สารนาถ (sarnath)
สารนาถ
สารนาถ คือ ที่พึ่งของกวาง มาจากคำ ว่า สารังคะ + นาถ
เป็นจุดเดียวกันกับป่าอิสิปตนมฤคทายวันและห่างตัวเมืองพาราณสี
ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
ป่าอิสิปตนมฤคทายวันคือ สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง
ปฐมเทศนา ชื่อ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ จะแบ่งเป็น
สองส่วนคือ อิสิปตนกับมฤคทายวัน
อิสิ = ฤาษี, ปตน = ประชุม, ตกลง
มฤค = เนื้อ ได้แก่ กวาง ละมั่ง
ทาย = ให้ วน = ป่า
ป่าเป็นที่ให้อภัยทานแก่จำ พวกเนื้อ และเป็นที่ประชุมตกลงของ
เหล่าฤาษี
ธัมเมกขสถูป
ธัมเมกขสถูป คือสถานที่เห็นธรรม มาจากคำ ว่า ธัมม+อิกข+สถูป
เป็นสถานที่ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมกัณฑ์แรก เรียกว่า "ปฐมเทศนา"
ปี พ.ศ.๒๓๔ พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จธรรมยาตรา ทรงสร้างพระสถูปขนาดใหญ่เป็นรูปทรง
กรวย ฐานทรงกลม สูง ๓๓ เมตร ผ่าศูนย์กลาง ๒๘ เมตร ในปี พ.ศ. ๒๓๖๕
อเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม ได้ทำการค้นพบ
หลักธรรมที่ทรงแสดง : ขึ้น ๑๕ ค่ำ อาสาฬหมาส พระพุทธ
องค์ทรงแสดงปฐมเทศนาชื่อ ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์
ทั้ง ๕ ธรรมจักร แปลว่า ล้อแห่งธรรม ปวัตตน แปลว่า ให้เป็นไป หรือ
หมุน สูตร แปลว่า พระสูตร (สิ่งที่พระอานนท์ได้สดับรับฟังมาจากพระพุทธองค์)
พระสูตรที่ว่าด้วยการหมุนล้อแห่งธรรม ใจความคือที่สุด ๒ อย่าง
บรรพชิตไม่ควรนิยมยินดี
๑. กามสุขขัลลิกานุโยค คือ การทำ ตนให้พัวพันด้วยสุขในกาม
๒. อัตตกิลมถานุโยค คือ การทำ ตนให้ลำ บากเป็นทุกข์
ทั้งสองทางนี้ไม่ใช่ทางพระอริยะควรเดินสายกลางมัชฌิมา
ปฏิปทาหรือมรรคมีองค์ ๘ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ปัญญาเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจ ๔
๒. สัมมาสังกัปปะ ดำ ริชอบ คือ ดำ ริออกจากกาม ไม่พยาบาท
ไม่เบียดเบียน
๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ เว้นจากทุจริต ๔
๔. สัมมากัมมันตะ ทำ การงานชอบ คือ เว้นจากทุจริต ๓
๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือ เว้นจากการเลี้ยงชีวิตในทาง
ที่ผิด
๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือ เพียรใน ๔ สถาน
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ระลึกในสติปัฏฐาน ๔
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ คือ เจริญฌานทั้ง ๔
และทรงแสดงอริยสัจ คือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการคือ
๑. ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
๒. สมุทัย คือ เหตุที่ทำ ให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์
๔. มรรค คือ หนทางที่จะดับทุกข์
พระองค์ทรงแสดงธรรมอยู่นั้น โกณทัญญะได้บรรลุพระโสดาบัน
ได้ดวงตาเห็นธรรมว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น
ทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา พระองค์เปล่งอุทานว่า อัญญาสิ วต
โภ โกณทัญโญ แปลว่า โกณทัญญะ ได้รู้แล้วหนอ คำ ว่า อัญญา
จึงเป็นคำ นำหน้าชื่อท่าน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โกณทัญญะทูลขอ
อุปสมบท พระพุทธเจ้าทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา ด้วยพระวาจา
ว่า ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติ
พรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด ท่านเป็นพระสงฆ์รูปแรก
เป็นการเกิดขึ้นแห่งพระรัตนตรัยที่ครบสมบูรณ์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระ
สงฆ์ และเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา คือ "วันอาสาฬหบูชา"
ธัมมราชิกสถูป
ธัมมราชิกสถูป คือสถานที่ตรึกระลึกที่พระพุทธองค์ทรงแสดง
อนัตตลักษณสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ ผู้ที่ยังยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง ส่วน
พระสถูปเหลือเพียงแค่ฐานเป็นวงกลม สูงจากพื้นประมาณ ๑ เมตร
ส่วนองค์ได้สูญหายไปหมดแล้ว พระเจ้าอโศกทรงสร้างไว้ เดิมสูง ๖๐
เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๓ เมตร
หลักธรรมที่ทรงแสดง: วันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๙ แห่งเดือนสาวนะ
ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร คือพระสูตรที่แสดงถึงลักษณะไม่มีตัวไม่มี
ตน ใจความคือ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็น
อนัตตา คือไม่ใช่ตัวตน เป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ พระปัญจวัคคีย์พิจารณา
ตามกระแสธรรมนั้น พ้นจากอาสวะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน สำเร็จเป็น
อรหันต์ทั้งหมด ครั้งนั้นมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์ คือ พระบรม
ศาสดา ๑ และพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คือ พระอัญญาโกณทัญญะ ๑ พระวัปปะ ๑
พระภัททิยะ ๑ พระมหานามะ ๑ พระอัสสชิ ๑
เสาหินศิลาจารึกพระเจ้าอโศก
เสาหินจารึก มีจุดประสงค์เพื่อประกาศข้อมูลข่าวสาร
ราชโองการหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ข้อประพฤติปฏิบัติสำ หรับ
ประชาชน เสาเป็นหินทรายแดง จากเมืองจูนาร์ สิงห์เป็นตราประจำ
ราชการของพระองค์ การสร้างเสาหินจารึก จะมีรูปสัตว์ อาทิเช่น สิงห์
ช้าง ม้า เป็นต้น ส่วนที่สารนาถจะเป็นมีสิงห์ ๔ หัวหันหลังชนกัน
(จตุรสิงห์) ซึ่งแตกต่าง จากที่อื่น สูง ๑๕.๒๕ เมตร เสาหินหักลงมา
ส่วนหัวสิงห์ปัจจุบันได้เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์สารนาถ
ส่วนประกอบ ความหมายของเสาหิน
๑. บนสุด ธรรมจักร มี ๒๔ ชี่ หมายถึงปฏิจจสมุปบาท
๒. สิงห์ ๔ หัว หมายถึง การขยายคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ไปยังทิศต่างๆ
๓. รูปสัตว์ ๔ ชนิด คือ
สิงห์ คือ บ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม
บันลือสีหนาท
ช้าง คือ ผู้มีปัญญา พระนางสิริมายาทรงสุบินนิมิตเห็นช้างเผือก
ม้า คือ ความเร็ว เสด็จออกผนวชทรงม้ากัณฑกะ
วัว คือ ความอดทน พระองค์ได้ปฐมฌาณในวันแรกนาขวัญ
๔. ดอกบัว หมายถึง ขณะที่พระองค์ประสูติมีดอกบัวผุดขึ้น
รองรับ
๕. ความหมายของอักษรพราหมี ถอดใจความออกได้ว่า
ข้าฯ ได้ทำ ให้สงฆ์สามัคคีเป็นหนึ่งเดียวแล้ว บุคคลใดๆ
จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ไม่อาจทำลายสงฆ์ได ้ก็แล หากบุคคลใด
จะเป็นภิกษุ หรือภิกษุณี ก็ตาม จักทำสงฆ์ให้แตกกัน บุคคลนั้นจักต้อง
ถูกบังคับให้นุ่งผ้าขาว และไปอาศัยอยู่ ณ สถานที่อื่น (นอกวัด) พึงแจ้ง
สาส์นพระบรมราชโองการนี้ให้ทราบทั่วกัน
พระมูลคันธกุฎี
พระมูลคันธกุฎี คือกุฏิหลังแรกของพระพุทธเจ้าที่ทรงจำ พรรษา
แรก ณ ป่าอิสิปตนมฤคมทายวัน มีความหมายคือ มูล แรก, คันธ
