็นใคร” พระราชธิดาก็ทอดพระเนตรเห็หนุ่มรูปงามแทนชายโรคเรื้อน และตรัสตอบว่า “เราชื่อว่าวาสุลทัตตา เป็นธิดาของพระเจ้าแผ่นดินนี้” ต่อแต่นั้น มาก็มิได้มีการเรียนมนต์หัสดีกัณฑ์นี้อีก กาลต่อมาพระเจ้าอุเทนได้พานางวาสุลทัตตาหนีไปจากพระนคร อุชเชนี กลับมายังกรุงโกสัมพีและอภิเษกแต่งตั้งให้เป็นพระมเหสีแห่งกรุง โกสัมพีอีกองค์หนึ่ง

นางมาคันทิยา
นางมาคันทิยาเป็นธิดาของเศรษฐีในแคว้นกุรุ เนื่องจากนางมี รูปงามดุจนางเทพอัปสร จึงมีเศรษฐี คฤหบดี ตลอดจนพระราชา จาก เมืองต่าง ๆ ส่งสารมาสู่ขอมากมาย แต่บิดามารดาของนางก็ปฏิเสธ
พระบรมศาสดาทรงพิจารณาเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตของสอง สามีภรรยา จึงเสด็จมายังแคว้นกุรุ ฝ่ายพราหมณ์ผู้เป็นบิดาของนางออก ไปธุระนอกบ้าน พบพระศาสดาในที่ไม่ไกลจากบ้านของตนนัก เห็นพระ ลักษณะถูกตาต้องใจและคิดว่า “บุรุษผู้นี้แหละคู่ควรกับลูกสาวของเรา” พราหมณ์จึงเข้าไปกราบทูลพระบรมศาสดาให้คอยอยู่ตรงนี้ก่อนตนจะ กลับไปบอกนางพราหมณีภรรยาและนำ ลูกสาวมายกให้ ฝ่ายพระบรมศาสดามิได้ประทับอยู่ตรงที่เดิม แต่ได้อธิษฐาน ประทับรอยพระบาทไว้ แล้วเสด็จไปประทับในที่ไม่ไกลจากที่นั้น เนื่องจากนางพราหมณีผู้ภรรยามีความเชียวชาญเรื่องมนต์ ทำ นายลักษณะฝ่าเท้า จึงบอกแก่สามีว่า “รอยเท้านี้มิใช่รอยเท้าของคน เสพกามคุณ เพราะธรรมดารอยเท้าของคนที่มีราคะ จะมีรอยเท้ากระ หย่งคือเว้าตรงกลาง คนที่มีโทสะ รอยเท้าจะหนักส้น คนที่มีโมหะ รอย เท้าจะหนักที่ส่วนปลาย ฝ่ายพราหมณ์ผู้สามีพยายามมองหาจนพบพระบรมศาสดา “ท่านสมณะ ข้าพเจ้าจะยกธิดาให้เป็นคู่ชีวิตแก่ท่าน” ลูกสาวของท่านที่ร่างกายเต็มไปด้วยมูตรและกรีส (ปัสสาวะและ อุจจาระ) ถ้าเท้าของเราเปื้อนฝุ่นธุลีมา และลูกสาวของท่านเป็นผ้าเช็ด เท้า เรายังไม่ปรารถนาจะถูกต้องลูกสาวของท่านแม้ด้วยเท้าเลย” เมื่อตรัสดังนี้แล้ว ทรงแสดงธรรมโปรดสองสามีภรรยาจนได้ บรรลุเป็นพระอนาคามี ขออุปสมบทไม่นานนักก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ ทั้งสอง ท่าน ฝ่ายนางมาคันทิยา ได้ยินพระดำ รัสของพระศาสดาโดย ตลอด รู้สึกโกรธที่พระพุทธองค์ จึงผูกอาฆาตของเวรต่อพระศาสดา เมื่อ บิดามารดาออกบวชหมดแล้ว นางจึงได้ไปอยู่อาศัยกับน้องชายของบิดา ผู้เป็นอา ต่อมาอาของนางคิดว่าหลานสาวผู้มีความงามเป็นเลิศอย่างนี้ ย่อมคู่ควรแก่พระราชาเท่านั้น จึงนำ ไปถวายเป็นพระมเหสีของพระเจ้า อุเทน
จ้างนักเลงด่าพระพุทธองค์
พระนางมาคันทิยา ได้โอกาส จึงว่าจ้างทาส กรรรมกร และ นักเลงพวกมิจฉาทิฏฐิ ผู้ไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ให้ติดตามด่า พระพุทธองค์ไปในทุกหนทุกแห่งทั่วทั้งเมือง จึงกราบทูลให้พระพุทธองค์เสด็จไปยังเมืองอื่น พระพุทธองค์จึง ตรัสถามว่า:-
“อานนท์ ถ้าคนที่เมืองนั้นด่าเราอีก เราจะทำ อย่างไร ?”
“ก็เสด็จไปที่เมืองอื่นต่อไปอีก พระเจ้าข้า”
“ถ้าคนที่เมืองนั้นด่าเราอีก เราจะทำ อย่างไร ?”
“ก็เสด็จไปที่เมืองอื่นต่อไปอีก พระเจ้าข้า”
“ดูก่อนอานนท์ ถ้าทำ อย่างนั้นเราก็จะหนีกันไม่สิ้นสุด ทางที่ถูก นั้นอธิกรณ์เกิดขึ้นในที่ใด ก็ควรให้อธิกรณ์สงบระงับในที่นั้นก่อนแล้วจึง ไป” พระพุทธองค์ตรัสต่อไปอีกว่า:- “ดูก่อนอานนท์ ธรรมดาอธิกรณ์เกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วย่อมไม่เกิน ๗ วัน ก็จะสงบระงับไปเอง” นางสามาวดีถูกใส่ความเรื่องไก่ คิดอุบายใส่ความแก่พระนางสามาวดีและบริวารผู้มีศรัทธาใน พระพุทธองค์ โดยส่งข่าวไปบอกแก่อาของตนขอให้ส่งไก่เป็น ที่ยังมีชีวิต มาให้ ๘ ตัว และไก่ตายอีก ๘ ตัว เมื่อได้ไก่มาตามต้องการแล้วจึงเข้า กราบทูลพระเจ้าอุเทน ส่วนพระนางสามาวดีเห็นว่าไก่ยังมีชีวิตอยู่จึงไม่ทำ ถวาย เพราะ ว่าตนสมาทานศีล ๘ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์จึงส่งไก่กลับคืนไปพระนางมาคันทิยา “ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์จงรับสั่งให้ส่งไก่ไปใหม่พร้อมทั้งบอก ว่าให้แกงไปถวายแก่พระสมณโคดม” แต่พระนางมาคันทิยาได้เปลี่ยนเอาไก่ที่ตาย แล้วส่งไปให้ พระนางสามาวดีเห็นว่าเป็นไก่ที่ตายแล้ว และเป็นการแกงเพื่อนำ ไป ถวายพระสมณโคดม เวลาใช้ให้แกงมาถวายพระองค์ก็ไม่ทำ แต่พอบอกให้แกงไป ถวายพระสมณโคดมกลับทำ ให้อย่างรับด่วน พระเจ้าอุเทน ได้สดับคำของพระนางมาคันทิยา แล้วทรงอดกลั้น นิ่งเฉยไว้อยู่ จนกระทั่งพระนางมาคันทิยา ต้องคิดหาอุบายร้ายด้วยวิธี อื่นต่อไป
ถูกใส่ความเรื่องงู
จะถึงวาระเสด็จไปประทับที่ปราสาทของพระนางสามาวดี พระนางมาคันทิยา ได้วางแผนส่งข่าวไปถึงอา ให้ส่งงูพิษที่ถอนเขี้ยว พิษออกแล้วมาให้นางโดยด่วน เมื่อได้มาแล้วจึงใส่งูเข้าไปในช่องพิณซึ่ง พระเจ้าอุเทนทรงเล่นและนำ ติดพระองค์เป็นประจำแล้วนำช่อดอกไม้ปิด ช่องพิณไว้ก่อนที่พระเจ้าอุเทนจะเสด็จไปยังปราสาทของพระนางสามา วดีนั้น และงูที่อดอาหารมาหลายวันได้เลื้อยออกมาพ่นพิษ แผ่พังพาน พระราชาทอดพระเนตรเห็นงูก็ตกพระทัยพระนางสามาวดีที่คิดปลง พระชนม์ ความโกรธจึงตัดสินพระทัยประหารชีวิตพระนางสามาวดีและ หญิงบริวาร
อานุภาพแห่งเมตตาธรรม