ของหอม, กุฎี กุฏิที่อยู่ เดิมสูง ๖๑ เมตร กว้าง ๑๘ เมตร
ยสะเจดีย์
ยสะเจดีย์ สถานที่ยสะกุลบุตรได้สำ เร็จเป็นพระอรหันต์ปัจจุบัน
มีเสา ๔ ต้นสูงประมาณเกือบ ๓ เมตร ปกคลุมพระสถูปองค์เล็กๆ อยู่
ยสะเป็นบุตรของเศรษฐีเมืองพาราณสี มีปราสาท ๓ หลัง วัน
หนึ่งเห็นหญิงนอนหลับมีอาการต่างๆ เกิดความเบื่อหน่าย เดินออกจาก
บ้านมุ่งหน้าทางป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พลางบ่นว่า ที่นี่วุ่นวายหนอที่
นี่ขัดข้องหนอ พระองค์ตรัสว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง เชิญทางนี้
เถิดเราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ทรงแสดงอนุปุพพีกถา ๕ ประการ
๑. ทานกถา พรรณนาถึงการให้การบริจาค
๒. สีลกถา พรรณนาถึงการรักษากาย วาจาให้เรียบร้อย
๓. สัคคกถา พรรณนาถึงสวรรค์ คือผลของการให้ทาน และ
รักษาศีล
๔. กามาทีนวกถา พรรณนาถึงโทษของความใคร่ในกาม
๕. เนกขัมมานิสงสกถา พรรณนาถึงอานิสงส์แห่งการออกจาก
กาม และอริยสัจ ๔ จนทำ ให้ยสะได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน บิดายสะ
เมื่อไม่เห็นลูกจึงออกตามหาได้พบพระพุทธเจ้าได้ ฟังอนุปุพพีกถาและ
อริยสัจ ๔ บรรลุเป็นพระโสดาบัน เป็นอุบาสกที่ถึงรัตนะตรัยเป็นที่พึ่ง
คนแรก ส่วนยสะได้ฟังซ้ำ อีกสำ เร็จพระอรหันต์ ยสะทูลขอบวช พระองค์
ประทานด้วยพระดำ รัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าว
ดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด
พอตอนเช้าได้เสด็จยังบ้านบิดายสะและโปรดมารดาและภรรยา
เก่าของยสะทรงแสดงอนุปุพพีกถาและอริยสัจ จบธรรมเทศนา หญิง
ทั้งสองได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน เป็นอุบาสิกาคนแรกของโลกที่ขอถึง
พระรัตนตรัย เป็นสรณะตลอดชีวิต ต่อมาสหายของยสะ ๕๔ คน
ที่ปรากฏชื่อคือ วิมละ สุพาหุ ปุณณชิ ควัมปติ ทราบข่าวยสะบวช ได้
เข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ได้ฟังพระธรรมเทศนาจบ สำ เร็จพระอรหันต์ขอ
อุปสมบท ครั้งนั้นมีพระอรหันต์เกิดขึ้น ในโลก ๖๑ องค์
เจาคันธีสถูป
สถานที่พระพุทธเจ้าพบปัญจวัคคีย์ครั้งแรก พระเจ้าอโศก
มหาราชทรงสร้างไว้ ปัจจุบันมีความสูง ๒๑ เมตร เป็นสถูปมีขนาดใหญ่
ช่วงที่กษัตริย์มุลิมเรืองอำ นาจ ใน พ.ศ. ๒๐๗๕ หุมายุนเคยมาหลบเป็น
เวลา ๑๕ ปี พ.ศ. ๒๑๑๙ พระเจ้าอักบาร์ ได้สร้างต่อเติมส่วนบนให้
เป็นทรงแปดเหลี่ยม
ตอนหนึ่งของพุทธประวัติ : ปัญจวัคคีย์พอเห็นพุทธองค์เสด็จมา
แต่ไกล ตั้งกฎกติกาว่าจะไม่ลุกรับ แต่จะปูอาสนะไว้ พอพระองค์เสด็จมา
ถึงต่างลืมกฎกติกาที่ นัดหมายกันไว้ พากันลุกขึ้นรับบาตรจีวร แต่ยังใช้
คำ พูดที่ไม่ให้ความเคารพ ไม่สมควรด้วยคำ ว่า อาวุโส โคตมะพระองค์
ตรัสบอกว่า ดูก่อนปัญจวัคคีย์ ตถาคตได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ
แล้ว เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง และปฏิบัติตามคำของตถาคต ไม่นานก็จะ
ได้ตรัสรู้ตาม ปัญจวัคคีย์กล่าวคัดค้าน อาวุโส โคตมะ ท่านจะตรัสรู้
ได้อย่างไร ในเมื่อท่านละจากความเพียรเวียนมาซึ่งความเป็นผู้มักมาก
พระองค์ตรัสถึง ๓ ครั้ง วาจาเช่นนี้ ตถาคตเคยตรัสมาก่อนหรือไหม
ปัญจวัคคีย์ โดยอัญญาโกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ
หวนระลึกถึงความหลังดูว่า คงจะได้ตรัสรู้จริงตามพระวาจา จึงพร้อม
กันกราบขอขมาวันทาอภิวาทและทูลอัญเชิญเสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคายวัน
และตั้งใจฟังปฐมเทศนาต่อไป
ส่งสาวกประกาศพระศาสนา
มีพระสาวกพอเป็นกำ ลังในการเผยแผ่หลักธรรม จึงตรัสเรียก
ประชุมแล้วตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายเราได้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง แม้เธอก็
เหมือนกัน เธอทั้งหลายจงเที่ยวไป เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนอัน
มาก อย่าไปทางเดียวกัน ๒ องค์ จงแสดงธรรมในเบื้องต้น ท่ามกลาง
และที่สุด แม้เราเองจะไปยังตำ บลอุรุเวลาเสนานิคมเพื่อจะแสดงธรรม
พระสาวกทั้ง ๖๐ รูป ได้จาริกประกาศพระศาสนาตามแคว้น เมืองต่างๆ
พิพิธภัณฑ์โบราณคดีสารนาถ (Archaeological Museum Sarnath)
อาคารพิพิธภัณฑ์
อาคารพิพิธภัณฑ์ จะแบ่งเป็น ๒ ส่วนคือ ทางเข้าฝั่งซ้ายมือจะ
เป็นพระพุทธรูป อาทิเช่น พระพุทธรูปปางปฐมเทศนาฝั่งขวามือ จะเป็น
เทวรูปของศาสนาฮินดู
เสาหัวสิงห์ ๔ ทิศ
สิงห์หันหลังชนกันทั้ง ๔ ทิศ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ
พิพิธภัณฑ์สารนาถ คือต้นแบบของตราประจำ แผ่นดินอินเดีย ซึ่งเดิม
ประดิษฐานอยู่บนยอดเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช แต่หักลงมาปัจจุบัน
อินเดียใช้หัวสิงห์นี้เป็นตราราชการ ถือเป็นสัญญลักษณ์ประจำ ชาติ มี
ปรากฏอยู่ในธนบัตร-ธงชาติของอินเดีย
ใต้หัวสิงห์ดังกล่าว คือ สตฺยเมว ชยเต หมายถึง ความจริงชนะ
ทุกสิ่ง ได้ถูกนำ มาเป็นคำ ขวัญประจำ ชาติ
ปางปฐมเทศนา
พระพุทธปฏิมา ปางปฐมเทศนา สร้างในสมัยคุปตะ ประมาณ
ปี พ.ศ. ๘๐๐-๑๒๐๐ พระพุทธรูปนี้ถูกค้นพบที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
ชนะรางวัลการประกวดขององค์การ UNESCO นับว่าเป็นพระพุทธรูป
ที่สวยงามที่สุดในโลกองค์หนึ่ง องค์พระสร้างจากหินทรายเมืองจูนาร์ มี
ความสูงจากฐานถึงพระรัศมี ๑.๖ เมตร หน้าตักกว้าง ๐.๗๙ เมตร ปรากฏ
เป็นรูปเทวดา ๒ ตน กำ ลังโปรยดอกไม้ ตรงกลางเป็นวงล้อพระธรรมจักร
อยู่บนแท่น มีกวางสองตัวหมอบอยู่ทั้งสองข้าง มีรูปพระปัญจวัคคีย์
ทั้ง ๕ ขนาบสองข้าง ด้านซ้ายมีรูปสลักสตรีและเด็ก สันนิษฐานว่า
เป็นเจ้าภาพผู้สร้าง
รูปตารา (Figure of Tara)
พระนางตารา พระโพธิสัตว์ตารา หรือ พระแม่ตารา เป็น
ภาษาสันสกฤต (มีรากศัพท์เดียวกับคำ ว่า ดารา) เป็นพระโพธิสัตว์ฝ่าย
หญิงในพระพุทธศาสนา ฝ่ายวัชรยาน แนวคิดการนับถือเริ่มเมื่อราว
พุทธศตวรรษที่ 8 เชื่อกันว่าแนวคิดการบูชาพระนางตาราเริ่ม
ขึ้นในอินเดียเพื่อต่อต้านพิธีกรรมสตี โดยถือว่าเป็นชายาของ
พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปัจจุบันมีนับถือในอินเดีย เนปาลและทิเบต
ส่วนในจีนจะนับถือเจ้าแม่กวนอิมโพธิสัตว์แทน (หญิง)
พระนางตาราได้รับการยกย่องว่าเป็นมารดาของพระพุทธเจ้า
พระนางตาราเกิดจากน้ำ ตาของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เมื่อมองเห็น
ว่าสัตว์โลกมีแต่ความทุกข์ เมื่อน้ำ ตาของพระองค์ไหลลงมาจนกลายเป็น
ทะเลสาบ จึงเกิดดอกบัวขึ้น และในดอกบัวนั้นมีพระนางตาราสถิตย์อยู่
พระนางตาราก็มีหลายปาง
ส่วนในศาสนา พรามหณ์-ฮินดู พระนางตารา เป็นเทพนามว่า
Parvati (พระแม่ปารวตี หรือพระแม่ศรีมหาอุมาเทวี) จะพบว่าชื่อนี้ไป
ตรงกับพระนาม ๑๐๘ แห่งองค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี (พระนามที่ ๗๘
พระแม่ตาราแห่งเมืองกิษกินธาหรือขีดขินน์ )
สตี (Sati) สามารถหมายถึง พระนามหนึ่งของพระแม่อุมาเทวี