พระเจ้าอุเทนทรงโก่งคันธนูเล็งเป้าไปที่พระอุระของพระนาง สามาวดี ก่อนที่ลูกศรจะแล่นนั้น พระนางสามาวดีได้ให้โอวาทแก่หญิง บริวารว่า “แม่หญิงสหายทั้งหลาย ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี เธอทั้งหลาย จงเจริญเมตตาจิตให้สม่ำ เสมอ ส่งไปให้แก่พระราชา แก่พระเทวีมาคัน ทิยา และแก่ตนเอง อย่าถือโทษโกรธต่อใคร ๆ เลย” ครั้นให้โอวาทจบลง หญิงเหล่านั้นก็ปฏิบัติตาม เมื่อพระราชา ปล่อยลูกศรออกไป แทนที่ลูกศรจะพุ่งเข้าสู่พระอุระพระนางสามาวดี แต่หวนกลับพุ่งเข้าหาพระอุระของพระองค์เสียเอง จึงสะดุ้งตกพระทัย แล้วกราบที่พระบาทของพระนางสามาวดี อ้อนวอนให้พระนางยกโทษ ให้ และขอถึงพระนางเป็นที่พึ่งตลอดไป พระนางสามาวดีกราบทูลให้ พระราชาทรงถึงพระบรมศาสดาเป็นสรณที่พึ่งเหมือนอย่างที่นางกระทำ อยู่ ตั้งแต่นั้นมา พระเจ้าอุเทนทรงมีศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา ทรง รักษาศีลฟังธรรมร่วมกับพระนางสามาวดีตามกาลเวลาและโอกาสอัน สมควร พระนางสามาวดีถูกเผาทั้งเป็นพร้อมหญิงสหาย พระนางมาคันทิยา มีความโกรธแค้นต่อพระบรมศาสดาส่วน นางสามาวดีนั้น ที่นางต้องโกรธแค้นด้วยก็เพราะสาเหตุหนึ่งเป็นพระ มเหสีคู่แข่ง
วันหนึ่งขณะที่พระเจ้าอุเทนเสด็จประพาสราชอุทยาน พระนาง มาคันทิยาสั่งคนรับใช้ให้เอาผ้าชุบน้ำ มันแล้วนำ ไปพันที่เสาทุกต้น ใน ปราสาทของพระนางสามาวดี พูดเกลี้ยกล่อมให้พระนางและบริวาร เข้าไปรวมอยู่ในห้องเดียวกันแล้วจึงลั่นกลอนข้างนอกแล้วจุดไฟเผา พร้อมทั้งปราสาทพระนางสามาวดี ขณะเมื่อไฟกำ ลังลุกลามเข้ามาใกล้ ตัวอยู่นั้น มีสติมั่นคงไม่หวั่นไหว ให้โอวาทแก่หญิงบริวารทั้ง ๕๐๐ ให้ เจริญเมตตาไปยังบุคคลทั่ว ๆ ไปแม้ในพระนางคันทิยา ให้ทุกคนมีสติ ไม่ประมาท ให้มีจิตตั้งมั่นในเวทนาปริคคหกัมมัฏฐานอย่างมั่นคง บาง พวกบรรลุอนาคามิผล ก่อนที่จะถูกไฟเผาผลาญกระทำ กาละถึงแก่กรรม ไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ด้วยกันทั้งหมด
บุพพกรรม
ในอดีตกาลเมื่อพระเจ้าพรหมหัตครองราชย์สมบัติในกรุงพา ราณสี ได้ถวายภัตตาหารแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นประจำ พุทธะองค์หนึ่งได้ปลีกตัวไปเข้าฌานสมาบัติในดงหญ้าริมแม่น้ำ ส่วนพระราชาได้พาหญิงเหล่านั้นไปเล่นน้ำ กันทั้งวัน พวกผู้หญิงพออาบ น้ำ นาน ๆ ก็หนาว จึงพากันขึ้นมาก่อไฟที่กองหญ้าผิง พอไฟไหม้กอง หญ้าหมดก็เห็นพระปัจเจกพุทธะถูกไฟไหม้ ต่างพากันตกใจ เพราะเป็น พระปัจเจกพุทธะของพระราชา ด้วยเกรงว่าจะถูกลงโทษจึงช่วยกัน ทำ ลายหลักฐานด้วยการช่วยกันหาฟืนมาสุมจนท่วมองค์พระปัจเจก พุทธะจนแน่ใจว่าหมดฟืนนี้ พระปัจเจกพุทธะก็คงจะถูกเผาไม่เหลือ ซาก ผลกรรมของพระนางสามาวดีกับหญิงสหายกรรมใหม่ให้ผล ทันตา