สตี (พิธีกรรม) เป็นพิธีเผาตัวตายตามสามีของหญิงหม้ายชาวอินเดีย
ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู
พระมูลคันธกุฎีวิหาร
พระมูลคันธกุฎีวิหาร อนาคาริก ธรรมปาละอนุสรณ์,
พระประธาน พระพุทธปฏิมา ปางปฐมเทศนาจำ ลอง, จิตรกรรมฝาผนัง
ภายในวิหาร ภาพเล่าพระพุทธเจ้ากับเหตุการณ์ต่างๆ, ต้นพระ
ศรีมหาโพธิ์, หินแกรนิตสีดำ จารึกบทพระธัมมจักรกัปวัตนสูตร ภาษา
นานาชาติ หลายประเทศ หลายภาษา รายแวดล้อมพระศรีมหาโพธิ,
รูปเหมือนท่านอนาคาริก ธรรมปาละ ตั้งตระหง่านงดงาม
วัดพุทธนานาชาติ
วัดพุทธนานาชาติ มีวัดไทยสารนาถ วัดไทยพาราณสี (กำ ลัง
ก่อสร้าง) วัดธิเบต วัดพม่า วัดจีนฯลฯ
พระสูตรและชาดก
ธัมมจักกัปปวัตนสูตร อนัตตลักษณสูตร และสุวรรณสามชาดก
เป็นต้น
เอรกปัตตะนาคราช
พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย
ธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ได้กล่าวถึงเรื่อง นาคราชชื่อว่า เอรกปัตตะ
หน้าที่ ๒๒๓ - ๓๓๐
พระศาสดา ทรงประทับใต้โคนต้นซึก ๗ ต้น ณ กรุงพาราณสี
ทรงปรารภนาคชื่อเอรกปัตตะ
- ไม่ปลงอาบัติเล็กน้อย ก่อนให้โทษ
สมัยศาสนากัสสปะพุทธเจ้า ได้มีภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เป็นพระที่
ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ วันหนึ่งได้นั่งเรือในแม่น้ำ คงคา เรือที่แล่นได้เกิด
การสั่นไหว ท่านได้ใช้มือจับใบตะไคร้น้ำ จนขาด ภิกษุหนุ่มเห็นว่าเป็น
อาบัติเล็กน้อย ไม่แสดงอาบัติ
ในตอนมรณภาพ เป็นประดุจใบตะไคร้น้ำ ผูกคอ อยากจะ
ปลงอาบัติ แต่ไม่มีภิกษุอื่น เกิดความเดือดร้อนใจขึ้นว่า ตนมีศีลไม่
บริสุทธิ์ เมื่อตายไปแล้ว ได้เกิดเป็นพระยานาค
- พระยานาคออกอุบาย เพื่อทราบการอุบัติแห่งพระพุทธเจ้า
ต่อมาพระยานาคได้กำ เนิดธิดา เขามีความคิดว่า ตอนนี้
พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วหรือยัง โดยออกอุบายด้วยวิธีนี้คือ ผู้ใดนำ
เพลงขับ แก้เพลงขับของเราได้ เราจักยกลูกสาวให้พร้อมกับนาคพิภพ
อันใหญ่แก่ผู้นั้น
ในวันอุโบสถทุกกึ่งเดือน พระยานาคแผ่พังพานใหญ่ใน
แม่น้ำ คงคา วางธิดาไว้บนพังพานนั้น ให้ฟ้อนรำ ขับร้องว่า
ผู้เป็นใหญ่อย่างไรเล่า ชื่อว่าพระราชา?
อย่างไรเล่า พระราชาชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร?
อย่างไรเล่า ชื่อว่าปราศจากธุลี, อย่างไร? ท่านจึงเรียกว่า คนพาล
ปรากฏว่าผู้คนจากในเมืองนอกเมืองพากันมาแก้เพลงขับ ตาม
กำ ลังสติปัญญาของตน ไม่มีผู้ใดตอบถูก จนผ่านล่วงเลยไปหนึ่งพุทธันดร
- พระศาสดาทรงผูกเพลงขับแก้
ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายได้อุบัติขึ้นแล้ว วันหนึ่ง
เวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูโลก มีเอรกปัตตนาคราช เป็นต้น และทรงเห็น
มาณพชื่อว่า อุตตระ อยู่ในข่ายพระญาณของพระองค์
เวลานั้น พระพุทธองค์เห็นมาณพเดินไปไม่ไกล จึงตรัสว่า อุตตระ
อุตตระ อะไร พระเจ้าข้า
พระศาสดา เธอจงมานี่ก่อน
มาณพได้ถวายบังคม นั่งลงไม่ห่างจากพระองค์ พระศาสดา
ได้ตรัสถามว่า เธอจะไปไหน
อุตตระ จะไปร้องขับเพลงกับธิดาของเอรกปัตต-
นาคราช
พระศาสดา เธอรู้เพลงขับแก้แล้วหรือ
อุตตระ ข้าพระองค์ทราบ พระเจ้าข้า
พระศาสดา เธอจงกล่าวเพลงเหล่านั้นมาดูก่อน
แนะอุตตระว่า นั่นไม่ใช่เพลงขับแก้ เราจักให้เพลงขับแก้แก่เธอ
เธอต้องเรียนเพลงขับแก้ให้ได้
อุตตรมาณพ เป็นการดี พระเจ้าข้า
- อุตตรมาณพเรียนเพลงแก้จากพระศาสดา