ส่วนพระนางมาคันทิยาผู้เป็นต้นเหตุ พระองค์รับสั่งให้เฉือนเนื้อ ของพระนาง นำ ไปทอดน้ำ มันเดือดแล้วนำ มาให้พระนางกิน ทรงกระทำ อย่างนี้ จนกระทั่งพระนางสิ้นพระชนม์ไปบังเกิดในทุคติ ส่วนพระนางสามาวดี ผู้มีปกติอยู่ประกอบด้วยเมตตา (เมตตา วิหาร) ได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดา ในตำ แหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศ กว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้อยู่ด้วยเมตตา

ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี
ณ โฆษิตาราม ใกล้กับเมืองโกสัมพี มีภิกษุสองกลุ่มใหญ่คือ กลุ่ม ที่แสดงธรรมเก่ง (ธรรมกถึก) กับกลุ่มที่เคร่งครัดในพระวินัย (วินัยธร) แต่ละกลุ่มก็มีอุปัชฌาของตนเอง แบ่งได้กลุ่มละประมาณ ๕๐๐ รูป
อยู่มาวันหนึ่งพระอุปัชฌาฝ่ายธรรมกถึก ไปทำ ภาระกิจในถาน (สุขาของพระ) เมื่อตักน้ำ ล้างที่ถานแล้ว ก็เหลือน้ำ ไว้ในภาชนะ การเหลือ น้ำ ไว้ในภาชนะหลังจากที่ตักไปล้างถานแล้ว ทางพระวินัยถือว่าผิด (เป็น อาบัติ) เพราะจะทำ ให้เป็นที่ฟักไข่ของยุงหรือสัตว์อื่นๆได้ เป็นต้น เมื่อ พระรูปอื่นไปใช้ถานภายหลัง ก็จะเป็นการทำ ลายชีวิตสัตว์ ฝ่ายลูกศิษย์ได้ฟังก็ไม่พอใจ นำ ความไปฟ้องกับพระอาจารย์ฝ่าย ธรรมกถึก เมื่อได้ท่านฟังก็คงจะอารมณ์เสีย เลยพูดว่า พระอาจารย์ฝ่าย วินัยธร รูปนี้พูดมุสาเสียแล้ว ก็เคยพูดกับเราแล้วว่าไม่เป็นอาบัติ ครั้นเรา จะของปลงอาบัติก็ห้ามว่าไม่ต้อง แล้วทำ ไมตอนนี้มาพูดเช่นนี้ ทำ ให้เรา เสียหายมากนะ
ตั้งแต่นั้นมา ก็เกิดการบาดหมาง ทะเลาะกันแบ่งกันเป็นสอง กลุ่มไม่พูดจากปราศรัยกัน ไม่ช่วยเหลือกัน ทั้งที่ก็อยู่ในอารามเดียวกัน พระพุทธเจ้าได้สดับดังนั้นทรงเห็นว่าไม่ดีแน่จึงได้เสด็จไปที่อยู่ ของพระทั้งสองกลุ่ม แล้วเรียกมาสอน และให้ทำ สังฆกรรมร่วมกัน ้ โดยยกตัวอย่างผลร้ายของการทะเลาะกันเช่น นกกระจาบหลายพันตัว ทะเลาะกัน วิวาทกันยังสิ้นชีวิตทุกตัว
เมื่อพระพุทธเจ้าเห็นทีว่าจะสอนไม่ได้แล้ว ไม่ยอมเชื่อฟังทรง ดำ ริว่าถ้าการอยู่ร่วมหมู่กับผู้ไม่ยอมให้อภัยกัน ทะเลาะกันอย่างนี้ ไป อยู่รูปเดียวดีกว่า จึงได้ออกจากอารามนั้นไป โดยไม่บอกกว่ากับภิกษุ รูปใด หรือญาติโยมคนใดว่าจะไปที่ใด พระองค์ได้เสด็จไปอีกอารามหนึ่ง ชื่อว่าพาลกโลณการาม และ บ้านหนึ่งเรียกชื่อว่าบ้านปาริเลยยกะ โยมทั้งหมู่บ้านใกล้ไกลของอารามนั้น ไม่ใส่บาตร ไม่ดูแลให้ ความช่วยเหลือพระทั้งสองกลุ่ม แต่พระภิกษุไม่สามารถไปขอขมา พระพุทธเจ้า ต้องรอให้ออกพรรษาเสียก่อน กว่าจะออกพรรษาได้พระ ภิกษุทั้งสองกลุ่มก็อยู่กันมาอย่างยากลำ บาก
พระอานนท์ได้พาพระสงฆ์เหล่านั้นประมาณ ๕๐๐ รูปไปเฝ้า พระพุทธเจ้า ช้างปาเลยยกะเห็นเข้าก็ใช้งวงจับไม้วิ่งตรงเข้ามา หวังจะ ทำ ร้ายพระอานนท์ พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นก็ ตรัสห้าม และบอก กับช้างว่าพระอานนท์นี้เป็นผู้อุปัฏฐากพระองค์ จากนั้นพระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงธรรมเกี่ยวกับเรื่องการคบเพื่อน ที่ดี อเสวนาคนดีก็จะทำ ให้ได้รับความดีมาใส่ตนเป็นต้นพระภิกษุเหล่า นั้นก็ได้บรรลุพระอรหันต์ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จลับตาไปแล้ว ช้างได้นำ งวงใส่ไว้ในปากไม่ ยอมกินอะไรจนตาย แล้วไปเกิดในสวรรค์
เมื่อพระพุทธเจ้าและพระภิกษุเหล่านั้น ถึงเมืองสาวัตถีแล้ว พระพุทธเจ้าอนุญาตให้พระที่เคยทะเลากันเข้าเฝ้าได้แล้วก็ได้ทรงแสดง ธรรมให้กับพระภิกษุเหล่านั้นว่าผู้ที่เชื่อคำ พ่อแม่ครูบาอาจารย์จะเป็นผู้ เจริญไม่ตกอับ ส่วนผู้ใดที่ไม่เชื่อไม่ทำ ตามคำ ของพ่อแม่ครูบาอาจารย์จะมีแต่ เรื่องร้าย ถือเป็นกรรมหนัก จะทำ ให้เกิดการแตกยก หาความสงบสุขไม่มี ขอขมาเสร็จ ชาวเมืองก็มาถวายอาหารอาหาร และดูและพระภิกษุใน กลุ่มของธรรมกถึก และพระวินัยธร เหล่านั้นเหมือนเดิม


จุฬาตรีคูณ
จุฬา แปลว่า ยอด, หัว
ตรี แปลว่า สาม
คูณ แปลว่า รวม
โดยรวมคือ การรวมกันของสามสายแม่น้ำ เป็นจุดสูงสุด
“สังคัม” (Sangam) แปลว่า หมู่, รวม ซึ่งเป็นการรวมของสาย และสายศรัทธาแห่งพรตนักบวช เป็นสถานที่ที่แม่น้ำ ศักดิ์สิทธ์สำ คัญ ๓ สายไหลมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำ คงคา แม่น้ำ ยมุนา และแม่น้ำ สรัสวดี เราสามารถมองเห็นแม่น้ำ ๒ สายแรกเท่านั้น ส่วนแม่น้ำ สรัสวดีมองไม่ เห็น ซึ่งชาวอินเดียกล่าวกันว่าไหลมาจากใต้ดินแล้วมาผุดขึ้นที่นี่ โดยมี ถิ่นกำ เนิดที่เมืองราชคฤห์ รัฐพิหารในปัจจุบัน และมาบรรจบกันตรงนี้
เทศกาลมหากุมภะ เมลา (Maha Kumbh Mela Festival) เทศกาลการอาบน้ำ ของชาวฮินดู หรือเรียกว่า “เทศกาลมหา กุมภะ เมลา” ในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ของทุกปี ผู้คนจาก ทั่วสารทิศต่างเดินเบียดเสียดกันเพื่อไปอาบน้ำ ล้างบาป ถือว่าเป็นการ รวมตัวของชาวฮินดูจำ นวนมากและยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก คือการได้อาบ น้ำ ในเวลาและสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดคือ สังคัม
เทสกาลมหากุมภะ เมลา เป็นนิยายปรัมปราที่ฝังแน่นจนเกิด เป็นความเชื่อของชาวฮินดูมาตั้งแต่ดึกดำ บรรพ์ มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ หากดูตามรูปศัพท์แล้ว “กุมภะ” แปลว่า หม้อ เหยือก หรือโกศ สำ หรับ บรรจุน้ำ ส่วน “เมลา” แปลว่า เทศกาล หรือนิทรรศกาล แปลรวม ๆ กันเอาเนื้อความก็คือ เทสกาลการอาบน้ำ (Bathing Festival) เทศกาลการอาบน้ำ นี้มีช่วงหรือระยะเวลาแตกต่างกันออก ไปคือ