พระศาสดาตรัสกับอุตตระว่า ถ้านางนาคมาณวิกาขับเพลง เธอ
พึงขับเพลงแก้อย่างนี้ว่า
ผู้เป็นใหญ่ในทวารทั้ง ๖ ชื่อพระราชา
พระราชาผู้กำ หนัดอยู่ ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร
ผู้ไม่กำ หนัดอยู่ ชื่อว่าปราศจากธุลี
ผู้กำ หนัดอยู่ ท่านเรียกว่า คนพาล
คนพาลอันอะไรเอ่ย ย่อมพัดไป,
บัณฑิตย่อมบรรเทาอย่างไร,
อย่างไร จึงเป็นผู้มีความเกษมจากโยคะ,
ท่านจงขับเพลงขับแก้แก่นางว่า
คนพาลอันห้วงน้ำ (คือกามโอฆะเป็นต้น) ย่อมพัดไป
บัณฑิตย่อมบรรเทา (โอฆะนั้น) เสียด้วยความเพียร
บัณฑิตผู้ไม่ประกอบด้วยโยคะทั้งปวงท่านเรียกว่า ผู้มีจิตเกษม
จากโยคะ
พระพุทธเจ้าได้ประทานเพลงขับแก้ อุตตรมาณพกำ ลังเรียน
เพลงขับแก้ ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน นางนาคมาณวิกา ขับเพลงโต้
แก้ อุตตรมาณพก็ขับเพลงแก้แก่นาง สลับกันถามและตอบไปมาจน
จบแห่งคาถานั้น
- นาคราชทราบว่าพระพุทธเจ้าอุบัติแล้ว
พระยานาคได้ฟังเพลงขับแก้ รู้ทันทีว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น
มาในโลกแล้ว ตนไม่เคยฟังคาถานี้ ตลอดหนึ่งพุทธันดร ดีอกดีใจ
จึงเอาหางฟาดน้ำ คลื่นน้ำ ขนาดใหญ่ได้กระทบฝั่งทั้งสอง ทำ ให้ผู้คนได้
ตกจมลงในแม่น้ำ จากนั้นยกผู้มหาชนที่กำ ลังจมน้ำ ขึ้นมาไว้บนพังพาน
เอาไว้บนบกเหมือนเดิม
นาคราชเข้าไปถามมาณพว่า ตอนนี้พระพุทธเจ้าประทับอยู่
ที่ไหน
อุตตรมานพได้พานาคราชเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า มหาชนจำ นวน
มากก็ไปเหมือนกัน ได้ถวายบังคมศาสดา ได้ยืนร้องไห้อยู่ ได้เล่า
เรื่องของตนเองให้ฟังว่า ด้วยเหตุที่ได้จับตะไคร้น้ำ ให้ขาดเพียงเล็กน้อย
ทำ ให้ต้องมาเกิดเป็นสัตว์ที่เลื้อยไปด้วยอก (อเหตุกสัตว์) เฝ้ารอการอุบัติ
ของพระพุทธเจ้าอยู่ ๑ พุทธันดร
ลำ ดับนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม ตรัสพระคาถานี้ว่า
กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ
กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท.
ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก,
ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก,
การได้ฟังพระสัทธรรม เป็นของยาก,
การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นการยาก
- นาคราชไม่ได้บรรลุธรรม
จบพระธรรมเทศนา ผู้คนจำ นวนมากได้บรรลุธรรม หรือ
ประมาณ ๘ หมื่น ๔ พัน นาคราชควรที่จะได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน
แต่กลับไม่ได้ เพราะว่าร่างกายเป็นสัตว์เดรัจฉาน
ประวัติพระอัญญาโกณฑัญญะ
พระอัญญาโกณฑัญญะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ หมู่บ้านโทณวัตถุ
ใกล้กับกรุงกบิลพัสดุ์ ได้ศึกษาในศิลปวิทยาจนจบไตรเพท
พระเจ้าสุทโธทนะได้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน มาเลี้ยงโภชนาหาร
และได้คัดเลือกพราหมณ์ให้ ๘ คน เพื่อทำ นายพระลักษณะพระกุมาร
หนึ่งในจำ นวนนั้นมีโกฑัญญะซึ่งเป็นพราหมณ์หนุ่มที่มีอายุน้อยที่สุด
พราหมณ์ ๗ คนแรก ได้ชูมือเป็น ๒ นิ้วคือ
๑. ถ้าพระกุมารดำ รงอยู่ในเพศฆราวาส จักได้เป็นจักรพรรดิ
๒. ถ้าพระกุมารออกบวช จักได้เป็นศาสดาเอกของโลก
ส่วนโกณทัญญะพราหมณ์ชูเพียงนิ้วเดียวว่า พระกุมารจักเสด็จ
ออกบวช และจักได้เป็นศาสดาเอกของโลก
เมื่อครั้งที่พระมหาบุรุษทรงบำ เพ็ญทุกรกิริยา โกณฑัญญะ
พรามหณ์ บุตรพราหมณ์อีก ๔ ท่าน คือ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ
อัสสชิ เรียกว่า ปัญจวัคคีย์ ได้ออกบวชติดตามเฝ้าอุปัฏฐาก
ทรงบำ เพ็ญอยู่ถึง ๖ ปี ก็ยังไม่ได้บรรลุ และได้หันมาเสวย
พระกระยาหารตามปกติ ปัญจวัคคีย์เห็นดังนั้นแล้ว หลีกหนีละทิ้ง
พระองค์ เดินไปยังเมืองพาราณสี
อดีตชาติพระอัญญาโกณฑัญญะ
ในสมัยพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ เข้าเฝ้าพร้อมพวกเพื่อฟังธรรม
เห็นพระพุทธเจ้าตั้งสาวกไว้ในตำ แหน่งเอตทัคคะ เกิดศรัทธาปรารถนา
จะเป็นเช่นนั้นบ้าง จากนั้นได้ถวายมหาทานติดต่อกัน ๗ วัน นำ ผ้า
เนื้อดีเลิศวางถวายไว้แทบยุคลบาทกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอให้ข้าพระองค์ได้เป็นเหมือนภิกษุที่ได้แต่งตั้งด้วยเถิด ขอให้รู้แจ้งธรรม
ก่อนใคร
พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า
ในสมัยของพระพุทธเจ้าโคดม เธอจักได้ออกบวช รู้แจ้งธรรมก่อนใคร
และได้รับตำ แหน่งเอตทัคคะด้านรัตตัญญู ได้ฟังแล้วเกิดปีติโสมนัส
ได้ทำ บุญอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จ
ดับขันธปรินิพพาน ได้กำแพงแก้วล้อมพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีกธาตุ
ได้สร้างเรือนแก้วภายในเจดีย์อีก
ชาติที่พบพระพุทธเจ้าวิปัสสี ท่านเกิดเป็นบุตรของกฎุมพี
ชาวเมืองพันธุมดี มีชื่อ มหากาล มีน้องชื่อ จูฬกาล ไม่มีความเลื่อมใน
พระพุทธเจ้า ทั้งสองขัดแย้งในเรื่องการทำ บุญ ในที่สุดได้แบ่งนาออก
เป็น ๒ ส่วน มหากาลได้นำ ข้าวสาลีมาทำ บุญถวายก่อน จนสิ้นอายุขัย
พอถึงปัจจุบันชาติความปรารถนาความตั้งใจได้สำ เร็จทุกประการ
ประวัติพระยสะ
อดีตชาติของพระยสะ ได้พบพระพุทธเจ้าคือ สุเมธะ สิทธัตถะ
กัสสปะ ชาติที่พบพระพุทธเจ้าสุเมธะ ท่านเกิดเป็นพญานาค วันหนึ่งได้
นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวก มายังที่อยู่ของตน ได้ถวายทาน
และถวายผ้าไตรจีวร จากนั้นได้ตั้งจิตปรารถนาขอให้ได้บรรลุอรหัตผล
พระพุทธเจ้าเห็นด้วยพระญาณว่า ความปรารถนาของท่านสำ เร็จได้แน่
จึงพยากรณ์ว่า
ในอีก ๓๐,๐๐๐ กัปข้างหน้าพระพุทธเจ้าโคดมเสด็จอุบัติขึ้นใน
โลก เธอจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ จักได้บรรลุอรหัตผล
เกิดความปีติโสมนัส ได้ทำ บุญอื่นสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
ตลอดชีวิต
ชาติที่พบพระพุทธเจ้าสิทธัตถะ เกิดเป็นบุตรเศรษฐีชาวเมือง
สุทัสสนะ ได้นำ แก้ว ๗ ประการบูชาต้นกรรณิการ์ อันเป็นต้นไม้ตรัสรู้
จากชาตินั้นบุญได้ส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนถึง
พระพุทธองค์ใหม่
ชาติที่พบพระพุทธเจ้ากัสสปะ สละเรือนออกบวชบำ เพ็ญ
สมณธรรม ในช่วงพุทธันดร มีอยู่ชาติหนึ่งได้เกิดเป็นคนอาสาเก็บศพ
กับเพื่อน ๕๔ คน ศพที่ไม่มีญาติ วันหนึ่งได้พบหญิงตายทั้งกลม ขณะ
เผาอยู่นั้นท่านเกิดอสุภสัญญา คือความรู้สึกว่าร่างกายไม่ใช่ของสวยงาม
จึงเล่าให้เพื่อนๆ ฟังก็ได้อสุภสัญญาเช่นเดียวกัน
อสุภสัญญาในอดีตชาติได้เป็นอุปนิสัยปัจจัยในชาติปัจจุบัน คือ
พอเห็นหญิงนางรำ เรอที่กำ ลังหลับใหลอยู่ เหมือนกับซากศพในป่าช้า
จึงเกิดความเบื่อหนาย
คัมภีร์มโนรถปูรณีว่า กล่าวว่า นางสุชาดาผู้ถวายข้าวมธุปายาส
แด่พระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้นั่นเอง นางกับลูกสะใภ้เป็นอุบาสิกานับถือ
พระรัตนตรัยคู่แรกในโลก
พระยสะบรรลุเป็นพระอรหันต์ขณะยังเป็นฆราวาส มิได้รับ
เอตทัคคะ เพราะว่าท่านมิได้จิตปรารถนา ตั้งจิตปรารถนาเพื่อบรรลุ