๑. ทุกๆ ๑ ปี เรียกว่า มาฆ์ เมลา (Magh Mela)
๒. ทุกๆ ๖ ปี เรียกว่า อาร์ทะ กุมภะ (Ardha Kumbh)
๓. ทุกๆ ๑๒ ปี เรียกว่า กุมภะ เมลา (Kumbh Mela) โดยจัดทำ ขึ้น ๔ ที่คือ
๑. เมืองหริดวาร์ รัฐอุตตรัลจัล (Uttaranchal) หรือ อุตตรขัณฑ์
๒. เมืองปรยาค เมืองอัลลาฮาบาด รัฐอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh)
๓. เมืองนาสิก แม่น้ำ ศิประ รัฐมหาราษฎร์ (Maharashata)
๔. เมืองอุชเชนี


โกสัมพี
มหานครโกสัมพี เมือง.....ราชินีอมตะ
เมือง.....กงกรรมกงเกวียน เวียนชำ ระ เมือง.....คหบดีเศรษฐีใจงาม
เมือง.....พระเจ้าอุเทนจอมกษัตริย์ เมือง.....เทวทัตต์วัตรวิปริตจิตหยาบ-หยาม
เมือง.....อนุมานทหารกล้าสีดา - ราม เมือง.....พลิ้วงามคลื่นนทียมุนา
เมือง.....จุฬาตรีคูณแหล่งบุญใหญ่ เมือง ......จอมไตรประกาศศาสนา
เมือง.....ชุมนุมมหากุมภเมลา เมือง.......ศิลาอโศกแกร่งลายแทงธรรม
เมือง.....อภิเศกอักบาร์มหาราช เมือง.......อัลละห้าบาท ทุกอย่างช่างน่าขำ
เมือง.....ชำ ระเคราะห์เข็ญล้างเวรกรรม เมือง......ผู้นำ ศรียวหลาลเนห์รู ฯ


ที่มา...คู่มือพระธรรมวิทยากร
บริษัทธรรมหรรษาทัวร์ แอนด์ แทรเวล จำกัด dhammahansatour 71/4 แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 (ตั้งใกล้กับสถานที่สำคัญ คือ ห้างเซ็นทรัลปิ่นเกล้า และ กระทรวงวัฒนธรรม) โทร 02-8845683-6, มือถือ/ไลน์ไอดี : 0819944790, 0614026277, 0994396677 แฟกซ์: 02-8845682 อีเมล: dhammahansa@yahoo.com เว็บไซต์ : www.dhammahansa.com
GR สอบถาม BTC บางกอกไทยเซ็นเตอร์ ไอ-อินเดียไทย วัดไทยโพธิวิหาร GR สอบถามไอ-อินเดีย กรมการท่องเที่ยว ดร.เบิร์ต ธรรมหรรษา ศูนย์อินเดีย-ไทย ธรรมหรรษาทีวี ธรรมหรรษาทัวร์ GR สอบถาม DHT
Dhammahansa Tours & Travel Co., Ltd.
71/4 Borommaratchachonnani Road,
Bangkoknoi, Bangkok, 10700 Thailand.
TEL:(+66) 02-8845683-6, FAX: 02-8845682
Mobile/Line ID : 0819944790, 0614026277, 0994396677
E-mail: dhammahansa@hotmail.com E-mail: dhammahansa@yahoo.com
www.youtube.com/dhammahansa, www.dhammahansa.com, www.dhttv.com
บริษัท ธรรมหรรษาทัวร์ แอนด์ แทรเวล จำกัด
71/4 ถนนบรมราชชนนี แขวงอรุณอมรินทร์
เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 (ข้างเซ็นทรัลปิ่นเกล้า)
โทร : 02-8845683-6, แฟกซ์ : 02-8845682
มือถือ/ไลน์ไอดี : 0819944790, 0614026277, 0994396677
อีเมล: dhammahansa@yahoo.com, เว็บไซต์ : www.dhammahansa.com, www.dhttv.com
Copyright © 2011 All Rights Reserved