อรหัตผล คำ พูดของท่านมีความว่า เนื้อตัวมีกลิ่นหอม ร่างกายประดับ
ด้วยเครื่องอาภรณ์ เราก็ได้บรรลุวิชชา ๓ เราทำ ตามคำ สอนของ
พระพุทธเจ้าได้แล้ว
นางสุปปิยาอุบาสิกา
สุปปิยา เป็นชาวเมืองกรุงพาราณสี ต่อมาพระศาสดาพร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์เสด็จมาเมืองพาราณสี
นางได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฟังธรรม และได้สำ เร็จเป็นโสดาปัตติผล
ไปพระวิหาร (อิสิปตนมฤคทายวันวิหาร)
อุบาสิกานั้น ปกติก็จะไปสู่อาราม เที่ยวเยี่ยมวิหารและบริเวณ
ทั่วทุกแห่ง เพื่อดูว่ามีภิกษุรูปใดอาพาธ หรือสอบถามภิกษุรูปที่อาพาธ
ถึงความต้องการสิ่งใดเป็นพิเศษหรือไม่ เพื่อที่นางจะได้จัดหามาถวาย
ขณะนั้นมีภิกษุรูปหนึ่งบอกกับอุบาสิกาว่า อาตมาดื่มยาถ่าย อาตมา
ต้องการน้ำ เนื้อต้ม
อุบาสิกาสุปปิยารับคำ สั่งคนรับใช้ให้ไปหาซื้อเนื้อสัตว์ที่เขา
ขายมา แล้วเที่ยวหาซื้อทั่วพระนครพาราณสีก็มิได้พบเนื้อสัตว์ที่เขาขาย
เพราะวันนี้ห้ามฆ่าสัตว์
อุบาสิกาสุปปิยาจึงได้มีความปริวิตกว่า ภิกษุอาพาธรูปนั้นแล
เมื่อไม่ได้ฉันน้ำ เนื้อต้ม อาพาธจักมากขึ้น หรือจักถึงมรณภาพ แล้วได้
หยิบมีด เฉือนเนื้อต้นขาต้มถวายพระ สั่งคนรับใช้นำ ต้มเนื้อนี้ถวาย
ภิกษุรูปที่อาพาธอยู่ในวิหาร อนึ่ง ผู้ใดถามถึงฉัน จงบอกว่าป่วย แล้ว
เอาผ้าห่มพันขา เข้าห้องนอนบนเตียง
วันรุ่งขึ้นสามีได้นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์รับอาหาร
บิณฑบาตที่บ้าน พระองค์ได้ตรัสถามถึงนางสุปปิยา ตรัสให้ออกมา
ทันทีที่เห็นพระพุทธเจ้าแผลใหญ่ที่ขานั้นได้เกิดเนื้องอกขึ้นเต็ม มีผิว
และขนละเอียดขึ้น พระบรมศาสดาได้ทราบสาเหตุอาการอาพาธของ
นาง ทรงตำ หนิภิกษุที่ขอเนื้อกับอุบาสิกาสุปปิยา
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉนเธอ
จึงไม่ได้พิจารณา แล้วฉันเนื้อเล่า เธอฉันเนื้อมนุษย์แล้ว การกระทำ ของ
เธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส... ครั้นแล้ว
ทรงทำ ธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อมนุษย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อมนุษย์ รูปใดฉัน ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย อนึ่ง ภิกษุยังมิได้พิจารณา ไม่พึงฉันเนื้อ รูปใดฉัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ต่อมา ทรงห้ามฉันเนื้อช้าง ม้า สุนัข งู ราชสีห์ เนื้อโคร่ง
เสือเหลือง หมี และเสือดาว
เอตทัคคะ
ภายหลัง พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรง
สถาปนา พวกอุบาสิกาไว้ในตำ แหน่งต่าง ๆ ตามลำ ดับ จึงทรงสถาปนา
นางสุปปิยา อุบาสิกาไว้ในตำ แหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกา
ผู้อุปัฏฐากภิกษุไข้
ตั้งความปรารถนาไว้ในอดีต
ดังได้สดับมา นางสุปปิยาอุบาสิกานี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนาม
ว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสาวดี ต่อมากำ ลังฟังพระธรรม
เทศนาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสิกาผู้หนึ่ง ไว้
ในตำ แหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้อุปัฏฐากภิกษุไข้ จึงทำ
กุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไปเพื่อปรารถนาตำ แหน่งนั้น ครั้นสิ้นชีวิตลงแล้ว นาง
เวียนว่ายอยู่ในภูมิเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป